AANZFTA |
Agreement Establishing the ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Area หรือความตกลงเพื่อก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเสรีการค้าสินค้าและบริการ อำนวยความสะดวกทางการค้า และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ต่อมาในปี 2563 - 2565 อาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ได้ทบทวน ปรับปรุง และยกระดับความตกลงฯ ให้ทันสมัยสอดคล้องกับรูปแบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป และตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งพิจารณาเพิ่มประเด็นสำคัญใหม่ๆ ในความตกลงฯ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน และการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย เป็นต้น |
ABAC |
APEC Business Advisory Council หมายถึง สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค โดยเป็นองค์กรภาคเอกชนซึ่งทําหน้าที่ในการให้คําปรึกษาเกี่ยวกับ การดําเนินงานของเอเปคในมุมมองของภาคธุรกิจเอกชน |
ABIC | APEC Business Travel Card หมายถึง บัตรเดินทางสําหรับนักธุรกิจเอเปค เพื่ออํานวยความสะดวก ให้แก่นักธุรกิจที่เป็นสมาชิกโครงการฯสามารถเดินทางเข้าออกประเทศสมาชิกเอเปคได้ บัตรนี้มีกําหนดอายุ 3 ปี และอนุญาตให้พํานักแต่ละครั้งในเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมโครงการฯ ครั้งละ 60-90 วัน |
Absorption principle | หมายถึง หลักการที่ว่า หากวัสดุใดได้รับสถานะการเป็นสินค้าที่ได้ ถิ่นกําเนิด (Originating goods) แล้ว เมื่อนําวัสดุนั้นไปใช้เป็นส่วนประกอบ ในการผลิตขั้นต่อไป วัสดุนั้นจะยังคงสถานะการได้ถิ่นกําเนิด |
AC | ASEAN Community หมายถึง ประชาคมอาเซียน โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เมื่อเดือนตุลาคม 2547 ณ เกาะบาหลี ได้ลงนามในปฏิญญา ว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2563 ได้แก่ประชาความมั่นคง อาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคม วัฒนธรรมอาเซียน ต่อมาผู้นําอาเซียนเห็นชอบที่จะเร่งรัดการจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนจากเดิมที่กําหนดไว้ในปี พ.ศ. 2563 เป็น ปี พ.ศ. 2558 โดยได้ประกาศแถลงการณ์เซบูว่าด้วยการเร่งรัด การจัดตั้งประชาคมอาเซียน เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2550 ณ เมือง เซบู ประเทศฟิลิปปินส์ |
ACCSO | ASEAN Consultative Committee on Standards and Quality หมายถึง คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและคุณภาพ ของอาเซียน ทําหน้าที่ปรับประสานมาตรฐานสินค้าของประเทศ สมาชิกอาเซียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เช่น มาตรฐาน ISO เป็นต้น โดยมีเป้าหมายสินค้าที่สําคัญ 20 กลุ่ม อาทิเช่น ตู้เย็น วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ และโทรศัพท์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่จัดทําความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วม (Mutual Recognition Arrangement) ของอาเซียนอีกด้วย |
Accumulation |
กฎการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้า หมายถึง กฎที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการนำวัตถุดิบและ/หรือกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นในภาคีของความตกลงการค้าเสรีไปสะสมต่อได้ โดยให้ถือเสมือนว่าวัสดุหรือชิ้นส่วนนั้นได้ถิ่นกำเนิดในภาคีที่นำวัตถุดิบและ/หรือกระบวนการผลิตนั้นไปสะสมถิ่นกำเนิดต่อ รูปแบบการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าหลักที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. การสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าแบบทวิภาคี/ภูมิภาค (Bilateral/Regional Cumulation) หมายถึง การนำสินค้า/วัตถุดิบที่ผ่านเกณฑ์ถิ่นกำเนิดใน FTA นั้นมาสะสมถิ่นกำเนิดได้เต็มมูลค่า ขณะที่สินค้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์ถิ่นกำเนิด จะไม่สามารถนำมาสะสมได้ 2. การสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าแบบเส้นทแยงมุม (Diagonal Cumulation) หมายถึง การนำสินค้า/วัตถุดิบที่ผ่านเกณฑ์ถิ่นกำเนิดใน FTA มาสะสมถิ่นกำเนิดได้เต็มมูลค่า และอนุญาตให้ประเทศภาคีนำวัตถุดิบที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศนอกภาคีมาสะสมถิ่นกำเนิดได้ โดยมีเงื่อนไขว่าประเทศนอกภาคีนั้นต้องมี FTA กับคู่ภาคีทุกประเทศ และมีเกณฑ์การได้ถิ่นกำเนิดสินค้าที่เหมือนกัน 3. การสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าแบบเต็มส่วน (Full Cumulation) หมายถึง การอนุญาตให้นำมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นจริงในประเทศภาคีมาสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าได้ตามจริง โดยสินค้า/วัตถุดิบดังกล่าวไม่จำเป็นต้องผ่านเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้า |
Accumulation (or Cumulating) | หมายถึง การสะสมถิ่นกําเนิต เมื่อสิ้นค้าถูกผลิตโดยผู้ผลิต ที่ตั้งอยู่ในประเทศสมาชิกภาคีความตกลงการค้าเสรีตั้งแต่สองประเทศ ขึ้นไป มูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกทั้งสองประเทศ (หรือมากกว่า) ดังกล่าว สามารถนํามาสะสมรวมกันในการคํานวณมูลค่าเพิ่มของภูมิภาคได้ |
ACD | ASIA Cooperation Dialogue หมายถึง กรอบความร่วมมือเอเชีย เป็นความร่วมมือใน ทวีปเอเชีย โดยมีหลักการ คือ การสร้างกรอบความร่วมมือในแขนง ต่างๆ ของทวีปเอเชีย ปัจจุบันมีสมาชิก 30 ประเทศ |
ACFTA | ASEAN-China Free Trade Agreement หมายถึง เขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนและจีน (ชื่ออย่างไม่เป็น ทางการ) มีการลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน (Framework Agreement on ASEANChina Comprehensive Economic Cooperation) เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 เพื่อเป็นกรอบและแนวทางสําหรับการเจรจา จัดตั้งเขตการค้าเสรีที่ครอบคลุมทั้งเรื่องการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั้งสองฝ่ายได้สรุปการเจรจาและลงนามในความตกลงด้านการค้า สินค้า (Agreement on Trade in Goods of the Framework Agreement on Comprehensive Economic Co-operation between the ASEAN and China) เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 โดยกําหนดการลดภาษี ดังนี้ • สินค้าปกติ (Normal Track): อัตราภาษีลดลงเหลือ 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 พร้อมกับให้สินค้าจํานวน 150 รายการ ได้รับความยืดหยุ่นให้สติภาษีเหลือ 0% ได้ถึงปี 2555 • สินค้าออนไหว (Sensitive Track: มีได้ไม่เกิน 100 รายการและไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าการนําเข้า ลดอัตราภาษีเหลือ ร้อยละ 20 ในปี 2555 และมีอัตราภาษีสุดท้ายอยู่ที่ร้อยละ 0-5 ในปี 2561 • สินค้าออนไหวสูง (Highly Sensitive Track) จํานวนไม่เกิน ร้อยละ 40 ของจํานวนรายการสินค้าออนไหว หรือ 100 รายการ ของสินค้าออนไหวทั้งหมด (แล้วแต่ว่าเงื่อนไขใดมีผลให้จํานวน รายการน้อยกว่า) จะต้องสติอัตราภาษีเหลือร้อยละ 50 ในปี 2558 |
ACIA |
ASEAN Comprehensive Investment Agreement หมายถึง ความตกลงว่าด้วยการลงทุนของอาเซียน ครอบคลุมเรื่องการส่งเสริมการลงทุน การอำนวยความสะดวกการลงทุน การคุ้มครองการลงทุน และการผูกพันการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาภาคการผลิต การเกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ รวมถึงบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาดังกล่าว |
ACJCETC | ASEAN-China Joint Committee on Economic and Trade Cooperation หมายถึง การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยความร่วมมือทาง เศรษฐกิจและการค้าระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของ อาเซียนและจีน เพื่อพิจารณาขยายความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การอํานวยความสะดวกในการ เปิดตลาด การเสริมสร้างความร่วมมือด้านเทคโนโลยี และการ แลกเปลี่ยนข้อมูลการค้า |
ACMECS | Ayeyawady' Chao Phraya' Mekong Economic Cooperation Strategy หมายถึง ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา สปป.ลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่า ไทย และเวียดนาม โดยมีการพัฒนาความร่วมมือ 6 สาขา ประกอบด้วย การอํานวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การเชื่อมโดยเส้นทางคมนาคมในภูมิภาค การท่องเที่ยว การพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ (HRD) และสาธารณสุข |
ACP | African, Caribbean and Pacific Countries หมายถึง กลุ่มประเทศในแอฟริกา แคริบเบียน และแปซิฟิก 78 ประเทศ ที่ประชาคมยุโรปผูกพันที่จะยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าที่ นําเข้าจากกลุ่มประเทศดังกล่าว เพื่อเป็นการช่วยเหลือภายใต้สนธิ สัญญาโสเม่ (Lome Convention) |
ACPC | The Association of Coffee Producing Countries หมายถึง สมาคมประเทศผู้ผลิตกาแฟ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม ความร่วมมือด้านนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศผู้ผลิต เพื่อ รักษาเสถียรภาพราคาเมล็ดกาแฟ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 ณ กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล ประกอบด้วย ประเทศ สมาชิก 28ประเทศ มีสํานักงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศสหราช อาณาจักร (ปัจจุบันได้ปิดสมาคมไปแล้ว) |
ACRF | ASEAN Comprehensive Recovery Framework หมายถึง กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนซึ่งเป็นเอกสารที่รวบรวมข้อริเริ่มและกิจกรรมสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการฟื้นฟูภูมิภาคภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด - 19 |
ACT | ASEAN Consultation to Solve Trade and Investment Issues หมายถึง หน่วยงานแก้ปัญหาการค้าการลงทุนของอาเซียน ซึ่งจะเป็นหน่วยงานกลางที่แต่ละประเทศจัดตั้งขึ้น เพื่อทําหน้าที่ประสานงานให้คําปรึกษาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดําเนินการตามความตกลงด้านการค้าบริการ และการลงทุนของอาเซียนโดยผ่านทางอินเทอร์เน็ต |
Actionable Subsidy | หมายถึง การอุดหนุนเฉพาะเจาะซึ่งที่อาจถูกตอบโต้ได้ หรือ Yellow Light Subsidy เป็นการอุดหนุนในรูปแบบหนึ่ง ที่ไม่ขัดต่อกฎระเบียบของ WTO แต่เป็นสิ่งที่ประเทศสมาชิกอาจตอบโต้ด้วย การตั้งภาษีตอบโต้การอุดหนุน (Countervalling Duties:CW) หรือภาษีที่รัฐบาลของประเทศผู้นําเข้าเรียก เก็บจากสินค้านําเข้าที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลของ ประเทศผู้ส่งออก |
ACV | Agreement on Customs Valuation หมายถึง ความตกลงที่กําหนดวิธีการประเมินราคาสินค้าหรือ the WTO Agreement on Implementation of Article VII of the General Agreement on Tariffs and Trade 1994) เพื่อ วัตถุประสงค์ของการคํานวณอัตราภาษีศุลกากร มี 6 วิธี ซึ่งนํามาใช้ ตามลําดับ คือ ใช้วิธีที่ 1 ก่อน แล้วจึงใช้วิธีที่ 2 ซึ่งจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อ ไม่สามารถกําหนดราคาภายใต้วิธีที่ 1 ได้ ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นคือ ลําดับ ของวิธีที่ 4 และ 5 อาจสลับกันได้หากได้รับการเรียกร้องจาก ผู้นําเข้าวิธีต่างๆ จําแนกได้ดังนี้ 1. ราคาซื้อขายของที่นําเข้า 2. ราคาซื้อขายของที่เหมือนกัน 3. ราคาซื้อขายของที่คล้ายกัน 4. ราคาหักทอน 5. ราคาคานวณ 6. ราคาย้อนกลับ |
AD | Anti-dumping Duty หมายถึง ภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่เรียกเก็บจากผู้นําเข้าสินค้า จากต่างประเทศ เนื่องจากผู้ส่งออกในต่างประเทศได้ส่งสินค้านั้น เข้ามาเพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์ในราคาที่ต่ํากว่าราคาจําหน่ายในประเทศของตนหรือในราคาที่ต่ํากว่าต้นทุนการผลิต |
Ad valorem | หมายถึง การจัดเก็บอากรตามราคาอัตราอากรศุลกากรที่ เรียกเก็บเป็นร้อยละของราคา ซี.ไอ.เอฟ (CLE) |
ADB | Asian Development Bank หมายถึง ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2509 โดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สําหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) เพื่อให้ความช่วยเหลือ ทางเทคนิคทุกขั้นตอนของโครงการพัฒนาต่างๆ เช่น โครงการเกษตร อุตสาหกรรมเป็นต้น โดยสมาชิกเกือบทั้งหมดเป็นประเทศ ที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย สํานักงานใหญ่อยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ |
Administered Protection | หมายถึง มาตรการป้องกัน (ทั้งมาตรการทางศุลกากรและ มาตรการทางการค้าอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษี) ที่กําหนดเป็นกฎหมายที่เป็น ลายลักษณ์อักษร โดยประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือตลาด ที่มี ลักษณะเฉพาะตัว โดยมีฝ่ายบริหารเป็นผู้กําหนด ภายใต้ความตกลง ทั่วไปที่ว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าได้เปิดโอกาสให้ใช้มาตรการ ต่างๆ เหล่านี้เช่น ภาษีศุลกากรเพื่อตอบโต้ การทุ่มตลาด, ภาษี ตอบโต้การอุดหนุน, และมาตรการปกป้อง |
Advalorem Duties | หมายถึง ภาษีตามมูลค่า ซึ่งเก็บเป็นสัดส่วนร้อยละของมูลค่า สินค้า |
Advance rulings | หมายถึง คําวินิจฉัยล่วงหน้า เป็นคําแนะนําที่อาจได้รับจากหน่วย งานศุลกากรก่อนที่จะส่งสินค้าออกไปเกี่ยวกับการจําแนกพิกัดศุลกากรของสินค้า และ/หรือ การตัดสินใจว่าสินค้ามีคุณสมบัติการได้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรหรือไม่ |
AEBF | Asia-Europe Business Forum หมายถึง การประชุมสภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป จัดขึ้นทุก ๆ 1 ปี โดยเป็นการประชุมระดับผู้นําภาคเอกชนของประเทศสมาชิกอาเซม เพื่อหารือถึงความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาคเอกชนเอเชีย และยุโรป และจัดทําข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าและ การลงทุนของสองภูมิภาคเสนอต่อภาครัฐบาล ทั้งนี้ ผลการประชุม จะนําไปพิจารณาในการประชุม SOMTI และ EMM ด้วย |
AEC | Asia-Pacific Economic Cooperation หมายถึง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกเขตเศรษฐกิจ จํานวน 21 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียตนาม สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน จีนไทเป ฮ่องกง เม็กซิโก ปาปัวนิวกีนี ชิลี รัสเซีย และเปรู |
AEC (1) | ASEAN Economic Community หมายถึง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมีตลาดและฐานการ ผลิตเดียวร่วมกัน ทําให้การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และแรงงาน ฝีมือระหว่างกันอย่างเสรี ซึ่งผู้นําอาเซียนได้ตกลงที่จะดําเนินการไป การเป็น AEC ภายในปี พ.ศ.2558 |
AEC (2) | ASEAN Economic Community หมายถึง ประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 1991 และมีผลใช้บังคับเมื่อพฤษภาคม 1994 เป็น องค์กรหนึ่งในสหภาพแอฟริกา ประกอบด้วยกลุ่มเศรษฐกิจ 5 เสาหลัก ได้แก่ COMESA, ECCES, IGAD, ECWOAS และ SADC โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างประเทศในภูมิภาค แอฟริกาส่วนใหญ่ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อจัดทําเขตการค้าเสรีในปี 2017 สหภาพศุลกากรในปี 2019 ตลาดร่วม ในปี 2023 และธนาคารกลางและการใช้เงินสกุลเดียวกันในปี 2028 |
AEC Council | ASEAN Economic Community Council หมายถึง การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่ง เป็นกลไกที่จัดตั้งขึ้นตามกฏบัตรอาเซียน มีหน้าที่กํากับดูแลงานภาพรวมด้านเศรษฐกิจของอาเซียน และดูแลการดําเนินงานของรัฐมนตรี รายสาขา รวมทั้งสิ้น 12 สาขา อาทิ เช่น ด้านการคลัง เกษตร พลังงาน ขนส่ง โทรคมนาคม และท่องเที่ยว เป็นต้น |
