ตัวเลขการค้าไทยกับกลุ่มประเทศ RCEP ในเดือน มกราคม - สิงหาคม 2566 พบว่า
1. การค้ารวม ของไทยกับกลุ่มประเทศ RCEP เดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 มีมูลค่า 210,733.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.01 เมื่อเทียบกับการค้ารวมกับโลก โดยลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.20 และไทยขาดดุลการค้า 16,877.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คู่ค้าหลักของไทยใน RCEP ยังคงเป็น อาเซียน จีน และญี่ปุ่น ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณารายตลาดคู่ค้าของไทย พบว่าหดตัวในเกือบทุกตลาด ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 มีเพียงออสเตรเลียที่ขยายตัวร้อยละ 5.20
2. การส่งออก ของไทยไปกลุ่มประเทศ RCEP เดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 มีมูลค่า 96,927.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.39 โดยการส่งออกหดตัว 2 กลุ่ม สินค้าหลัก ได้แก่ ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรม (เช่น เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์) และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง (เช่น น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ) หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่สินค้าเกษตร (เช่น ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ข้าว ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง) และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร (เช่น น้ำตาลทราย ผลไม้กระป๋องและแปรรูป) ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
3. การนำเเข้า ของไทยในกลุ่มประเทศ RCEP เดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 มีมูลค่า มูลค่า 113,805.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.05 โดยการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปเป็นกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าสูงสุดที่ไทยนำเข้าจาก RCEP อยู่ที่ 45,722.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.85 ภาพรวมการนำเข้าของไทยจาก RCEP ใน 3 กลุ่มสินค้าหลัก ได้แก่ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (เช่น เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์) สินค้าทุน (เช่น เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ) และสินค้าอุปโภคบริโภค (เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน) หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่สินค้าเชื้อเพลิง (เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันสำเร็จรูป) และยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง (เช่น รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก) ยังคงขยายตัว