AELM | APEC Economic Leaders Meeting หมายถึง การประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค ซึ่งจะจัดเป็นประจําทุกปีต่อจากการประชุมรัฐมนตรีเอเปค (AMM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้านนโยบายเศรษฐกิจที่สําคัญระหว่างกัน |
AEM | ASEAN Economic Ministers หมายถึง รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะมีการประชุมเป็น ประจําทุกปีโดยแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนจะเวียนกันเป็น เจ้าภาพการประชุมตามสตับอักษร เพื่อวางนโยบายและกําหนดแนวทางในการขยายขอบเขตความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของ อาเซียน |
AEM-METI | ASEAN Economic Ministers and Minister of Economy Trade and Industry of Japan หมายถึง การประชุมระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและ รัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น โดยจะมี การประชุมระหว่างการประชุมประจําปีของ AEM เพื่อกําหนด นโยบายความร่วมมือระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่นในทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมรวมทั้งการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนและ ญี่ปุ่น ตลอดจนแลกเปลี่ยนความเห็นต่อการประชุมในเวทีโลก เช่น WTO APEC และ ASEM เป็นต้น |
AFAS | ASEAN Framework Agreement on Services หมายถึง กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความร่วมมือด้านบริการ และการเปิดเสรีภาคบริการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้มากขึ้นกว่าที่ประเทศสมาชิกเปิดเสรีในกรอบองค์การการค้าโลก (WTO) โดยการจัดทำข้อผูกพันเปิดเสรีบริการเป็นชุดๆ |
AfCFTA |
African Continental Free Trade Area: AfCFTA หมายถึง เขตการค้าเสรีภูมิภาคแอฟริกา จัดตั้งขึ้นโดยสหภาพแอฟริกา (African Union: AU) เป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกนับแต่ก่อตั้งองค์การการค์าโลก (WTO) ซึ่งมุ่งสร้างตลาดเดียวของแอฟริกาในด้านสินค้าและบริการ ปัจจุบันมีประเทศในแอฟริกาลงนามในข้อตกลงแล้ว 54 ประเทศ จากทั้งหมด 55 ประเทศ (เอริเทรียยังไม่ลงนาม) และมีประเทศให้สัตยาบันแล้ว 40 ประเทศ ทั้งนี้ AfCFTA มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564 |
AFS | APEC Food System หมายถึง คณะทํางานเฉพาะได้จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอาหารและส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหาร โดยได้กําหนดเป้าหมาย 3 ด้าน คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบท การกระจายเทคโนโลยี การผลิตและแปรรูปอาหารและการส่งเสริมการค้าอาหาร |
AFTA | ASEAN Free Trade Area หมายถึง เขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า ซึ่งสมาชิกอาเซียน ร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน โดยการขจัดอุปสรรคทั้งที่เป็นมาตรการภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี เพื่อมุ่ง ให้การค้าระหว่างกันขยายตัว โดยประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ไทยอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน และสิงคโปร์ ได้สตภาษีสินค้าบางรายการเป็นร้อยละ 0 ยกเว้นสินค้าออนไหว ลดลงเป็นร้อยละ 5ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 ส่วนประเทศสมาชิกใหม่ หรือ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม) จะลดลงเป็น ร้อยละ 0 สําหรับสินค้าทั่วไปและอยละ 5 สําหรับสินค้าออนไหวภายใน 1 มกราคม 2558 AGC |
AGC | ASEAN Geneva Committee หมายถึง คณะกรรมการอาเซียน ณ นครเจนีวา ประกอบด้วย ผู้แทนระดับเอกอัครราชทูตของประเทศอาเซียนที่ประจํา ณ นคร เจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีหน้าที่พิจารณาท่าที่ของ ประเทศอาเซียนในเรื่องต่าง ๆ ที่พิจารณากันอยู่ในองค์การระหว่าง ประเทศ ณ นครเจนีวา ได้แก่ องค์การการค้าโลก (WTO) และ องค์การสหประชาชาติ |
AGOA | AGOA African Growth and Opportunity Act หมายถึง กฎหมายการให้สิทธิพิเศษทางภาษีของสหรัฐฯ แก่ประเทศในกลุ่ม Sub-Sahara Africa โดยสินค้าที่ได้รับสิทธิ์สามารถ สิ่งออกไปยังสหรัฐฯ โดยได้รับการยกเว้นภาษีอากร (Duty Free) ปัจจุบันมีประเทศในภูมิภาคแอฟริกาที่ได้รับประโยชน์ภายใต้กฎหมาย ตั้งกล้ไว 38 ประเทศ AGOA ได้รับการลงนามตั้งแต่ปี 2000 ภายใต้กฎหมาย Trade and Development Act 2000 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคแอฟริกา โดยเฉพาะ Sub-Sahara Africa 2. ส่งเสริมให้เกิดการหารือในระดับสูงด้านการค้า การลงทุน และ ประเด็นที่เกี่ยวข้อง 3. สนับสนุนการรวมตัวทางเศรษฐกิจ 4. เป็นการอํานวยความสะดวกให้แก่ประเทศในกลุ่ม Sub-Sahara Africa ในการรวมกลุ่มกันทางเศรษฐกิจในระดับโลกซึ่งประธานาธิบดี สหรัฐมีอํานาจในการพิจารณาให้สิทธิ์ AGOA แก่ประเทศต่างๆ เป็นประจําทุกปีโดยการพิจารณาให้สิทธิ์จะพิจารณาจากปัจจัย หลายประการ เช่น การพัฒนาของจัดตั้งระบบเศรษฐกิจแบบตลาด การมีระบบกฎหมายที่เชื่อถือได้ การมีนโยบายเศรษฐกิจที่จะสามารถ ช่วยลดความยากจน การคุ้มครองโครงงาน และความพยายามในการ แก้ไขปัญหาคอรัปชั่น |
Agreement on Economic Co-operation | หมายถึง ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจเป็น ความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลภาคีผู้ทําสัญญา โดยจุดประสงค์เพื่อมุ่งที่จะส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในด้าน เศรษฐกิจ อํานวยความสะดวกในอาณาเขตของตน การมีส่วนร่วม ของคนชาติภาคีผู้ทําสัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ส่งเสริมและขยายความสัมพันธ์ ทางพาณิชย์ จัดให้มีความร่วมมือกันยิ่งขึ้นระหว่างบริษัท สมาคม และ องค์การอื่นๆ จัดให้มีผลปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเที่ยงธรรม สําหรับการลงทุนของสิทธิและผลประโยชน์ของคนชาติภาคีผู้ทํา สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไทยได้จัดทําความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ ไปแล้วรวม 13 ฉบับ |
Agricultural Product | หมายถึง สินค้าในพิกัดศุลกากร 1-24 ในความหมายของ WTO ซึ่งยกเว้นสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์จากป่าไม้แต่รวมสินค้าหนัง หนังเฟอร์ดิบ ไหมดิบและเศษไหม ขนแกะและขนสัตว์ ฝ่ายดิบ เศษฝ่ายและฝ่ายสางป่าน ลินินดิบ ป่านดิบ แมนนิทอล ซอร์บิทอล เอสเซนเชียลออยล์ สารแอลบูมินอตอส โมดิไฟต์สตาร์ช กาว ฟินิชชิ่ง เอเจนส์ และซอร์บิทอล เอ็นอีพ |
AIA |
ASEAN Investment Area หมายถึง เขตการลงทุนอาเซียน ซึ่งผู้นําอาเซียนมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 เพื่อให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุน ทั้งจากภายในและภายนอกอาเซียน โดยมีเป้าหมายที่จะเปิดตลาดการลงทุนและให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติแก่ นักลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนและนักลงทุนภายนอกอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2553 และ 2563 ตามลำดับ |
AICO | ASEAN Industrial Cooperation Scheme หมายถึง โครงการความร่วมมือทางอุตสาหกรรมของอาเซียน เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2539 เพื่อมุ่งขยายความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมระหว่างภาคเอกชนของอาเซียน เพิ่มพูนการลงทุนระหว่างอาเซียนและนอกอาเซียน สนับสนุนการแบ่งการผลิตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในอาเซียน โดยบริษัทอาเซียนตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปสามารถขออนุมัติแลกเปลี่ยนสินค้าและชิ้นส่วนระหว่างกันภายใต้โครงการ AICO ได้ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ไม่ต้องเสียภาษีนําเข้าสินค้าและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตที่เกี่ยวข้อง |
AIPA | ASEAN Inter - Parliamentary Assembly หมายถึง สมัชชารัฐสภาอาเซียน ซึ่งเป็นองค์กรด้านนิติบัญญัติที่เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐสภาในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยในการประชุมสมัชชาใหญ่จะเสนอข้อริเริ่มเกี่ยวกับการจัดทำกฎหมายในประเด็นที่ประเทศสมาชิกให้ความสนใจร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน |
AISP | ASEAN Integration System of Preferences หมายถึง การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ประเทศสมาชิก อาเซียนเดิม 6 ประเทศให้แก่ประเทศสมาชิกใหม ได้แก่ เวียตนาม สปป.ลาว พม่า และกัมพูชา เป็นส่วนหนึ่งในโครงการความร่วมมือ เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียน โดยส่วนใหญ่จะเป็นการยกเว้นภาษีศุลกากรสําหรับ สินค้าที่กําหนดเป็นการให้แบบฝ่ายเดียวโดยไม่มีการเจรจาต่อรอง อย่างไรก็ตามเนื่องจากตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2553 ภาษีนําเข้า สินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนเต็ม 6 ประเทศ ได้สติลงเป็นร้อยละ 0 แล้ว การให้สิทธิพิเศษดังกล่าวจึงไม่มีความจําเป็นอีกต่อไป |
AJBC | ASEAN - Japan Business Council หมายถึง สภาธุรกิจอาเซียน - ญี่ปุ่น จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยมีประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (JCCI) ดำรงตำแหน่งประธาน AJBC สภาประกอบด้วยสมาชิก 28 คน โดยมีภารกิจ คือ การส่งเสริมการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางอุตสาหกรรมร่วมกันระหว่างภาคธุรกิจของญี่ปุ่นและอาเซียน |
AJCCEP | ASEAN-Japan Committee on Comprehensive Economic Partnership หมายถึง คณะกรรมการความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิด ระหว่างอาเซียน - ญี่ปุ่น ประกอบด้วย ผู้แทนจากประเทศสมาชิก 10 ประเทศและญี่ปุ่น ทําหน้าที่เจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ การลงทุนและมาตรการต่าง ๆ ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ อย่างใกล้ชิดระหว่างอาเซียน - ญี่ปุ่น ประกอบด้วย ประธานร่วม ฝ่ายญี่ปุ่น 4 คน จาก 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (METI) กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ส่วนประธานร่วมฝ่าย อาเซียน คือ ฟิลิปปินส์ |
AJCEP | ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership หมายถึง ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิฆอย่างใกล้ชิดระหว่าง อาเซียน-ญี่ปุ่น ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2545 ผู้นําประเทศอาเซียนและญี่ปุ่นเห็นชอบให้ มีการตั้งศณะกรรมการความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิด ระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Committee on Comprehensive Economic Partnership: JCCEP) เพื่อจัดทํา กรอบความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น (Framework for Comprehensive Economic Partnership between ASEAN and Japan) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทําเขต การค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น ให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2555 สําหรับ ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และปี พ.ศ.2560 สําหรับ ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ |
AKBC | ASEAN - Korea Business Council หมายถึง สภาธุรกิจอาเซียน - เกาหลีใต้ จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 เพื่อเป็นเวทีสำหรับการหารือระหว่างภาคเอกชนของอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี รวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างกัน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาคธุรกิจและ SMEs จาก 11 ประเทศ |
AKEC FUND | ASEAN - Korea Economic Cooperation Fund จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2551 โดยมีคณะทำงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน - สาธารณรัฐเกาหลี เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการต่างๆ รวมถึงร่วมกันจัดสรรงบประมาณจาก AKEC Fund ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลีใต้จำนวนประมาณ 500,000 เหรียญสหรัฐต่อปี |
AKFTA |
ASEAN Korea Free Trade Area หมายถึง เขตการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งผู้นําอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN - Republic of Korea (ROK) Joint Declaration on Comprehensive Cooperation Partnership) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ณ กรุงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีความเห็นชอบให้เริ่มการเจรจาจัดทําความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ในช่วงต้นปี พ.ศ.2548 และกําหนดให้สรุปผลเจรจาภายใน 2 ปี การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในอาเซียน ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาด้านต่างๆ แก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน |
AMBDC | ASEAN-MEKONG Basin Development Cooperation หมายถึง ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-สุมแม่น้ําโขงได้ จัดตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2538 ณ กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงภายใต้กรอบความร่วมมือหลัก 8 สาขา ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานการค้าและการลงทุน การเกษตรทรัพยากรป่าไม้ และแร่ธาตุอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม การท่องเที่ยวทรัพยากรมนุษย์และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเน้นการ พัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงระหว่างสิงคโปร์-คุนหมิง ในชั้นแรกจะ เริ่มต้นพัฒนาในพื้นที่ลุ่มแม่น้ําโขงโดยจะครอบคลุมประเทศกัมพูชา สปป.ลาว พม่า เวียดนาม ไทย และภาคใต้ของจีน (มณฑลยูนนาน) มี ประเทศสมาชิกทั้งหมด 11 ประเทศ ประกอบด้วย อาเซียน 10 ประเทศ และจีน |
AMEICC | AEM-METI Economic and Industrial Cooperation Committee หมายถึง คณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรมอาเซียนและญี่ปุ่น จัดตั้งขึ้นเมื่อการประชุมสุดยอด อาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 6 โดยจัดประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2541 ณ กรุงเทพฯ โดยเป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรี เศรษฐกิจของอาเซียนและรัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมของ ญี่ปุ่น เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นด้านสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ปัจจุบัน ได้มีการหารือแนวทางในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจ และ ปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาคร่วมกัน โดยเน้น |
AMM | ASEAN Ministerial Meeting หมายถึง การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียน ซึ่งจะจัด เป็นประจําทุกปีเช่นเดียวกับการประชุม AEM โดยมีวัตถุประสงค์ สําคัญเพื่อกําหนดแนวทางความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคงและสังคมของอาเซียน |
AMS | Aggregate Measure of Support หมายถึง มาตรวัดการสนับสนุนรวมยอด เป็นมาตรวัดร่วมที่ วัดการอุดหนุนทั้งหมดต่อกิจกรรมหนึ่งๆ อันเนื่องมาจากนโยบาย เช่นนโยบายการอุดหนุนการผลิต และนโยบายอุตหนุนราคาตลาด (market price Support policies) มาตรการนี้ใช้ในความตกลง ด้านการเกษตร VWTO |
AMU | Arab Maghreb Union หมายถึง สหภาพอาหรับมาเกร็บเป็นความตกลงทางการค้า ระหว่างประเทศในภูมิภาคแอฟริกาเหนือ ลงนามเมื่อปี ค.ศ.1989ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 5 ประเทศในตอนเหนือของแอฟริกา ได้แก่ แอลจีเรีย ลิเบีย มอริเตเนีย โมร็อกโก และตูนิเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการร่วมลงทุนและการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ เป็นตสาตร่วมระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับในแอฟริกาเหนือ โดยสหภาพอาหรับมาเก็บเป็นตลาดรวมในปี ค.ศ.1995 |
ANDEAN | Andean Community หมายถึง องค์ทางการค้ากลุ่มแอนเดียน (Andean) โดยจัดตั้งเมื่อ ค.ศ.1997 โดยพัฒนามาจาก Andean Group ซึ่งถือกําเนิดเมื่อ ค.ศ. 1969 จาก Cartagena Agreement เพื่อยกระดับมาตรฐานการ ครองชีพด้วยการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ และความร่วมมือด้านสังคม โดย Andean Free Trade Area ได้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 1993 และ สมบูรณ์เมื่อเดือนธันวาคม 2548 ซึ่งส่วนสหภาพศุลกากรเริ่มมีผล บังคับใช้เมื่อปี 2538 ในทุกประเทศสมาชิกยกเว้นเปรู ขณะนี้ยังไม่สมบูรณ์ปัจจุบันคงเหลือสมาชิก 4 ประเทศ คือ โคลัมเบีย เปรู โบลิเวีย และเอกวาดอร์ และมีประเทศสังเกตการณ์ 2 ประเทศ คือ เม็กซิโก และปานามาสํานักงานเลขาธิการตั้งอยู่ ณ กรุงลิมา ประเทศเปรู |
ANRPC | Association of Natural Rubber Producting Countries หมายถึง สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ มีหน้าที่ ดําเนินงานให้ได้ตามวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการคือ 1) ประสานงานด้านนโยบายและการดําเนินงานผลิตยาง และ ค้ายางของประเทศสมาชิก 2) สนับสนุนส่งเสริมทางวิชาการยางระหว่างประเทศสมาชิก 3) ดําเนินการเพื่อสร้างความเป็นธรรมและยกระดับราคายาง ธรรมชาติ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 7 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย ไทย ปาปัวนิวกีนี้ สิงคโปร์ และศรีลังกา มีสํานักงาน ณ กรุงกัวลาสั้มเปอร์ ประเทศมาเลเซีย |
ANZSCEP | Agreement Between New Zealand and Singapore on a Closer Economic Partnership หมายถึง ความตกลงการค้าเสรีระหว่างนิวซีแลนติและสิ่งศโปร์ มีความสําคัญคือ เป็นความตกลงการค้าเสรีฉบับแรกของสิงคโปร์หลังจากที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2544 (ค.ศ.2001) มูลค่าการค้าระหว่างนิวซีแลนด์และสิงคโปร์ได้เพิ่มมาก ขึ้นถึงร้อยละ 35 ภายในระยะเวลา 2 เดือน โดยสิงคโปร์ส่งออกไป นิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นร้อยละ 54 ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจําพวกปิโตรเคมี อุปกรณ์สื่อสาร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและผลิตภัณฑ์ เคมี ซึ่งเดิมนิวซีแลนดเก็บภาษีนําเข้าร้อยละ 5-7 ในขณะเดียวกัน สิงคโปร์ก็นําเข้าจากนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นร้อยละ 46 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ นม เนย นอกจากประโยชน์ที่สิงคโปร์ได้รับจากเข้าสู่ตลาด นิวซีแลนด์ได้สูงขึ้นแล้ว สิงคโปร์และนิวซีแลนด์ยังมีความสัมพันธ์ที่ แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยเมื่อปี 2545 นิวซีแลนด์ได้เลือกสิงคโปร์ เป็นศูนย์เทคโนโลยีแห่งแรกที่ตั้งอยู่นอกประเทศ เพื่อสนับสนุน บริษัทของนิวซีแลนด์ที่ประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยีและการค้าระหว่างประเทศ |
APEC | Asia-Pacific Economic Cooperation หมายถึง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย - แปซิฟิก (เอเปค) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน จีนไทเป ฮ่องกง เม็กซิโก ปาปัวนิวกีนี ชิลี รัสเซีย และเปรู |
API | Advanced Passenger Information หมายถึง ข้อมูลผู้โดยสารล่วงหน้า ซึ่งเป็นการดําเนินงานภายใต้ กรอบเอเปค โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสายการบินและเจ้าหน้าที่ ตรวจคนเข้าเมืองในการจัดทําระบบข้อมูลโดยสารล่วงหน้า เพื่อ สร้างความปลอดภัยและอํานวยความสะดวกในการเดินทาง |
APT | ASEAN Plus Three (ASEAN+3) หมายถึง กรอบความร่วมมืออาเซียนกับประเทศจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เริ่มขึ้นในปลายปี พ.ศ.2540 หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย มีการประชุมสุดยอดครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วยความร่วมมือใน 2 สาขาหลัก คือ 1) สาขาเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม การพัฒนาทางด้านเทคนิคและวิทยาศาสตร์ สารสนเทศและวัฒนธรรม และการร่วมมือเพื่อการพัฒนา 2) สาขาการเมืองและอื่นๆ ได้แก่ ความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคง และประเด็นข้ามชาติ (Transnational Issues) การประชุมสุดยอดอาเซียน+3 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2548 ได้มีการลงนามในปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (Kuala Lumpur Declaration on the ASEAN Plus Three Summit) ซึ่งกําหนดให้กรอบอาเซียน+3 เป็นกลไกหลักที่จะนําไปสู่การจัดตั้ง AEC |
ASC (2) | ASEAN Standing Committee หมายถึง คณะกรรมการประจําอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย เลขาธิการอาเซียน และอธิบดีกรมอาเซียนของแต่ละประเทศสมาชิก ทําหน้าที่ดูแลด้าเนินงาน ติดตามผล และพิจารณาทบทวนการปฏิบัติ งานในด้านต่างๆ ของอาเซียน โดยจะมีการประชุมคณะกรรมการประจําอาเซียนปีละ 4-5 ครั้ง ประเทศสมาชิกจะหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในแต่ละปี โดยเรียงลําดับตัวอักษร |
ASC (3) | ASEAN Security Community หมายถึง ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ถือว่าเป็นหนึ่งใน เสาหลักที่สําคัญของประชาคมอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะ ทําให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่นในหลักความมั่นคง รอบด้าน |
ASCC | ASEAN Socio-cultural Community หมายถึง ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน ถือว่าเป็นหนึ่ง ในเสาหลักที่สําคัญของประชาคมอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะ ทําให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ร่วมกันในสังคม ที่เอื้ออาทร ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนา ในทุกๆ ด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม (Social security) |
ASCs | APEC Study Centers หมายถึง ศูนย์ศึกษาเอเปค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคด้านการศึกษา การพัฒนาฝีมือ แรงงาน และการอํานวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างของสมาชิก |
ASEAN | Association of Southeast Asian Nations หมายถึง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า อาเซียน เป็นองค์กรซึ่งถือกําเนิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ของผู้นํา ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ที่จะให้มีการรวมกลุ่มและ ร่วมมือกันเสริมสร้างให้ภูมิภาคมีสันติภาพอันนํามาซึ่งเสถียรภาพทางการเมืองและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งต่อมาบรูไนดารุสซาลามได้เข้าเป็นสมาชิกลําดับที่ 6 ในปี พ.ศ.2527 เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลําดับที่ 7 ในปี พ.ศ.2538 สปป.ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกพร้อมกัน เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกลําดับที่ 10 ในปี พ.ศ.2542 ทําให้ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกรวม 10 ประเทศ มีประชากร รวมกว่า 590 ล้านคน |
ASEAN - BAC | ASEAN Business Advisory Council หมายถึง สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ซึ่งภารกิจหลักในการส่งเสริมการเป็นพันธมิตรระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเพื่อบรรลุการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน |
ASEAN Charter | หมายถึง กฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นความตกลงระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียนที่จะให้สถานะทางกฎหมายหรือนิติฐานะแก่อาเซียน และวางกรอบโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อทําให้อาเซียนเป็นหน่วยงาน ที่ยึดมั่นมากยิ่งขึ้นต่อกติกาและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิก ร่วมกันกําหนดขึ้น อันจะนํามาซึ่งการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนยังมีเป้าหมาย เพื่อเปลี่ยนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางของ ความร่วมมือมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่ ๆ เพื่อปกป้อง และส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนอาเซียน เช่น องค์กรสิทธิ์ มนุษยชนอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้นําประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมลงนามกฏบัตรฯ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 |
ASEAN Japan Mekong Ministerial Meesting | หมายถึง การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มประเทศลุ่มน้ําโขงและญี่ปุ่น ประเทศสมาชิกประกอบด้วย ญี่ปุ่น ไทย สปป.ลาว เวียตนาม พม่า และก็มพูชา โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นต้น โดยญี่ปุ่นและไทยเป็นผู้ร่วมให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆ ในเวทีนี้ |
ASEAN-CCI | ASEAN Chamber of Commerce and Industry หมายถึง สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของอาเซียน ประกอบด้วยผู้แทนจากภาคเอกชนของประเทศอาเซียน ทําหน้าที่ศึกษาติดตามการดําเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าของภาครัฐอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งพิจารณาให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการกําหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจของอาเซียน |
ASEAN-CER | ASEAN-Closer Economic Relations of Australia and New Zealand หมายถึง เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน ระหว่างอาเซียนกับเขตการค้าเสรีออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยมี การประชุมประจําปีทั้งในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส เพื่อการเชื่อมโยงความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ มาตรฐานและ ความสอดคล้องการเกษตร ศุลกากร การบริการ การท่องเที่ยว การแลกเปลี่ยนข้อมูล การเข้าสู่ตลาด ความร่วมมือกับภาคเอกชน และเรื่องใหม่ ๆ ได้แก่ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ การหารือนโยบายการค้า และการส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น |
ASEAN-China TNC | ASEAN-China Trade Negotiation Committee หมายถึง คณะเจรจาการค้าอาเซียน - จีน ประกอบด้วย สมาชิก จากประเทศอาเซียนและจีน ทําหน้าที่เจรจาต่อรองการเปิดเสรี และความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ภายใต้กรอบควาร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน |
ASEAN-PTA | ASEAN Preferential Trading Arrangement หมายถึง การให้สิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก อาเซียนตามความสมัครใจ โดยการลดอัตราภาษีขาเข้าลงในอัตรา ต่าง ๆกันสําหรับสินค้าแต่ละรายการ เพื่อขยายการค้าระหว่าง ประเทศสมาชิกอาเซียน ปัจจุบัน PTA ถูกแทนด้วย AFTA |
ASEANTNG | ASEAN Trade Negotiation Group หมายถึง คณะเจรจาการค้าอาเซียน ประกอบด้วย สมาชิกจาก ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ทําหน้าที่หารือและกําหนดท่าที่การ เจรจาของอาเซียนภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน |
ASEC | ASEAN Secreatariat หมายถึง สำนักเลขาธิการอาเซียน ตั้งอยู่ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อดำเนินโครงการในการบรรลุการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน |
ASEM | Asia – Europe Meeting หมายถึง การประชุมเอเชียยุโป (อาเซม) จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยเป็นการประชุมระดับสุดยอดผู้นำ ประกอบด้วย ประมุข และหัวหน้ารัฐบาลจากฝ่ายยุโรปและฝ่ายเอเชีย เพื่อหารือแนวทางส่งเสริมความเชื่อมโยงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคเอเชียยุโรปให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ASEM มีสมาชิกประกอบด้วย 51 ประเทศ และ 2 องค์กร ดังนี้ (1) กลุ่มยุโรป 30 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 27 ประเทศ และ ประเทศในยุโรป ได้แก่ สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์ (2) กลุ่มเอเชีย 21 ประเทศ ได้แก่ กลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ และกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและเอเชียใต้ 11 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มองโกเลีย อินเดีย ปากีสถาน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย บังกลาเทศ และคาซัคสถาน ตลอดจน (3) องค์กรระดับภูมิภาค 2 องค์กร ได้แก่ สหภาพยุโรปและสำนักเลขาธิการอาเซียน |
Asia | หมายถึง ทวีปเอเชีย ได้แก่ เอเชียตะวันตก (West Asia) ประกอบด้วย อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย มัลดีฟ เนปาล ปากีสถาน และศรีลังกา เอเชียตะวันออกและโอเชียนเนีย (East Asia including Oceania) ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา จีน ฟิจิ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น กิริบาต สปป.ลาว มาเก๊า จีน มาเลเซีย มองโกเลีย พม่า นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐเกาหลี ซามัวร์ ไต้หวัน สิงคโปร์ หมู่เกาะโซโลมอน ไทย ตองกา ตูวาลู วานูอาตู เวียตนาม และประเทศและเขตปกครองอื่นๆ ในทวีปเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก |
Asian Bond Market Initiative | หมายถึง มาตรการที่ระดมเงินออมที่มีอยู่ในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียมาใช้ในการลงทุนภายในภูมิภาคผ่านการออก ตราสารหนี้เอเชียของอดีตนายกรัฐมนตรี (พันตํารวจโท ทักษิณ ชินวัตร)โดยเป้าหมายสูงสุด คือ การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ให้มีศักยภาพอย่างแท้จริง เน้นการออกพันธบัตรโดยหน่วยงานภาค รัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศในภูมิภาค เอเชีย และออกในรูปสกุลเงินท้องถิ่นรวมทั้งมีสภาพคล่องสูง ตลอดจนมีการซื้อขายอย่างแพร่หลายในตลาดแรกและตลาดรองทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย |
ASYCUDA | Automated System for Customs Data หมายถึง ระบบศุลกากรแบบบูรณาการ ที่สามารถเร่งรัด กระบวนการตรวจผ่านทางศุสิกากร ให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และให้ความช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในการปฏิรูป กระบวนการ การบริหารทางศุลกากรให้มีความทันสมัย เป็นระบบ ล่าสุด สามารถสนับสนุนการประกอบธุรกิจ โดยผ่านทางระบบ อิเล็กทรอนิคส์ (E-Business) ซึ่งได้รับการติดตั้งในกว่า 80 ประเทศ และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ว่าเป็นระบบศุลกากรแบบ อัตโนมัติที่ได้มาตรฐาน |
ATFC | Agreement on Textiles and Clothing หมายถึง ความตกลงว่าด้วยสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ใช้บังคับ กับการค้าสิ่งทอของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) โดย กําหนดให้ยกเลิกโควตาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ภายใต้ความตกลงว่า ด้วยการค้าสิ่งทอระหว่างประเทศ (Multi-Fiber Arrangement: MEA) อย่างค่อยเป็นค่อยไปภายใน 10 ปีนับแต่ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ (พ.ศ.2538-2547) |
ATIGA | ASEAN Trade in Goods Agreement หมายถึง ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ซึ่งเป็นความตกลง ที่จะนํามาใช้แทน CEPT Agreement โดยมีข้อบทครอบคลุมประเด็น ต่าง ๆ เช่น การลดภาษี มาตรการที่มิใช่ภาษี การอํานวยความสะดวก ทางการค้า กระบวนการศุลกากร มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัย พืช และมาตรการเทคนิคที่เป็นอุปสรรคทางการค้า เป็นต้น |
AU |
African Union หมายถึง สหภาพแอฟริกา เป็นองค์การระหว่างประเทศของภูมิภาคแอฟริกาที่พัฒนามาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity: OAU) ซึ่งองค์การ OAU ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 โดยต่อมาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2542 ประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของประเทศในภูมิภาคแอฟริกาได้มีปฏิญญา Sirte Declaration เพื่อก่อตั้งองค์การ AU ขึ้นเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2545 แทนที่องค์การ OAU เพื่อเร่งกระบวนการหล่อหลอมภายในทวีปแอฟริกาให้สามารถมีบทบาทอย่างเหมาะสมทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ปัจจุบันองค์การ AU มีสมาชิกรวม 55 ประเทศ หรือประเทศในแอฟริกาทั้งหมด ประกอบด้วย 1.แอลจีเรีย 2.แองโกลา 3.เบนิน 4.บอตสวานา 5. บูร์กินาฟาโซ 6.บุรุนดี 7.เคปเวิร์ด 8.แคเมอรูน 9. แอฟริกากลาง 10.ชาด 11. คอโมโรส 12.คองโก 13.โกตดิวัวร์ 14. สาธารณรัฐคองโก 15.จิบูตี 16.อียิปต์ 17. อิเควทอเรียลกินี 18.เอริเทรีย 19. เอธิโอเปีย 20.กาบอง 21.แกมเบีย 22.กานา 23.กินี 24.กินีบิสเซา 25.เคนยา 26. เลโซโท 27. ไลบีเรีย 28.ลิเบีย 29. มาดากัสการ์ 30.มาลาวี 31.มาลี 32.มอริเตเนีย 33.มอริเชียส 34. โมร็อกโก 35. โมซัมบิก 36. นามิเบีย 37. ไนเจอร์ 38. ไนจีเรีย 39.รวันดา 40.สาธารณรัฐซาห์ราวี 41.เซาตูเมและปรินซิปี 42. เซเนกัล 43.เซเชลส์ 44.เซียร์ราลีโอน 45.โซมาเลีย 46.แอฟริกาใต์ 47.เซาท์ซูดาน 48.ซูดาน 49.เอสวาตินี 50.โตโก 51.ตูนิเซีย 52.ยูกันดา 53. แทนซาเนีย 54.แซมเบีย และ 55.ซิมบับเว |
AWEN | ASEAN Women Entrepreneurs’ Network หมายถึง เครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียน ซึ่งมุ่งแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการสนับสนุนธุรกิจและกิจกรรมการค้าเพื่อยกระดับความเสมอภาคทางเพศ สร้างความเข้มแข็งในทักษะการเป็นผู้ประกอบการสำหรับสตรีอาเซียน ตลอดจนการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรเพื่อส่งเสริมให้สตรีอาเซียนเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น |
BA | Bilateral Agreement หมายถึง ความตกลงทวิภาคีระหว่างรัฐบาลสองประเทศ เพื่อให้สิทธิประโยชน์เป็นพิเศษระหว่างกัน เช่น Agreement on Economic Cooperation Agreement on Promotion and Protection of Investment lay Trade Agreement LÚUMU |
Base Rate | หมายถึง อัตราก่อนการลดภาษี ซึ่งสําหรับการเจรจาการค้าเสรี จะเท่ากับอัตราภาษีเก็บจริง (Applied Rate) ณ ปีที่ตกลงกัน แต่สําหรับการเจรจาภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (WTO) จะเท่ากับอัตราผูกพันตามความตกลง (Bound Rate) |
Basel Convention | หมายถึง อนุสัญญาบาเซล เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่ง แวดล้อมเก้วยกับการจัดการของเสียอันตราย |
BBC | หมายถึง โครงการเปิดให้เอกชนที่ผลิตรถยห้อในอาเซียน แบ่งผลิต และแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนรถยนต์เฉพาะยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน ระหว่างกัน โดยรับส่วนลดภาษีร้อยละ 50 และให้ถือว่าชิ้นส่วนที่ ผลิตจากโครงการเป็นชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศผู้นําเข้า ปัจจุบันโครงการนี้ล้มเลิกไปโดยปริยายเนื่องจากการจัดตั้งโครงการ |
Berne Convention | หมายถึง อนุสัญญาเบอร์น เป็นข้อตกลงภายใต้การบริหารของ WIPO ในเรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้สร้างงานวรรณกรรมและ งานศิลปกรรม |
Bilateral Cumulation | หมายถึง การนํามูลค่าเพิ่มที่เกิดจากสองประเทศมารวมกัน เพื่อคํานวณมูลค่าเพิ่มของภูมิภาค (Regional value content) มักจะเกิดขึ้นภายใต้ความตกลงการค้าเสรี หรือ GSP |
Bilateral Quota | หมายถึง โควตาที่ไม่เพียงแต่กําหนดจํานวนหรือปริมาณของ ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่นําเข้าหรือส่งออก หรือเป็นการกําหนตการค้า ระหว่างประเทศที่มีต้นกําเนิดหรือจุดหมายปลายทางในประเทศ ต่างๆ |
BIMSTEC | Bay of Bengal Initiative for Multisectoral Technical and Economic Cooperation หมายถึง ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล ว่าด้วยความร่วมมือ หลากหลายสาขาทางเทคนิคและเศรษฐกิจ ในโครงการความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจระหว่างบังคลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BIMSTEC นี้ ก่อตั้งตามปฏิญญากรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม ในภูมิภาค และเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก |
BIMSTEC ETA | BIMSTEC Free Trade Area หมายถึง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งที่รัฐบาลของ ประเทศสมาชิก BIMSTEC ทั้ง 7 ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย ได้ร่วมลงนามกรอบความตกลงเพื่อจัดทําเขตการค้าเสรีโดยเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า การค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้ การเจรจาจัดทําความตกลงฯ ได้แล้วเสร็จตามกําหนดเวลา คือ การค้าสินค้า ได้แล้วเสร็จในปี 2548 และการค้าบริการ การลงทุนได้แล้วเสร็จในปี 2550 |
Binding | หมายถึง การผูกพันภายใต้ข้อกําหนดหรือบทบัญญัติของความ ตกลงต่าง ๆ หรือการผูกพันว่าจะไม่ขึ้นภาษีเกินอัตราที่ได้ผูกพันไว้ |
BIT |
Bilateral Investment Treaty หมายถึง ความตกลงทวิภาคีด้านการลงทุนซึ่งครอบคลุมหลักการสำคัญ อาทิ การประติบัติเยี่ยงคนชาติ การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง การประติบัติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม การคุ้มครองจากการเวนคืน และการชดเชยความ สูญเสีย เป็นต้น รวมถึงกำหนดให้มีกลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนกับรัฐที่เป็นภาคีความตกลงฯ |
Blake Island Economic Vision | หมายถึง วิสัยทัศน์ของผู้นําชาติสมาชิกเอเปค (APEC member Economies) ซึ่งประกาศในโอกาสที่มีการประชุมสุดยอดระดับผู้นํา รัฐบาสชาติสมาชิกเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2536 ณ เกาะแบล็ก ใกล้เมืองซีแอตเติล ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียกอย่าง เป็นทางการว่า การประชุมผู้นําเศรษฐกิจชาติสมาชิกเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting : AELM) เพื่อให้นานาชาติทราบว่า ผู้นําเอเปคจะร่วมกันสร้างภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ให้เป็นประชาคมที่ มีการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนระหว่างชาติสมาชิกเอเปคด้วยกัน |
BMC | Budget and Management Committee หมายถึง ศิณะกรรมการด้านงบประมาณและการบริหารของ เอเปค มีหน้าที่ให้คําปรึกษาเจ้าหน้าที่อาวุโสเกี่ยวกับงบประมาณและการบริหารจัดการต่าง ๆ ซึ่งจะมีการจัดประชุมปีละ 2 ครั้ง BMG |
BMG | Business Mobility Group หมายถึง กลุ่มการเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดกระบวนการเข้าเมืองของนักธุรกิจที่เดินทางเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งจะมีการหาแนวทางที่จะปรับปรุงด้านการจัดการที่พรมแดน และระบบต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเดินทาง |
Bogor Declaration | หมายถึง ปฏิญญาของผู้นําเศรษฐกิจชาติสมาชิกเอเปค ประกาศ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2537 ในการประชุมสุดยอดที่เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเรียกอย่างเป็นทางการว่า “Declaration of Common Resolve" กําหนดเป้าหมาย (G0a) ในการแปรวิสัยทัศน์ที่จะให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป็นประชาคมที่มีการเปิดเสรี การค้าและการลงทุนระหว่างชาติสมาชิกเอเปคตัวยกัน โดยสําหรับ ชาติสมาชิกที่พัฒนาแล้ว จะเปิดเสรีการค้าและการลงทุนภายใน ปี ค.ศ.2010 (พ.ศ.2553) และชาติสมาชิกที่กําลังพัฒนาจะเปิดเสรีการค้าและการลงทุนภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ.2563) |
Bound Rate | หมายถึง อัตราภาษีที่ผูกพันไว้ในการเจรจาการค้าภายใต้เวที ต่าง ๆ ในอัตราภาษีที่ผูกพันจะสูงกว่าหรือเท่ากับอัตราภาษี เพื่อ เป็นหลักประกันว่าประเทศสมาชิกจะไม่เรียกเก็บภาษีจากสินค้า ที่นําเข้าจากประเทศสมาชิกอื่นในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ผูกพัน (Bound Rate) การขึ้นภาษีให้สูงกว่า Bound Rate จะต้องมีการเจรจากับประเทศที่เสียประโยชน์จากการขึ้นภาษี |
BOX | หมายถึง การแยกประเภทของการอุดหนุนภายใน แบ่งออกได้ 3 ประเภท 1) กล่องเขียว (Green Box) เป็นการอุดหนุนที่ไม่บิดเบือน ราคา อนุญาตให้ทําได้โดยไม่มีขีดจํากัด 2) กล่องฟ้า (Blue Box) เป็นการอุดหนุนที่จํากัดการผลิต ไม่ถูกจํากัดให้ลดการอุดหนุน 3) กล่องอําพัน (Amber Box) เป็นการอุดหนุนที่บิดเบือน ราคาและมีข้อผูกพันที่จะต้องลดจํานวนการอุดหนุนลง |
BSA | Bilateral Swap Arrangements หมายถึง เพื่อพัฒนาและสร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจ และ ความร่วมมือด้านการเงินในภูมิภาคประเทศสมาชิกอาเซียนกับ ประเทศอาเซียน+3เห็นชอบให้สร้างเครือข่ายการเงินภายในภูมิภาคขึ้น เพื่อช่วยให้เกิดความคล่องตัวทางการเงินในระยะสั้น สําหรับ ประเทศสมาชิกในการประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังอาเซียน+3 (The ASEN+3 Finance Ministers Meeting) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2543 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ BSA หากมี ประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน+3 ประสบปัญหาวิกฤต เศรษฐกิจหรือปัญหาความคล่องตัวทางการเงิน ประเทศนั้นจะ สามารถยืมเงินจากอีกประเทศหนึ่งที่มีการตกลง BSA กันเพื่อ แก้ปัญหาในระยะสั้น |
BTA | Border tax adjustment หมายถึง การเก็บภาษีที่เก็บ ณ พรมแดน โดยการเก็บภาษีที่เก็บ ณ พรมแดน เป็นกฎของ GATT ออกเพื่อให้ประเทศภาคีมีอธิปไตยใน ด้านการคลัง แต่ให้มีนโยบาย การค้าที่เป็นกลาง ทั้งนี้เพื่อมิให้ ประเทศใดประเทศหนึ่งได้เปรียบจากการปรับภาษีพรมแดน |
BTB | Back-to-Back CO หมายถึง หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าแบบ แบค-ทู-แบค คือ หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า (CO) ฉบับใหม่ที่ออกโดยประเทศ ผู้ส่งออกคนกลางซึ่งเป็นภาคีในความตกลง (An Intermediate Exporting FTA partner country) โดย C0 ที่ออกใหม่นั้น จะอ้างอิงข้อมูลจาก CO ที่ออกโดยประเทศแรก (First exporting FTA partner) ทั้งนี้ สินค้าดังกล่าวต้องไม่ถูกนําไปผลิตต่อหรือ เปลี่ยนแปลงในประเทศคนกลางแต่อย่างใดตัวอย่างเช่น ไทยส่งออกสินค้าไปสิงคโปร์ แล้วสิ่งคโปร์จะส่งต่อ (ทั้งหมดหรือบางส่วน) ไปอินโดนีเซีย ผู้ส่งออกในสิ่งศโปร์ต้องไปขอ ให้ Issuing Authority ของสิงคโปร์ออก Back-to-Back (BTB) CO โดยอิงจาก C9 ที่ออกโดยไทย |
Build-down method | หมายถึง การคานวณทางอ้อม เป็นสูตรที่ใช้ในการคํานวณ มูลค่าเพิ่มซึ่งคํานวณจากการนามูลค่าของวัสดุที่ไม่ได้ถิ่นกําเนิดสินค้ามาหักออกจากมูลค่าของสินค้า |
Bulid-up method | หมายถึง การคํานวณทางตรง เป็นสูตรที่ใช้ในการคํานวณ มูลค่าเพิ่มซึ่งคํานวณจากการนําต้นทุนต่าง ๆ (หรือมูลค่าเพิ่ม) ที่เกิดขึ้นในประเทศภาคี/ภูมิภาคมารวมกัน |
Busan Roadmap | หมายถึง ข้อเสนอการดําเนินงานของเอเปคในอนาคต เพื่อให้ บรรลุเป้าหมายโบกอร์ในการเปิดเสรีการค้าการลงทุนในปี 2010/2020 อาทิเช่น การสนับสนุนการเจรจาการค้าพหุภาคี การปรับปรุง IAP/CAPs เพื่อให้เห็นผล การจัดทํา RTAS/FTAS ให้มีคุณภาพ และการอํานวยความสะดวกในการทําธุรกิจ เป็นต้น |
Business Facilitation | หมายถึง การอํานวยความสะดวกทางการค้าของเอเปคให้กับภาคธุรกิจเพื่อช่วยการลดต้นทุนทางการค้าในการเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้นรวมทั้งส่งเสริมนโยบายภาครัฐและภาคธุรกิจให้สอดคล้องกัน โดยมุ่งเน้นในเรื่องพิธีการทางศุลกากร สุขอนามัย มาตรฐาน และการรับรอง การควบคุมการออกวีซ่า/การลงทุน ทั้งนี้ เอเปคได้จัดทําโปรแกรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมวัตถุประสงค์ดังกล่าว เช่น บัตรเดินทางสําหรับนักธุรกิจเอเปค ข้อมูลด้านธุรกิจของ APEC และฐานข้อมูลด้านภาษีของ APEC เป็นต้น |
Cairns Group | คือกลุ่มประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ ประกอบด้วยสมาชิก 19 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลอมเบีย คอสตาริกา กัวเตมาลา อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปารากวัย เปรู ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ ไทย อุรุกวัย และเวียดนาม โดยมียูเครนเป็นประเทศสังเกตการณ์ |
Cap (1) | Common Agricultural Policy หมายถึง นโยบายเกษตรของสหภาพยุโรป เพื่อที่จะใช้บรรลุ เป้าหมายการผลิตและกลไกการตลาดที่ใช้จัดการการค้าสินค้าเกษตร ในสหภาพยุโรปเองและส่วนอื่น ๆ ของโลก |
CBAM |
Carbon Border Adjustment Mechanism เป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้นโยบาย EU Green Deal มีสาระสำคัญ คือ การเก็บภาษีคาร์บอนกับสินค้านำเข้า เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการแข่งขัน (level the playing field) จากการที่ผู้ประกอบการภายในประเทศเสียเปรียบคู่แข่งต่างชาติจากประเทศที่มีมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้มงวดน้อยกว่า EUจะเริ่มบังคับใช้มาตรการ CBAM ในปี 2566 โดยใช้กับสินค้า 5 ประเภทก่อน ได้แก่ ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า และอะลูมิเนียม และอาจพิจารณาขยายมาตรการให้ครอบคลุมสินค้าประเภทอื่นด้วยในอนาคต โดยในช่วง 3 ปีแรก (2566–2568) จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน ให้ผู้นำเข้าเพียงแค่รายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ EU ทราบ และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป จะเริ่มบังคับใช้มาตรการ CBAM อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งผู้นำเข้าจะต้องจ่ายภาษีคาร์บอนตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่ตนนำเข้า |
CBD | Convention on Biological Diversity หมายถึง อนุสัญญาว่าด้วยความหลายหลายทางชีวภาพ |
CBEC | Cross Border E - Commerce หมายถึง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน หรือการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ |
CBI | Caribbean Basin Initiative หมายถึง โครงการที่สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มประเทศ แคริบเบียน รวมจํานวน 24 ประเทศ โดยเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อ 1 มกราคม 2527 เป็นเวลา 12 ปี และได้ขยายเวลาออกไปอีก 10 ปี จนถึงปี 2549 ภายใต้โครงการนี้สหรัฐฯ ให้สิทธิพิเศษคือ เก็บภาษี ร้อยละ 0 กับสินค้าเกือบทุกประเภทยกเว้นสิ่งทอ สินค้าที่ทําจาก หนังบางรายการ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และน้ําตาลที่นําเข้า ไม่เสียภาษีแต่มีการกําหนดโควตา |
CCCA | Coordinating Committee on the Implementation of the CEPT Scheme for AFTA หมายถึง คณะกรรมการประสานงานดําเนินการภายใต้ความตกลง CEPT สําหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งมีหน้าที่ในการติดตาม ดูแล และแก้ไขปัญหาในการดําเนินการยกเลิกมาตรการภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษีภายในอาเซียนตามความตกลง CEPT สําหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน ปัจจุบันภายใต้ ATIGA เปลี่ยนเป็น CCA |
CD | Consumer Price Index หมายถึง ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นดัชนทางเศรษฐกิจ โดย พิจารณาจากการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของระดับราคาสินค้าอุปโภค บริโภคขั้นพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจําวันเพื่อการอุปโภคบริโภค โดย ปกติมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศ |
CDC | Central Product Classification หมายถึง ระบบการจําแนกประเภทสินค้าบริการและสินทรัพย์ ที่องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้จัดทําขึ้น เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ใช้เป็นกรอบ (Frame Work) ในการจัดทําสถิติระหว่างประเทศ เกี่ยวกับสินค้า บริการ และสินทรัพย์โดยยึดคํานี้ยามหรือคําจํากัด ความที่ได้ให้ไว้ไปใช้กับประเทศในทางเปรียบเทียบระหว่างประเทศ กันได้ |
CDSG | Chemical Dialogue Steering Group หมายถึง เวทีหารือร่วมระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาล ในการพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา การแก้ไขปัญหาทางการค้า การสร้างความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและเทคนิคอุตสาหกรรมเคมี |
CDSOA | Continued Dumping and Subsidy Offset Act หมายถึง กฎหมายชดเชยการทุ่มตลาด และการอุดหนุน เป็นกฎหมายของสหรัฐอเมริกาที่อนุญาตให้ศุลกากรสหรัฐฯ น้ํา เงินรายได้จากภาษีอากรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping Duty: AD) ภาษีตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty: CVD) และค่าปรับที่เรียกจากบริษัทผู้ส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ ซึ่งได้ยื่นคําร้องให้มีการสอบสวนการทุ่มตลาด หรือการอุดหนุน น้อยกว่าแล้วแต่กรณี |
CED | Common Effective Preferential Tariff หมายถึง อัตราภาษีพิเศษรวมสําหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นกลไกสําคัญสําหรับการสตอัตราภาษีสินค้าภายใต้อาฟต้า (AFTA) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะลดภาษีให้เหลือร้อยละ 0-5 ประเทศ ที่จะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีตาม CEPT จากประเทศสมาชิกอื่น จะต้องลดอัตราภาษีสินค้านั้น ๆ ของตนลงให้เหลือร้อยละ 20 หรือต่ํากว่านั้น |
CEFTA | Central European Free Trade Agreement หมายถึง เขตการค้าเสรียุโรปกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้าเสรีระหว่างกลุ่ม VISGRAD ปัจจุบัน มีสมาชิก 7 ประเทศ คือ อัลบาเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มาซิโดเนีย มอลโดวา มอนเตเนโกร โคโซโว และเซอร์เบีย |
CEMAC | The Monetary and Economic Union of Central Africa หมายถึง สหภาพการเงินและเศรษฐกิจแอฟริกากลาง ประกอบด้วยป ระเทศ แคเมอรูน แอฟริกากลาง ชาต คองโก อีควอโทเรียวก็นี และกาบอน |
Central Bank | หมายถึง ธนาคารกสิกิง เป็นธนาคารที่ทําหน้าที่ควบคุมธนาคาร พาณิชย์ ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ทางการคลังของรัฐบาล และเป็น สถาบันที่เป็นศูนย์กลางของระบบการเงินของประเทศ ในแต่ละ ประเทศจะมีธนาคารกลางอย่างน้อย 1 แห่ง เช่น ธนาคารกลาง แห่งประเทศไทย ธนาคารบุนเดสของเยอรมัน (Bundes bank) เป็นต้น |
CEP | Closer Economic Partnership หมายถึง พันธมิตรทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นความร่วมมือทาง เศรษฐกิจที่มีการพัฒนารูปแบบจากที่เคยมีมา โดยมีกรอบความ ร่วมมือที่กว้างขวางกว่า FTA อย่างไรก็ดี ความเข้าใจเกี่ยวกับ CED หรือ ขอบเขตของ CEP อาจแตกต่างกันไป โดยทั่วไป CED ครอบคลุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน โดยแบ่งออกเป็นประเภทกว้าง ๆ ได้ 2 ประเภท คือ - CEP ที่มีเขตการค้าเสรี (FTA) เป็นหัวใจสําคัญและรวมไปถึง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านอื่นๆ เช่น ด้านทรัพย์สินทางปัญญา การประสานนโยบายการแข่งขัน และการจัดซื้อโดยรัฐ เป็นต้น ดังนั้นกรณีกรอบความร่วมมือทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้างกว่า FTA โดยปกติ - CEP ที่ไม่มีการทํา FTA แต่อาจมีการลดภาษีศุลกากร (ไม่ใช่ เป็นการลดถึงขั้นต่ําสุด) และมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรที่เป็น อุปสรรคต่อการค้าด้วย รวมทั้งมีความร่วมมือในด้านอื่น ๆ อย่าง กว้างขวาง เช่น CEP ระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เป็นต้น |
CEPA | Comprehensive Economic Partnership for East Asia หมายถึง ข้อเสนอของญี่ปุ่นในการจัดทําเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ซึ่งประกอบด้วย อาเซียน จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเสีย และนิวซีแลนต์ หรือเรียกว่า ASEAN+6 |
CER | ANZCERTA (Australia-New Zealand Closer Economic Relations and Trade Agreement) หมายถึง ข้อตกลงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่าง ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2526 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น การขยายผลประโยชน์ร่วมกันจากการเปิด เสรีการค้าและการแข่งขันอย่างเป็นธรรม การลดเลิกอุปสรรค และขอกีดกันทางการค้าระหว่างกันในระยะเวลาที่กําหนด มีขอบเขต ครอบศิสุมการคไสินค้าทั้งสินค้าเกษตรแปรรูป ผลิตภัณฑ์ที่มี ส่วนประกอบของออสเตรเสียหรือนิวซีแลนด์อย่างช้าร้อยละ 50 การปรับประสานพิธีการทางศุลกากร การต่อต้านการทุ่มตลาด และการตอบโต้ การอุดหนุน การจัดซื้อโดยรัฐ การระงับข้อพิพาท ทางการค้า และการค้าบริการ |
CFC | Common Fund for Commodities หมายถึง กองทุนรวมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นสถาบันการเงิน ระหว่างประเทศ จัดตั้งภายใต้โครงการรวมเพื่อสิ้นค้าโภคภัณฑ์ของ UNCTAD มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2532 มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่สินค้าโภคภัณฑ์ ที่เป็น รายได้หลักของประเทศกําลังพัฒนาให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการ ส่งออก สินค้าโภคภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ โดยการรักษาเสถียรภาพ ด้านราคา การวิจัยพัฒนาคุณภาพสินค้าและการตลาดของสินค้า โศภัณฑ์ ผ่านองค์การสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสมาชิก 105 ประเทศ ไทยเป็นประเทศสมาชิกเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานตั้งอยู่ ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศ เนเธอร์แลนด์ |
CFR | Cost and Fight หมายถึง ผู้ขายจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายและค่าขนส่งต่างๆ ที่ จําเป็นในการนําของไปส่งจนถึงจุดหมายปลายทางตามที่ระบุชื่อ เอาไว้ แต่ความเสี่ยงภัยของการสูญหายหรือเสียหายของสินค้า รวมทั้งต้นทุนเพิ่มเติมใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากเหตุหารณ์ใดๆ ก็ตามหลังจากที่ของนั้นได้ส่งมอบจนลงไว้ในเรือ จะถูกเปลี่ยนจาก ผู้ขายไปเป็นของผู้ซื้อ นับตั้งแต่ของหรือสินค้านั้นได้พ้นกราบเรือ ไปแล้ว ณ ท่าส่งออก |
Change of Tariffs Classification | เกณฑ์การเปลี่ยนพิกัดศุลกากร ซึ่งเป็นหนึ่งในเกณฑ์การได้ ถิ่นกําเนิดสินค้า โดยพิจารณาว่าประเทศที่เป็นเจ้าของถิ่นกําเนิดของ สินค้าจะเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าซึ่งมีการแปรรูปและทําให้ พิกัดศุลกากรของสินค้าเปลี่ยนไปจากพิกัดศุลกากรของวัตถุดิบ ที่นําเข้า |
CIF | Cost Insuraunce and Freight หมายถึง ภาระรับผิดชอบของผู้ขายซึ่งมีลักษณะ เช่นเดียวกับ CFR (ผู้ขายต้องรับภาระค่าใช้จ่ายและค่าขนส่งต่างๆ ที่จําเป็นใน การนําของไปส่งจนถึงปลายทางตามที่ระบุชื่อไว้รวมถึงค่าประกันภัย โดยผู้ขายเป็นผู้เข้าทําสัญญาประกันความเสี่ยงภัยของการสูญเสีย หรือเสียหายของสินค้าในระหว่างการขนส่งให้กับผู้ซื้อ ส่วนผู้ซื้อ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าน้ําสินค้าขึ้นจากเรือและจ่ายภาษีศุลกากร นําเข้า) นอกจากนี้ต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมในการทําประกันภัยให้กับ ผู้ซื้อในความเสี่ยงภัยต่อการเสียหายหรือสูญหายของระหว่างการ ขนส่งจนถึงท่าปลายทาง ทั้งนี้ผู้ขายเป็นผู้ทําสัญญาและชําระ ค่าประกันภัยด้วยตนเอง |
CIS | Commonwealth of Independent States หมายถึง กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช เป็นองค์กรระหว่าง ประเทศที่ตั้งขึ้นหลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง โดยมีประเทศ สมาชิก 11 ประเทศ คือ รัสเซีย ยูเครน เบลารุส เติร์กเมนิสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน อาร์เมเนีย อาร์เซอร์ไบจาน คาซัคสถาน และมอสโตรา ร่วมลงนามในสัตยาบันรับรองความตกลง จัดตั้ง CIS เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 1991 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อในการ อํานวยความสะดวกทางการค้าและให้ความร่วมมือกันในด้าน เศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก มีประชากรรวมกัน 2769 ล้านคน ต่อมาเมื่อวันที่ 15 เมษายน 1994 ประเทศสมาชิกได้ลงนามใน ความตกลงการค้าเสรีและมีผลบังคับใช้จนถึงทุกวันนี้ |
CITES | Convention on International Trade in Endangered Species หมายถึง อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิด พันธุ์สัตว์และพันธุ์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ |
CL | Compulsory Licensing หมายถึง การที่เจ้าของสิทธิบัตรอนุญาตให้บุคคลอื่นในต่างประเทศ รวมถึงรัฐบาลในประเทศตนผลิตหรือนําเข้าสินค้าชนิดเดียวกัน เข้ามาจําหน่าย โดยต้องมีเหตุผลที่จําเป็นเร่งด่วนหรือเหตุผลอื่น ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 31 ของความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สิน ทางปัญญา ทั้งนี้ เจ้าของสิทธิจะได้รับค่าชดเชยตามที่ตกลงกัน |
CLMV | Cambodia Laos Myanmar and Vietnam หมายถึง ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม โดยประเทศสมาชิกเต็ม อาเซียน 6 ประเทศ ได้ ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแบบให้เปล่ากับประเทศสมาชิกใหม่ CLMV ซึ่งมีแผนการดําเนินงานใน 4 สาขา ได้แก่ 1) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ (Information and Communication Technology: ICT) 2) ด้านการกระชับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Regional Economic Integration) 3) ด้านการพัฒนาบุคลากร (Human Resource Development: HRD) 4) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โครงการต่าง ๆ เหล่านี้เป็นโครงการภายใต้ความริเริ่มของผู้นํา อาเซียน (Intiative for ASEAN Integration: IA) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้สมาชิกใหม่สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีความ ตกลงอาเซียนในการเปิดเสรีการค้าการลงทุน และการอํานวยความ สะดวกทางการขนส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น |
CMEA | Council for Mutual Economic Assistance หมายถึง สภาช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ (เดิมชื่อ COMECON:Communist for Mutual Economic Aid) ตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2492 มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมกําลังและร่วมมือกัน ในการช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ซึ่งประกอบด้วย แอลบาเนีย บัลแกเรีย คิวบา สาธารณรัฐเช็ก เยอรมันตะวันออก ฮังการี โปแลนต์ โรมาเนีย และสหภาพโซเวียต แต่ต่อมาสภาแห่งนี้ ได้ยุติในปี 2534 เนื่องจากประเทศสมาชิกได้มีการเปลี่ยนแปลง ระบบการปกครองเป็นระบบประชาธิปไตย |
CO | Certificate of Origin หมายถึง เอกสารที่รับรองว่าสินค้าที่นําเข้าเป็นสินค้าของความ ตกลงการค้าเสรีและเป็นไปตามกฏว่าด้วยถิ่นกําเนิดสินค้า |
CODEX | หมายถึง โครงการมาตรฐานอาหารของ FAO/WHO ซึ่งไทยเป็น สมาชิกอยู่ CODEX แบ่งมาตรฐานตามสาขาออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1. มาตรฐานเกี่ยวกับเรื่องทั่วไป มี 8 สาขา เช่น - สาขาสารเจือปนและสารปนเปื้อนในอาหาร สาขาฉลากอาหาร - สาขาสารพิษตกค้างในอาคาร เป็นต้น 2 มาตรฐานอาหารที่เป็นสินค้าเกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจ มี 18 สาขา เช่น - สาขาสัตว์น้ําและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ํา - สาขาผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ - สาขาผลิตภัณฑ์เนื้อและสัตว์ปีก เป็นต้น 3. มาตรฐานอาหารของกลุ่มประเทศที่มีการบริโภคและการ ค้าขายกันมากภายในกลุ่มจนเป็นที่ยอมรับมี 5 กลุ่ม ได้แก่ - กลุ่มยุโรป - กลุ่มลาตินอเมริกา และแคริบเบียน - กลุ่มแอฟริกา - กลุ่มเอเชีย - กลุ่มอเมริกาเหนือ และแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ |
Codex Alimentarius | หมายถึง คณะกรรมการของ FAO/WH0 ที่เกี่ยวข้องกับ มาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยด้านอาหาร |
Collective Action Plans | หมายถึง แผนปฏิบัติการร่วมในการเป็ตเสรีและอํานวย ความสะดวกในด้านต่าง ๆ Issue Area) 15 ด้านของชาติ สมาชิกเอเปคโดยรวมว่าในช่วงตั้งแต่ ค.ศ.1997 (พ.ศ.2540) เป็นต้นไป ซาติสมาชิกเอเปคจะร่วมกันดําเนินกิจกรรมอะไรที่จะ เป็นการสนับสนุนให้การเปิดเสรีและอํานวยความสะดวกด้านการค้า และการลงทุน ตามเป้าหมายโบกอร์ด้านต่าง ๆ ทั้ง 15 ด้านบรรลุ วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ |
COMESA | Common Market for Eastern and Southern Africa หมายถึง เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของแอฟริกา มี ประเทศผู้ร่วมก่อตั้ง จํานวน 9 ประเทศ ประกอบด้วย จีบูติ อียิปต์ เคนยา มาดากัสการ์ มาลา มอริเชียส ซูตาน แซมเบีย และซิมบับเว โดยมี บรูนดีและรวันดาเข้าร่วมในปี 2000 ต่อมาในปี 2006 คอโมโรส และลิเบีย เข้าร่วม ปจจุบันประกอบด้วยประเทศสมาชิก 20 ประเทศ ได้แก่ แองโกลา บุรุนดี โคโมรอส สปป.คองโก บูติ อียิปต์ เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา ลิเบีย มาดากัสการ์ มาลาวี มอริเชียส รวันดา ซีเชล ซูดาน สวาซิแลนด์ ยูกันดา แซมเบีย และซิมบับเว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมควมร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศสมาชิกโดยเฉพาะการจัดทํา FTA มีการยกเลิกมาตราการ ทางภาษี มาตราการที่มิใช่ภาษี และจัดตั้งสหภาพศุลกากร ประเทศ สมาชิกในกลุ่ม COMESA ได้เริ่มจัดทํา FTA ระหว่างกันมาตั้งแต่ ปี 2000 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2009 COMESA มีข้อตกลงสหภาพศุลกากร (Customs Union) ฉบับใหม่ โดยมีการกําหนดอัตราภาษีศุลกากรสําหรับสินค้านําเข้า จากภูมิภาคอื่นในอัตราที่เท่ากันที่ องค์การความร่วมมือระหว่าง ประเทศ ร้อยละ 0-25 ในยุโรป โดยสินค้าชั้นกลางมีอัตราภาษี นําเข้าร้อยละ 10 ในขณะที่สินค้าสําเร็จรูปมีอัตภาษีนําเข้า ร้อยละ 25 เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศให้ เข้ามาในภูมิภาคมากขึ้น และลดข้อพิพาทภายในภูมิภาค |
Commercial Treaty | หมายถึง สนธิสัญญาทางพาณิชย์ เป็นขอติกสูงระหว่างประเทศ เกี่ยวกับเรื่องภาษี กฎข้อบังคับของรัฐบาลในเรื่องการแลกเปลี่ยน ทางการเงิน สินค้าเข้า สินค้าออก การดําเนินงานของประชาชน ทางด้านธุรกิจและอื่นๆ |
Common Market | หมายถึง ตลาดร่วม เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่ง อันเกิดจากข้อตกลงระหว่างรัฐบาลตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไป ซึ่ง เป็นการขยายรูปแบบของสหภาพศุลกากรออกไป โดยประเทศภาคี ยังตกลงให้การเคลื่อนย้ายแรงงานและทุน สามารถดําเนินไปได้โดย เสรีระหว่างประเทศภาคีด้วยกัน |
Compulsory Licensing | หมายถึงการบังคับใช้สิทธิการที่กฎหมายอนุญาติให้เอกชนหรือ หน่วยงานรัฐสามารถใช้สิทธิของเจ้าของสิทธิบัตรได้ โดยไม่จําเป็น ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของสิทธิเพื่อประโยชน์สาธารณะที่ เหมาะสมตามที่ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ เกี่ยวกับการค้า มาตรา 31 กําหนดไว้ ทั้งนี้ เจ้าของสิทธิจะได้รับ ค่าชดเชย ตามที่ตกลงกัน |
Conformity Assessment | หมายถึง การตรวจสอบรับรองซึ่งครอบคลุมกิจกรรม คือ การทดสอบ (Testing and Inspection) การทวนสอบ (Verification and Assurance of Conformity) การรับรองระบบงาน (Accreditation) หรือวิธีการอื่นๆ ที่ใช้ในการปรับให้มาตรฐาน กฎระเบียบ หรือการตรวจสอบรับรองที่เป็นมาตรฐานสากล |
Contingent Protection | หมายถึง มาตรการการกีดกันทางการค้าที่เกิดขึ้นเมื่อมี เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น มาตรการต่อต้าน การทุ่มตลาดและการอุดหนุนContingent Protection เรียก อีกอย่างว่า Administered protect Copyright |
Copyright | หมายถึง สิขสิทธ์ เป็นสิทธิพิเศษที่รัฐบาลให้กับงานสร้างสรรค์ อายุการคุ้มครอง จะมีอยู่ตลอดชีวิตของผู้สร้างสรรค์ และต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่กรรม คุ้มครองวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ งานแพร่เสียงแพร่ภาพ และ งานวิทยาศาสตร์ ยกเว้นงานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และ งานแพร่เสียงแพร่ภาพมีอายุคุ้มครอง 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งาน นั้นหรือมีการโฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก |
Cotonu Agreement | หมายถึง ข้อตกลงร่วมระหว่างกลุ่ม EU กับกลุ่มประเทศ ACP ที่ ลงนามในเดือนมิถุนายน ปี 2000 (พ.ศ. 2543) ที่ Cotonou ประเทศ เบนิน โดยข้อตกลงฉบับนี้เป็นข้อตกลงแทนสนธิสัญญาโลเม่ วัตถุประสงค์หลักคือ การลดความยากจน โดยผ่านความร่วมมือ ทางการเมือง ความช่วยเหลือในด้านการพัฒนา รวมถึงความร่วมมือ ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการค้า |
Council of Europe | หมายถึง องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในยุโรป จัดตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ.2492 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างความร่วมมือกันในยุโรป จากความริเริ่มของประเทศต่างๆ ในยุโรป 16 ประเทศ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 467 ประเทศ และประเทศผู้สังเกตการณ์ 6 ประเทศ คือ แคนาดา โฮลีซี อิสราเอล ญี่ปุ่น เม็กซิโก และสหรัฐ และมีบทบาทหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมประชาธิปไตย สังคมและวัฒนธรรม มีสํานักงานใหญ่อยู่ ณ เมืองสตราสบูรก์ ประเทศฝรั่งเศส |
Council of the European Union | หมายถึง คณะมนตรีแห่งสหยุโรป เป็นหนึ่งในสามสถาบัน หลักของสหภาพยุโรป (คณะมนตรีแห่งสหยุโรป รัฐสภายุโรป และคณะกรรมาธิการยุโรป) ทําหน้าที่ตัดสินใจ โดยทํางานร่วมกับ รัฐสภายุโรปในการออกกฎหมาย และมีอํานาจดูแลนโยบาย ต่างประเทศ ความมั่นคง ประกอบด้วย ผู้แทนระ็บรัฐมนตรีของ ประเทศสมาชิกทุกประเทศ โดยผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานคราวละ 6 เดือน และมีประชุมคณะมนตรียุโรป 4 ครั้งต่อปี เพื่อกําหนด นโยบายโดยรวมทั้งหมด |
Counter Trade | หมายถึง การที่ประเทศหนึ่งตกลงซื้อสินค้าจากอีกประเทศหนึ่ง เป็นการตอบแทนที่ประเทศนั้นซื้อสินค้าหรือบริการของตน โดย จุดประสงค์หลักคือ เป็นการช่วยผลักดันการส่งออกสําหรับสินค้าที่ ผลิตได้เกินความต้องการ หรือเป็นกรณีที่ประเทศผู้ซื้อขาดแคลน เงินตราต่างประเทศสกุลหลัก หรือเป็นกรณีที่มีปัญหาไม่สามารถ ทําการซื้อขายกันได้ตามช่องทางตลาตปกติ การค้าต่างตอบแทนมี หลายวิธี แต่จะกล่าวถึงเฉพาะวิธีที่ไทยคนเศยคือ • การแลกเปลี่ยนสินค้า (BARTER) วิธีนี้เป็นวิธีขั้นปฐมคือ การใช้สินค้าแลกสินค้า หรือใช้สินค้าเป็นตัวชําระค่าสินค้า ที่ซื้อจาก อีกประเทศหนึ่ง เช่น ประเทศ ก. ใช้น้ํามันแลกข้าว หรือใช้น้ํามัน ชําระค่าข้าว เป็นต้น • การซื้อต่างตอบแทน (COUNTER PURCHASE) เป็นกรณี ที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการไปยังอีกประเทศหนึ่ง ตกลงที่จะซื้อสินค้า ตามที่กําหนดจากประเทศที่ตนขายสินค้าหรือบริการ • การซื้อกลับ (Buyback) คือ กรณีที่ผู้ขายอุปกรณ์ เครื่องจักรเครื่องมือที่ใช้ผลิตสินค้า ตกลงที่จะซื้อสินค้าที่ผลิตจาก อุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือที่ซื้อจากตนเป็นการตอบแทน • ออฟเซท (OFFSET) เป็นการซื้อ-ขายที่ไม่ต้องใช้การชําระเงิน แต่ใช้การหักทอนบัญชีหรือหักกลบลบหนี้ |
Countertrade transaction | หมายถึง มาตรการการค้าต่างตอบแทน เป็นระบบการค้า ระหว่างประเทศที่ตกลงชําระราคาสินค้าหรือบริการ (ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน) เป็นสินค้าหรือบริการหรือประโยชน์อื่น ซึ่งเป็น ที่ยอมรับทั่วไปว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแทนการใช้ เงินตราต่างประเทศ |
Countervailing Duty | หมายถึง ภาษีตอบโต้การอุดหนุน ซึ่งประเทศสมาชิก WTO สามารถเรียกเก็บจากสินค้านําเข้าได้หากสามารถพิสูจน์ได้ว่าสินค้า นั้นได้รับการอุดหนุน และก่อให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรม ภายในของประเทศตน |
Countervailing Measures | หมายถึง มาตรการตอบโต้การอุดหนุน ซึ่งประเทศผู้นําเข้า สามารถดําเนินการได้ หากพิสูจน์ได้ว่าอุตสาหกรรมในประเทศได้รับผลกระทบหรือได้รับความเสียหายจากสินค้านําเข้า ที่มีการใช้การอุดหนุน ทั้งนี้ การดําเนินมาตรการตอบโต้การอุดหนุนจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรตอบโต้การอุดหนุนของ WTO ตัวย |
COW | Committee of the Whole หมายถึง การประชุมคณะกรรมการรายสาขาด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสทั้ง 3 เสาประชาคมอาเซียน (การเมืองและความมั่นคง / เศรษฐกิจ / สังคมและวัฒนธรรม) ตลอดจนองค์กรรายสาขาด้านเศรษฐกิจของอาเซียนทั้ง 23 สาขา เพื่อบูรณาการทำงานของอาเซียนระหว่างกลุ่มต่างๆ |
CPC | Central Product Classification หมายถึง ระบบการจําแนกประเภทสินค้า บริการ และสินทรัพย์ ที่องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้จัดทําขึ้น เพื่อให้ประเทศต่างๆ ใช้เป็นกรอบ (Framework) ในการจัดทําสถิติระหว่างประเทศเกี่ยวกับสินค้า บริการและสินทรัพย์ โดยยึดคํานิยามหรือคําจํากัดความที่ได้ให้ไว้ไปใช้กับประเทศในทางเปรียบเทียบระหว่างประเทศกันได้ |
CRPS | Customs Reference Price System หมายถึง ระบบการใช้ราคาอ้างอิงในการประเมินราๆษีศุลกากร เป็นการใช้ข้อมูลราคาสินค้านําเข้าที่ศุลกากรรวบรวมและจัดทําขึ้น เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกับราศาที่ผู้นําเข้าส์แต่งสําหรับเสียภาษีศุลกากร เพื่อพิจารณาว่าราคาสินค้าที่ผู้นําเข้าสําแดงนั้นต่ํากว่า ราคาที่ควรจะเป็นหรือไม่ ในกรณีที่พบว่าราศาสําแตงอาจต่ํากว่า ความเป็นจริง ศุลกากรอาจขอข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้นําเข้าเพื่อนํามา ประเมินราคาสินค้าเพื่อเสียภาษีศุลกากรได้ใหม่ อย่างไรก็ตาม ศุลกากรไม่สามารถใช้ราคาที่ศุลกากรมีอยู่มาใช้เป็นราคาในการ ประเมินภาษีศุลกากรได้ทันที แต่จะต้องประเมินราคาศุลกากรของ WTO (Agreement on Implementation of Article VII of the General Agreement on Tariffs and Trade 1994) |
CT | Committee on Trade and Investment หมายถึง คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุนของเอเปค (APEC) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2536 ซึ่งเป็นผลจากการประชุมรัฐมนตรี เอเปค ในการเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการอํานวยความสะดวก ทางการค้าและบริการระหว่างสมาชิก มีหน้าที่ในการประสานงาน ของเอเปค เพื่อนําไปสู่การทําหน้าที่ในการวางแผนกํากับดูแล Committee on Trade and Investment หมายถึง คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุนของเอเปค (APEC) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2536 ซึ่งเป็นผลจากการประชุมรัฐมนตรี เอเปค ในการเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการอํานวยความสะดวก ทางการค้าและบริการระหว่างสมาชิก มีหน้าที่ในการประสานงาน ของเอเปค เพื่อนําไปสู่การทําหน้าที่ในการวางแผนกํากับดูแลติดตาม และให้ข้อเสนอแนะการดําเนินงาน ความร่วมมือ ด้านการเปิดเสรีและการอํานวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนตามแผนปฏิบัติการโอชากาของเอเปค |
CTC | Change in Tariff Classification หมายถึง การเปลี่ยนพิกัดศุลกากร เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการ พิจารณาว่ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพอย่างเพียงพอหรือไม่ การเปลี่ยนพิกัดศุลกากร ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ได้แก่ 1. การเปลี่ยนตอน (Change of Chapterะ CC) หมายถึง การ แปรรูปที่ทําให้พิกัตตอน (chapter) ของสินค้าที่ผลิตได้เปลี่ยนจาก พิกัดของวัตถุดิบ 2 การเปลี่ยนประเภทของพิกัด (Change of Tarif Heading CTH) หมายถึง การแปรรูปที่ทําให้พิกัตจากประเภทพิกัด (Heading) หนึ่งของวัตถุดิบไปเป็นผลิตภัณฑ์ในอีกประเภทพิกัดที่แยกออกมา (Split Heading]* จากอีกประเภทพิกัดหนึ่ง 3. การเปลี่ยนประเภทพิกัดที่แยกออกมา (Change of Tariff Split Heading: CTHS) หมายถึง การแปรรูปที่ทําให้พิกัดเปลี่ยนจาก วัตถุตบในประเภทพิกัดที่แยกออกมา ไปเป็นสินค้าในประเภทพิกัดที่ แยกออกมาอื่นๆ ของประเภทพิกัดเดียวกัน 4. การเปลี่ยนระบบย่อย (Change of Tariff Subheading CTSH) หมายถึง การแปรรูปที่ทําให้ประเภทพิกัดย่อย (Subheading) ของวัตถุดิบแตกต่างกับประเภทพิกัดย่อยหนึ่งของสินค้า 5. การเปลี่ยนประเภทพิกัดย่อยที่แยกออกมา (Change of Tariff Split Subheading: CTSHS) หมายถึง การแปรรูปที่ทําให้ พิกัดเปลี่ยนจากประเภทพิก็ดย่อยที่ถูกแยกออกมาไปยังประเภท พิกัดย่อยที่ถูกแยกออกมาอื่นๆ ของประเภทพิกัดย่อยเดียวกัน *ประเภทพิกัดที่แยกออกมา (Split Heading) หมายถึง สินค้าที่จัดอยู่ใน ประเภทพิกัด (Heading) เดียวกัน แต่ในการพิจารณาจัดทํากฎ จะแยกสินค้า เหล่านี้ออกเฉพาะแต่ละชนิด เนื่องจากมีความจําเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ในการ กําหนดีถิ่นกําเนิดสินค้าที่แตกต่างกันเพื่อให้มีความชัดเจน ซึ่งประเภทพิกัดที่ แยกออกมานี้ จะนําหน้าพิกัดด้วย “ex” เช่นประเภท 50.06 (ด้ายไหมและด้าย ที่ปั่นจากเศษไหม เพื่อการขายปลีก รวมทั้งไส้ตัวไหม) แยกออกเป็น Ex 50.06 (a) ไส้ตัวไหม, Ex 50.06 (b) ด้ายไหม (นอกเหนือจากด้ายที่ปั้นจากเศษไหม) เพื่อการค้าปลีก ผ่านกระบวนการ, Ex 50.06 (c) ด้ายไหม (นอกเหนือจากฝ่าย ที่ปั่นจากเศษไหม) เพื่อการขายปลีก เส้นเดียวหรือเส้นควบ หรือเคเบิล หรือ ได้ที่ถูกหุ้ม พิมพ์ย้อมสีและ Ex 50.06 (d) อื่นๆ |
CTES | Committee on Trade in Financial Services หมายถึง คณะกรรมการว่าด้วยการค้าบริการด้านการเงินเป็น องค์กรย่อยรายใต้คณะมนตรีว่าด้วยการค้าบริการ (CTS) |
CTFS | Committee on Trade in Financial Services หมายถึง คณะกรรมการว่าด้วยการค้าบริการด้านการเงิน เป็นองค์กรย่อยภายใต้คณะมนตรีว่าด้วยการค้าบริการ (CTS) |
CTS | Council for Trade in Services หมายถึง คณะมนตรีว่าด้วยการค้าบริการ อยู่ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) |
CTTE | Counter Terrorism Task Force หมายถึง ศิณะทํางานตนการต่อต้านการก่อการร้ายซองเฮเปค จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 โดยเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการระบุและประเมินความต้องการเกี่ยวกับ การต่อต้านการก่อการร้าย หรือการเสริมสร้างขีดความสามารถด้าน การต่อต้านการก่อการร้ายอีกทั้งประสานงานกับคณะทํางานต่างๆ ของเอเปค และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง |
Customs Union | หมายถึง สหภาพศุลกากร เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่ง อันเกิดจากข้อตกลงระหว่างรัฐบาลตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไป ซึ่งเป็นการ ขยายรูปแบบของเขตการค้าเสรีออกไปโดยประเทศภาคี นอกจาก จะยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรและการใช้มาตรการจํากัดทางการค้า ระหว่างกันแล้ว ยังมีการกําหนดอัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจาก สินค้านําเข้าจากประเทศอื่นๆ ที่มิได้เป็นภาคีในอัตราเดียวกันด้วย |
Customs Valuation | หมายถึง การประเมินราคาศุลกากร เป็นวิธีการที่ศุลกากรใช้ ประเมินราคาสินค้านําเข้าเพื่อใช้เป็นฐานในการคํานวณภาษีนําเข้า ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการประเมินราคาศุลกากร (Agreement on Implementation of Article Vll of the GAIT 1994) ของ WTO ที่ ประเทศสมาชิก WTO ต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้การประเมินราคา ศุลกากรมีความเป็นธรรมและมีหลักการเดียวกัน ซึ่งหลักการพื้นฐาน ตามความตกลงดังกล่าว คือ ให้ถือราคาซื้อขายจริงเป็นราคาศุลกากร ของสินค้านําเข้าระหว่างผู้นําเข้าและผู้ส่งออก หากศุสกากรสงสัย ในราคาซื้อขายจริงก็ต้องใช้วิธีการประเมินตามลําดับ ดังนี้ 1) ราคาซื้อขายของที่เหมือนกัน 2) ราคาซื้อขายของที่คล้ายกัน 3) ราคาหักทอน 4) ราคาคํานวณ 5) ราคาย้อนกลับ คือการกลับไปเริ่มใช้ราคาซื้อขายจริงเรียงลําดับ มาที่ราคาคํานวณ โดยให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น |
DAEs | Dynamic Asian Economies หมายถึง กลุ่มประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย |
DDU | Delivered Duty Unpaid หมายถึง ผู้ขายมีภาระรับผิดชอบในการส่งมอบของ ณ สถานที่ ที่ระบุไว้ในราชอาณาจักร โดยผู้ขายต้องรับภาระค่าใช้จ่าย และ ความเสี่ยงภัยทั้งปวงในการขนส่งนั้น ตั้งแต่ประเทศผู้ขายจนถึง สถานที่ตั้งกล่าว แต่ไม่รวมค่าอากร ค่าภาษี และค่าธรรมเนียม ทางราชการ อันเนื่องจากการนําของเข้า รวมทั้งค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นจากผู้ซื้อไม่สามารถนําของออกจาก ศุลกากรได้ทันเวลา |
De minimins | หมายถึง จํานวนที่น้อยมากจนไม่เข้ามาประกอบการพิจารณา ถิ่นกําเนิดสินค้า เช่น วัตถุดิบที่นําเข้าจากต่างประเทศที่ไม่สอดคล้อง กับกฏว่าด้วยถิ่นกําเนิดสินค้าจะไม่ถูกนํามาพิจารณา ถ้าวัตถุดิบนั้น มียอดรวมไม่เกินร้อยละ 10 ของสินค้านั้น โดยมูลค่าหรือน้ําหนัก หรือปริมาตรตามที่กําหนด |
De minimis | การอุดหนุนภายในที่มีผลต่อการบิดเบือนการค้าน้อย หรืออาจไม่มีผลต่อการบิดเบือนเลย ซึ่งเป็นจำนวนที่อนุญาตให้ประเทศสมาชิกให้การอุดหนุนได้ โดยแบ่งเป็นการอุดหนุนแบบเฉพาะเจาะจง (Product-specific Domestic Support) ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วอุดหนุนได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของมูลค่าการผลิต (Value of Production: VoP) ของสินค้านั้นๆ ในปีที่ให้การอุดหนุน และร้อยละ 10 สำหรับประเทศกำลังพัฒนา และการอุดหนุนแบบไม่เจาะจง (Non-product-specific Domestic Support) ประเทศพัฒนาแล้วอุดหนุนได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของ VoP ของสินค้าเกษตร และร้อยละ 10 สำหรับประเทศกำลังพัฒนา) |
Debt Crisis | หมายถึง วิกฤตการณ์ ชําระหนี้ สถานการณ์ที่รัฐบาล บางประเทศ เช่น บราซิล เม็กซิโก และประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า อื่นๆ เป็นหนี้มากกว่าความสามารถของระบบเศรษฐกิจที่จะ ชําระคืนได้ ทําให้เกิดหนี้สะสมอย่างน่าวิตก |
Deficiency payment | หมายถึง การอุดหนุนภายในรัฐบาลประเภทหนึ่ง ซึ่งรัฐบาล เป็นผู้จ่ายให้กับผู้ผลิตขึ้นกับความแตกต่างระหว่างราคาเป้าหมาย (target price) และราคาภายในประเทศ (domestic price) หรือ อัตราการกู้ยืม loan rate) แล้วแต่ราคาใดจะต่ํากว่า |
DEPA and DEA |
Digital Economy Partnership Agreement (DEPA) และ Digital Economy Agreement (DEA) หรือความตกลงหุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นความตกลงด้านเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีประเด็นครอบคลุมด้านเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างกว้างขวาง รวมถึงประเด็นเทคโนโลยีอุบัติใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเชื่อมั่น (trust) ให้แก่ผู้บริโภคออนไลน์ การอำนวยความสะดวกด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือการค้าดิจิทัล และการพัฒนาความร่วมมือ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องระหว่างภาคี ทั้งนี้ ความตกลง DEPA เป็นความตกลงในรูปแบบพหุภาคี (plurilateral agreement) ริเริ่มโดยสิงคโปร์ ชิลี และนิวซีแลนด์ และความตกลง DEA เป็นความตกลงในรูปแบบทวิภาคี (bilateral agreement) |
DESG | Digital Economy Steering Group หรือกลุ่มขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล หมายถึง กลุ่มที่จัดตั้งเพื่อหารือและส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเน้นความร่วมมือด้านการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางนโยบาย กฎหมาย และกฎระเบียบในภูมิภาคเอเปค รวมถึงการเสริมสร้างความร่วมมือและศักยภาพของประเทศสมาชิกในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอุบัติใหม่ (Emerging technology) |
Devaluation | หมายถึง การลดค่าเงินเมื่อเทียบกับทองคํา หรือเป็นภาวะการ ขึ้นราคาของเงินตราต่างประเทศ หรือการปรับอัตราแลกเปลี่ยน ทางการให้สูงขึ้นในระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ จะมีผลทําให้ สินค้าออกของประเทศนั้นราศาถูกลง แต่สินค้าเข้ามีราคาสูงขึ้น เป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการแก้ปัญหาดุลการชําระเงิน |
Development Bank | หมายถึง ธนาคารเพื่อการพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อรับ ความเสี่ยงในการให้สินเชื่อประเภทที่สถาบันการเงินอื่นๆ ยังไม่พร้อม ที่จะรับได้ |
DG AGRI | กรรมาธิการยุโรปด้านการเกษตรและการพัฒนาชนบท (Commissioner for Agriculture: DG AGRI) เป็นหน่วยงานภายใต้คณะกรรมมาธิการยุโรป รับผิดชอบด้านการเกษตร การพัฒนาชนบทและนโยบายการเกษตรร่วม (Common Agricultural Policy: CAP) |
DG ENV | กรรมาธิการยุโรปด้านสิ่งแวดล้อม ทะเล และประมง (Commissioner for Evironment, Oceans and Fisheries: DG ENVI) เป็นหน่วยงานภายใต้คณะกรรมมาธิการยุโรป รับผิดชอบด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ทะเล และประมง |
DG SANTE | กรรมาธิการยุโรปด้านสุขภาพและความปลอดภัยอาหาร (Commissioner for Health and Food Safety: DG SANTE) เป็นหน่วยงานภายใต้คณะกรรมมาธิการยุโรป รับผิดชอบด้านสุขภาพและความปลอดภัยอาหาร |
DG TRADE | กรรมาธิการยุโรปด้านการค้า (Commissioner for Trade: DG Trade) เป็นหน่วยงานภายใต้คณะกรรมมาธิการยุโรป รับผิดชอบด้านนโยบายและความตกลงที่เกี่ยวข้องกับการค้ากับประเทศที่อยู่นอกสหภาพยุโรป |
Dialogue Partners | หมายถึง ประเทศคู่เจรจากับประเทศในกลุ่ม ASEAN ซึ่งได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน สหภาพยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐ เกาหลี นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐฯ ปากีสถาน CER+3(จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) UNDP (ม.ย. 2550) |
Direct Payment | หมายถึง มาตรการอุดหนุนภายในประเทศของรัฐที่ให้เงินช่วย เหลือแก่เกษตรกรโดยตรง |
Discount rate Policy | หมายถึง การกําหนดราคาซื้อสด เป็นเครื่องมือของธนาคารกลาง ในการควบคุมปริมาณเงิน โดยอัตราซื้อลตหรืออัตราธนาคาร (Bank Cate) คืออัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางศิตจากธนาคารพาณิชย์ เพื่อ เปลี่ยนแปลงเงินสดสํารองส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ |
Discriminatory Tariff | หมายถึง อากรเลือกปฏิบัติที่เก็บภาษีนําเข้าจากประเทศหนึ่ง สูงกว่าอีกประเทศหนึ่ง การกระทําเช่นนี้เป็นการละเมิต MEN และ เป็นข้อห้ามของสมาชิก WTO ยกเว้นในกรณีพิเศษ เช่น ภาษีอากร ต่อต้านการทุ่มตลาด |
Doha Development Agenda |
หมายถึง การเจรจารอบใหม่ของ WTO เริ่มขึ้นเมื่อการประชุมระดับรัฐมนตรีของ WTO ครั้งที่ 4 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ โดยมีสาระการเจรจาครอบคลุมเรื่องการเปิดตลาดสินค้าและบริการ และการปรับปรุงกฎเกณฑ์การค้าให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น โดยมุ่งให้ผลการเจรจาสะท้อนถึงมิติด้านการพัฒนาด้วย ทั้งนี้ สมาชิก WTO มีเป้าหมายที่จะให้การเจรจาเสร็จสิ้นภายในปี 2547 แต่ถึงปัจจุบัน (พฤศจิกายน 2565) การเจรจา ก็ยังไม่สามารถสรุปผลได้ |
Domestic Content Protection | หมายถึง การใช้นโยบายทางการค้า เช่น ข้อกําหนดเกี่ยวกับ การใช้วัสดุอุปกรณ์ภายในประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากปัจจัยในการผลิตภายในประเทศ ทําได้ทั้งในแบบของ การผลิตโดยตรง หรือผ่านวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต |
Domestic content requirement Co | หมายถึง ข้อกําหนดให้สินค้าที่จะนํามาขายในประเทศจะต้อง มีมูลค่าสินค้าภายในประเทศในระดับหนึ่ง เช่น หากจะนํารถยนต์ มาขายในประเทศไทย จะต้องมีมูลค่าสินคาวัตถุดิบที่ผลิตใน ประเทศไทยในระดับหนึ่ง |
Domestic Support | หมายถึง การอุดหนุนภายในหรือมาตรการที่เป็นการช่วยเหลือผู้ผลิต/เกษตรกร ครอบคลุมการอุดหนุนโดยตรงและโดยอ้อมสำหรับเกษตรกรภายในประเทศตัวอย่างการอุดหนุนภายใน ได้แก่ การประกันราคาสินค้าเกษตร การประกันรายได้เกษตกรที่เกื่ยวเนื่องกับผลผลิต หรือโครงการจำนำผลผลิตสินค้าทางการเกษตร |
DTP | Declared transaction price หมายถึง ราคาซื้อขายของสินค้าที่นําเข้าที่ผู้นําเข้าสําแดง เป็น ราคาสินค้านําเข้าที่ผู้นําเข้าสําแดงเพื่อใช้ในการประเมินภาษีศุลกากร โดยราคาดังกล่าวจะต้องเป็นราคาตามที่ผู้นําเข้าได้จ่ายไปจริง ให้ผู้ขายหรือผู้ผลิตในต่างประเทศ ซึ่งราคาซื้อขายนี้จะต้องรวมถึง ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม หรือต้นทุนต่างๆ ที่ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระ เช่น ค่านายหน้าจากการขาย ค่าภาชนะบรรจุ รวมทั้งค่าวัสดุ ชิ้นส่วน ส่วนประกอบ เครื่องมือ แม่พิมพ์ แบบพิมพ์ ของใช้สิ้นเปลือง และ แบบแปลน ภาพร่างที่ผู้ซื้อสินค้าจัดหาไปให้ผู้ขายหรือผู้ผลิตโดย ไม่คิดราคาหรือลดราคาให้ นอกจากนี้ยังให้รวมค่าใบอนุญาต ค่าสิทธิ ค่าธรรมเนียม ที่ผู้ซื้อจ่ายให้ผู้ขายหรือให้กับบุคคลที่สามด้วย ทั้งนี้ มีเงื่อนไขที่ศุลกากรจะรับราคาซื้อขายดังกล่าว ดังนี้ (1) ไม่มีข้อจํากัดในการจําหน่ายหรือใช้ของโดยผู้ซื้อ (2) ต้องไม่ขึ้นกับเงื่อนไขหรือผลตอบแทนที่ทําให้ไม่สามารถ กําหนดราคาของที่กําลังประเมินอยู่ (3) ต้องไม่มีส่วนใดๆ ของเงินได้อันเนื่องมาจากการขายหรือ การใช้ของโดยผู้ซื้อ มีผลเพิ่มพูนให้ ผู้ขายไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม (4) ผู้ซื้อและผู้ขายต้องไม่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่มี ผลกระทบต่อราคาซื้อขาย |
Dumping | หมายถึง การทุ่มตลาด เป็นการที่ผู้ส่งออกของประเทศหนึ่งส่ง สินค้าออกไปจําหน่ายในประเทศของตนหรือในราคาที่ต่ํากว่าต้นทุน การผลิตส่งสินค้าออกไปขายในต่างประเทศ (Export Price) ในราคา ที่ต่ํากว่าราคาที่ขายภายในประเทศของตน (Normal Value) |
Duty Drawback Scheme | หมายถึง รูปแบบหนึ่งของภาษีที่เก็บกับสินค้าข้ามพรมแดน โดย จะได้รับการคืนภาษีสินค้านําเข้าเมื่อสินค้านั้นถูกนํามาส่งออกต่อ (re-export) โดยอาจจะคืนเต็มจํานวนหรืออาจคืนเป็นเพียงบางส่วน แนวคิดหลักคือ การพยายามที่จะลดภาระของผู้ส่งออกใน ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาระดับภาษีที่จะทําให้มีรายได้หรือ เพื่อเป็นมาตรการปกป้องทางการค้า มีความหมายเหมือนกับคําว่า Temporary Admission |
EABA | สมาคมธุรกิจ Europe ASEAN Business Alliance เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์สมาชิกประกอบด้วยบริษัทชั้นนำของยุโรปที่สนใจลงทุนในอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ของภาคธุรกิจยุโรปที่ดำเนินการในอาเซียนเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวความคิดต่างๆ ระหว่างสมาชิก รวมถึงเป็นเวทีในการหารือกับรัฐบาลและองค์กรท้องถิ่นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจยุโรปในอาเซียน |
EABC |
สมาคมการค้ายูโรเปียนเพื่อธุรกิจและการพาณิชย์ (European Association for Business and Commerce: EABC) EABC เป็นสมาคมธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 โดยความร่วมมือของหอการค้ายุโรปและองค์กรภาคธุรกิจทั้งที่อยู่ในไทยและยุโรป 16 แห่ง ร่วมกับนักธุรกิจยุโรปในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผนึกกำลังและทรัพยากรของภาคเอกชนยุโรปให้เป็นหนึ่งเดียวในการสร้างความเข้มแข็ง ตลอดจนช่วยเหลือและส่งเสริมบรรยากาศทางการค้าการบริการและการลงทุนให้กับบริษัทจากยุโรปในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและคาดหวัง ที่จะใช้ไทยเป็นประตูการค้าสู่ภูมิภาคอาเซียน |
EABC (2) |
East Asia Business Council สภาธุรกิจเอเชียตะวันออก เริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2547 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยเป็นข้อเสนอของกลุ่มศึกษาเอเชียตะวันออก ซึ่งต่อมาได้รับความเห็นชอบจากผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2546 สภาธุรกิจเอเชียตะวันออกประกอบด้วยสมาชิก ได้แก่ ตัวแทนผู้นำทางธุรกิจในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสาม ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีเศรษฐกิจ EABC มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนในประเทศสมาชิกบวกสาม ตลอดจนส่งเสริมการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค รวมถึงการเสนอมุมมองและข้อเสนอแนะจากภาคเอกชนเพื่อกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ |
EAC | Eastern Africa Community หมายถึง ประชาคมแอฟรึกาตะวันออก เป็นการรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ของกลุ่มประเทศในแอฟริกาตะวันออก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1993 ปจจุบันมีประเทศสมาชิก 5 ประเทศ คือ เคนยา ยูกันดา และแทนซาเนีย สํานักงานใหญ่อยู่ ณ เมือง Arusha ประเทศแทนซาเนีย ประเทศสมาชิก EAC ได้จัดตั้งสภาศุลกากร (Customs Union) เมื่อปี 2005 และมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งตลาดร่วม (Common Market) ในปี 2010 หลังจากนั้นจะจัดตั้งสหภาพ การเงิน และมีเป้าหมายสุดท้ายที่จะเป็นสหภาพทางการเมือง (Political Federation of the East African States) |
EAEC |
East Asia Economic Caucus หมายถึง กลุ่มเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก โดยมาเลเซียเป็น ผู้เสนอแนวคิดในการจัดตั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวที่หารือหลวม ๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออก รวมทั้งเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทาง เศรษฐกิจและช่วยเหลือประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าภูมิภาค ปัจจุบัน ยังไม่มีแนวทางการจัดตั้งที่ชัดเจน |
EAEU | สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Union: EAEU) เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ มีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย คาซัคสถาน เบลารุส อาร์เมเนีย และคีร์กีซสถาน |
EAFTA | East Asia Free Trade Area หมายถึง เขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก โดยความคิดเริ่มต้น การจัดตั้ง EAFTA เกิดจากการประชุม ASEAN+3 ครั้งที่ 8 ณ กรุง เวียงจันทร์ ประเทศ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ซึ่งมีการหารื้อศิวามเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีดังกล่าว ประกอบด้วย อาเซียน จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ในขณะที่ ญี่ปุ่นโดยการสนับสนุนของอินโดนีเซียและสิงคโปร์ผลักดันให้รวม อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เข้าอยู่ใน EAFIA ด้วย โดยเรียกว่า Closer Economic Partnership in East Asia (CEPEA) เพื่อ ถ่วงดุลอํานาจกับจีน |
Early Harvest | หมายถึง การให้สิทธิประโยชน์ในด้านที่มีความพร้อมก่อน ในการเจรจาเป็ดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศอาจมีการให้ สิทธิประโยชน์ระหว่างกันในด้านที่มีความพร้อมก่อนการเปิดเสรี สําหรับสินค้าทั้งหมด โดยทั่วไปจะเป็นการลดภาษีสินค้าระหว่างกัน ก่อนการเจรจาเสร็จสิ้น แต่ในบางกรณีอาจมีการตกลงจัดทําโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สําคัญควบคู่ไปด้วย |
EAS | East Asia Summit หมายถึง การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก เกิดขึ้นจากการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 เมื่อปี 2547 ซึ่งผู้นําอาเซียน+3 เห็นพ้องว่า การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (EAC) เป็นเป้าหมายระยะยาวของกรอบอาเซียน+3 และเห็นควรให้มีการจัดประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออก (EAS) ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2548 ที่มาเลเซีย โดยมี 16 ประเทศเข้าร่วม ได้แก่ อาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยมีการลงนามปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (Kuala Lumpur Declaration on the East Asia Summit) ซึ่งกําหนดให้ EAS เป็นเวทีสําหรับการหารือประเด็นทางยุทธศาสตร์การเมือง และเศรษฐกิจที่เปิดกว้างและครอบคลุม ปัจจุบัน กรอบ EAS ประกอบด้วย 18 ประเทศเข้าร่วม โดยเพิ่มสหรัฐอเมริกา และรัสเซีย |
EC | East Asia Community หมายถึง ประชาคมเอเชียตะวันออก เป็นเป้าหมายระยะยาว ของกรอบความร่วมมืออาเซียน+3 |
EC | Economic Committee หมายถึง การศึกษาวิจัยแนวโน้มทางเศรษฐกิจและประเด็น ด้านเศรษฐกิจต่างๆ ที่เอเปคให้ความสําคัญและยังเป็นเวทีการ แลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นของสมาชิกเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค |
ECCAS | Economic Community of Central African States หมายถึง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศแอฟริกากลาง ก่อตั้งเมื่อ 18 ตุลาคม 1983 และมีผลบังคับใช้ในปี 1985 มีประเทศ สมาชิก 11 ประเทศ ประกอบด้วย แองโกลา บุรุนรี แคเมอรูน แอฟริกากลาง ชาต คองโก สปป.คองโก อีควอเรียวกินี กาบอง รวันดา เซาโตเมและปรินซิเป โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชากรและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อก้าวสู่ การเป็นตลาดรวมแอฟริกากลาง (Central African Common Market) ตั้งแต่ปี 1992 ECCAS ไม่มีความคืบหน้าการจัดตั้ง ตลาดร่วม เนื่องจากวิกฤตด้านการเงินของประเทศสมาชิก อย่างไรก็ตาม ECCAS เป็นหนึ่งในเสาหลักของประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกา |
ECDC | Economic Cooperation among Developing Countries หมายถึง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระหว่างประเทศกําลัง พัฒนา หรือ South-South Cooperation |
ECE | Economic Commission for Europe หมายถึง คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งยุโรป ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2490 โดยคณะรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจและสังคมขององค์การ สหประชาชาติ เพื่อส่งเสริมและแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและ เทคโนโลยีของประเทศยุโรปทุกประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและ แคนาดา โดยผู้แทนของประเทศต่าง ๆ จะศึกษาปัญหาต่าง ๆ และจัด ทําข้อเสนอแนะในการแก้ไข ECE จัดประชุมสุดยอดครั้งแรกเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 ประเทศอิหร่าน |
Economic Integration | หมายถึง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ โดยการที่รัฐบาลประเทศ ตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไปตกลงนําระบบเศรษฐกิจของตนมาเชื่อมกัน เพื่อเสริมสร้างและรักษาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยการยกเลิกการเรียกเก็บภาษีศุลกากรและมาตรการอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้า ให้แก่กันและกัน รวมทั้งอาจใช้นโยบายต่างๆ ร่วมกัน การรวมกลุ่ม ทางเศรษฐกิจอาจจําแนกออกได้หลายรูปแบบ เช่น เขตการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดรวม และสหภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น |
Economic Union | หมายถึง สหภาพเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ รูปแบบหนึ่งอันเกิดจากข้อตกลงระหว่างรัฐบาลตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไป ซึ่งเป็นการขยายรูปแบบของตลาดร่วมออกไป โดยประเทศภาคี ยังตกลงประสานนโยบายเศรษฐกิจต่างๆ เป็นนโยบายเดียวกัน เช่น นโยบายด้านการเงิน การคลัง การผลิตสินค้าและบริการต่างๆ |
ECOTECH | Economic and Technical Cooperation หมายถึง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการเป็นหนึ่งใน 3 กิจกรรมหลักของเอเปค โดยอีก 2 กิจกรรม คือ การเปิดเสรีและ อํานวยความสะดวกด้านการค้าและการสิงทุน โดยเน้นการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์และตลาดทุน ปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การนําเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ การป้องกันคุณภาพชีวิตมนุษย์และ พัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม |
ECOWAS | Economic Community of West Africa States หมายถึง ประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตกเป็น การรวมตัวด้านเศรษฐกิจและสังคม เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 1975 มีสมาชิก 15 ประเทศ ประกอบด้วย เบนิน โตโก โกดิวัวร์ ไนเจอร์ บูกินาฟา โซมาลี เซเนกัล กินีบิเซา กานา ไนจีเรีย เคปเวอร์ท แกมเบีย ไลบีเรีย กินี และเซียร์ราสโอน ECOWAS มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ การค้าในตานที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรม คมนาคม โทรคมนาคม พลังงาน เกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ การค้าและการเงิน รวมทั้งด้านสังคมและด้านวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ มีเป้าหมายเพื่อจัดตั้งตลาดร่วม (Common Market) และใช้เงินสกุลเดียว (Single currency) และมีเป้าหมาย สูงสุดเพื่อจัดตั้งสหภาพเศรษฐและการเงิน ภายในปี 2020 ซึ่ง ECOWAS เป็น 1 ใน 5 เสาหลักของประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกา |
ECSC | European Coal and Steel Community หมายถึง ประชาคมถ่านหินและเหล็กยุโรป จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการรวมตัวกันของประเทศผู้ผลิ้ต ถ่านหิน และเหล็กในยุโรป ประชาคมนี้เป็นก้าวแรกของการรวมตัวกัน ของประชาคมยุโรป |
ECSG | Electronic Commerce Steering Group หมายถึง กลุ่มที่จัดตั้งเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยสร้างสภาพแวดล้อมทางนโยบายกฎหมาย และกฎระเบียบในภูมิภาคเอเปคที่เอื้อต่อการดําเนินการดังกล่าว |
ECU | European Currency Unit หมายถึง หน่วยเงินตรายุโรป ซึ่งเป็นระบบตะกร้าเงินที่นําเงิน สกุลต่างๆ ของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปมาถ่วงน้ําหนัก และใช้ เป็นสกุลเงินอ้างอิงในการดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศสมาชิก รวม ทั้งใช้เป็นหน่วยเทียบค่าในการทําบัญชีของสหภาพยุโรปด้วย ทั้งนี้ ECU ได้ถูกยกเลิกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 โดยนําเงินยูโรมาใช้เป็นสกุลเงินร่วมของสหภาพยุโรป |
EDI | Electronic Data Interchange หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยกลุ่ม คณะทํางาน (Working Group) ในโครงการโทรคมมาคมซึ่งเป็น 1 ใน 10 โครงการภายใต้เอเปค การจัดตั้ง EDI ขึ้นเพื่อเป็นหลักฐาน และข้อมูลในการขนส่งสินค้าและการเดินทางของนักท่องเที่ยว |
EDSM | ASEAN Protocal on Enhanced Dispute Settlement Mechanism หมายถึง พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียน เป็นความตกลงที่มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาททางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 |
EEA | European Economic Area หมายถึง เขตเศรษฐกิจยุโรป จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2537 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการรวมตัวเป็นตลาดเดียว และการเปิดเสรีระหว่างสหภาพยุโรป 27 ประเทศ และประเทศสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Area: EFTA) 3 ประเทศ ได้แก่ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ (ยกเว้นสวิตเซอร์แลนด์ที่มีความตกลงแบบทวิภาคีกับสหภาพยุโรป) |
EEC | คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Commission: EEC) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานบริหารของสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย |
EEP | Export Enhancement Program หมายถึง โครงการส่งเสริมการส่งออกของสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯ ให้การอุดหนุนการส่งออกโดยทั่วไป เพื่อที่จะเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขันกับสินค้าที่ได้รับการอุดหนุนการส่งออกจากสหภาพยุโรป |
EFA | European Economic Area หมายถึง หรือเขตเศรษฐกิจยุโรปจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2537 โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการรวมตัวเป็นตลาดเดียวและการเปิดเสรี ระหว่างสหภาพยุโรป 27 ประเทศ และประเทศสมาชิก สมาคม การค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Area : EFTA) ได้แก่ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลึกเตนสไตน์ (ยกเว้นสวิตเซอร์แลนด์) |
EFTA | European Free Trade Association หมายถึง สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดการค้าเสรีบนพื้นฐานแห่งความเป็นธรรมและส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยให้เกิดเสถียรภาพทางการเงิน และยกระดับมาตรฐานการครองชีพอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ มีประชากรรวมกันประมาณ 14.5 ล้านคน |
EHP | Early Harvest Programme หมายถึง การลดภาษีสินค้าล่วงหน้าระหว่างประเทศสมาชิก อาเซียนและจีนก่อนการเปิดเสรีแบบเต็มรูปแบบ โดยเป็นการ ลดภาษีสินค้าล่วงหน้าที่ครอบคลุมการลดภาษีสินค้าภายใต้พิกัด ศุลกากรที่ 01-08 (สินค้าเกษตรไม่แปรรูป) โดยเริ่มลดภาษีตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 และทยอยลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 สําหรับสินค้าที่มีมาตรการโควตาภาษีซึ่งอยู่ภายใต้พิกัดดังกล่าว จะลดภาษีเฉพาะปริมาณที่อยู่ในโควตาเท่านั้น |
EMM | Economic Ministers Meeting หมายถึง การประชุมรัฐมนตรีเอเชีย-ยุโรป หรืออาเซม (ASEM) ภายใต้ความร่วมมืออาเซม เป็นการประชุมเพื่อปรึกษาหารือประเด็น ทางเศรษฐกิจของเอเชีย-ยุโรป การประชุมมีขึ้นครั้งแรกเมื่อ เดือนกันยายน พ.ศ.2540 ณ ประเทศญี่ปุ่น |
EPA | Economic Partnership Agreement หมายถึง พันธมิตรทางเศรษฐกิจ หรืออาจจะหมายถึง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีความหมายเดียวกับ CEP LAY FTA |
EPG | Eminent Persons' Group หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ได้รับการยอมรับอย่างมากในภูมิภาคใต้ ภูมิภาคหนึ่ง เพื่อทําหน้าที่ในการให้ข้อคิดเห็นในประเด็นต่างๆ เช่น The ASEAN Eminent Group ที่ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2548 เพื่อให้ข้อคิดเห็นต่อผู้นํา ASEAN ในเรื่องการจัดทํา ASEAN Charter โดยผู้แทนของไทยในกลุ่มนี้ คือ มรว. เกษมสโมสร เกษมศรี หรือในกรณี APEC ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1992 ณ กรุงเทพฯ และได้ถูกยกเลิกไปในปี 1995 ณ เมืองโอซากา เนื่องจากได้ทํางานเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว |
EPZ | Export Processing Zone หมายถึง เขตนิคมอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออกของนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยให้สิทธิประโยชน์เรื่องการยกเว้น ภาษีนําเข้า และส่งออกของวัตถุดิบ ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์สูงสุดที่ผู้ประกอบการจะได้รับ |
ERIA | Economic Research Institute for ASEAN and East Asia หมายถึง ข้อเสนอของญี่ปุ่นที่ให้มีการจัดตั้งองค์กรในลักษณะ OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) โดยทํางานร่วมกับสํานักเลขาธิการอาเซียน ซึ่งมีหน้าที่ เป็น Policy Recommendation เพื่อรองรับการบูรณาการทาง เศรษฐกิจของอาเซียนอาเซียน+6 และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจใน เอเชียตะวันออก ปัจจุบันมีสํานักงานตั้งอยู่ ณ กรุงจาร์กาตา ประเทศ อินโดนีเซีย |
ESCAP | Economic and Social Commission for Asia and the Pacific หมายถึง คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและ แปซิฟิก เป็นองค์กรถาวรขององค์การสหประชาชาติ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคมระหว่างประเทศ ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 51 ประเทศ สํานักงานตั้งอยู่ ณ กรุงเทพฯ |
EU |
European Union หมายถึง สหภาพยุโรป เป็นพัฒนาการอีกก้าวหนึ่งของการรวมยุโรป เมื่อประเทศสมาชิกประชาคมยุโรปทั้ง 12 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญา Maastricht หรือ The Treaty on European Union เมื่อปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 สนธิสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2536 และเป็นผลให้มีการใช้ชื่อสหภาพยุโรปแทนประชาคมยุโรปตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบัน สหภาพยุโรป มีประเทศสมาชิก 27 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน ไซปรัส เช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย สโลวัก โรมาเนียและบัลแกเรีย |
EU - ABC | สภาธุรกิจสหภาพยุโรป - อาเซียน (the EU - ASEAN Business Council: EU - ABC) ประกอบด้วยบริษัทชั้นนำของสหภาพยุโรปที่เข้ามาลงทุน และประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับจากทั้งคณะกรรมาธิการยุโรปและสำนักงานเลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ EU - ABC มีวัตถุประสงค์หลักในการสนับสนุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการค้าการลงทุนระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป |
EU Green Deal | เป็นนโยบายหลักในภาพรวมของ EU ประกาศเมื่อเดือนธันวาคม 2562 มีสาระสำคัญที่ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างน้อย 55% ภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero emissions) ในปี 2593 (ค.ศ. 2050) โดยมีมาตรการในด้านต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เช่น เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ออกกฎหมายปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร และกำหนดว่ารถยนต์ใหม่ที่ขายใน EU ตั้งแต่ปี 2578 (ค.ศ. 2035) เป็นต้นไปจะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เป็นต้น |
EU-FTA | European Union – Free Trade Agreement หมายถึง สหภาพยุโรป - ความตกลงการค้าเสรี ปัจจุบันสหภาพยุโรปใช้นโยบายขยายการจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับประเทศ และกลุ่มประเทศในภูมิภาคต่างๆ อาทิ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ หมู่เกาะฟาโรห์ ฮังการี โปแลนด์ เช็ก สโลวาเกีย บัลกาเรีย โรมาเนีย เอสโทเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย และสโลวีเนีย เป็นต้น |
EURO | หมายถึง เงินยูโร ซึ่งเป็นเงินสกุลกลางของสหภาพยุโรป เป็นผล จากการที่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้ลงนามร่วมในสนธิสัญญา มาสทริซท์ (Maastricht) เพื่อก่อตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน ยุโรป (European Economic and Monetary Union : EMU) ขึ้น โดยเน้นการดําเนินการจัดตั้งระบบเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเปลี่ยนมาใช้เงินสกุลเดียวกันหรือเงิน ยูโร การดําเนินการดังกล่าวได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2542 (ค.ศ.1999) และกําหนดแล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในปี พ.ศ.2545 (ค.ศ.2002) มีประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 11 ประเทศ จากทั้งหมด 15 ประเทศ ที่เป็นสมาชิก EMU ร่วมใช้เงินยูโรหรือเรียกว่า Euro Zone ได้แก่ ประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี้ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกสและสเปน ส่วนประเทศสมาชิกที่ยังไม่เข้าเป็นสมาชิก EMU มี 3ประเทศ คือ ประเทศเดนมาร์ก สวีเดน และอังกฤษ |
Euro Zone | หมายถึง ประเทศที่อยู่ในสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and Monetary Union: EMU) ประเทศในทวีปยุโรปที่เป็นสมาชิก EU ที่ใช้เงินสกุลเดียวกันคือเงินยูโร ปัจจุบันมีอยู่ 19 ประเทศได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม ไซปรัส เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย สโลวีเนีย และสเปน |
Europe |
หมายถึง ทวีปยุโรป มี 28 ประเทศ ประกอบด้วยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 27 ประเทศ และสหราชอาณาจักร สมาชิกสหภาพยุโรป 27 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโทเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวียร์ ลิทัวเนีย ลักแซมเบอร์ก มอลตาร์ เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกต สโลเวเนีย สโลวัก สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักรอังกฤษ โรมาเนีย บัลเกเรีย และส่วนอื่นๆ ของยุโรป ได้แก่ ยุโรปตะวันตก ซึ่ง ประกอบด้วย ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวิสเซอร์แลนต์ และลิเทนสไตน์ และประเทศทางตอนใต้ของยุโรปตะวันออก ประกอบไปด้วย ประเทศแอลเบเนีย บอสเนีย เฮอร์เซโกวีนา โครเอเชีย อดีต ยูโกสลาเวีย มาเซโดเนีย เซอร์เบีย มอนเตเนโกร |
Europe Agreement | หมายถึง ข้อตกลงการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างสหภาพยุโรป กับประเทศต่างๆในกลุ่มประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก |
European Commission | หมายถึง คณะกรรมาธิการยุโรป ชื่อย่อของคณะกรรมาธิการ ประชาคมยุโรป (Commission of the European Communities) เป็นฝ่ายบริหารของประชาคมยุโรปมีหน้าที่เสนอนโยบาย และ มีอํานาจในการร่างกฎหมายติดต่อกับต่างประเทศในฐานะตัวแทน ของประชาคมยุโรป ทั้งนี้จะต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นเอกเทศโดย ไม่รับคําสั่งจากรัฐบาลประเทศของตน |
EWEC | East West Economic Corridor หมายถึง แนวคิดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจตามแนวพื้นที่ เศรษฐกิจตะวันออกและตะวันตกของ GMS (Greater Mekong Subregion) หรือโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง 6 ประเทศ ในส่วนของ EWEC เป็นการ เจาะพื้นที่ (Area Approach) ซึ่งประกอบด้วยประเทศพม่า ไทย สปป.ลาว เวียตนาม กัมพูชา และมณฑลยูนนาน (จีนตอนใต้) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมในเรื่องการค้าและการลงทุน |
EWG | Energy Working Group หมายถึง คณะทํางานด้านพลังงานของเอเปค ก่อตั้งเมื่อปี 2543 เพื่อกําหนดแนวทางในการกระจายผลประโยชน์จากการใช้พลังงาน สู่เศรษฐกิจในภูมิภาค และลดผลกระทบจากการใช้พลังงานต่อ สิ่งแวดล้อม โดยหารือด้านนโยบายพลังงานกับประเทศสมาชิกและ แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการและแหล่งพลังงาน รวมทั้ง ตอบสนองกับเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง |
Ex Post | หมายถึง ผลตอบแทนระยะยาวที่เกิดขึ้นจริงหลังจากที่มาตรการ นํามาใช้ |
Ex-factory cost method | หมายถึง วิธีการคํานวณมูลค่าเพิ่มของสินค้า ซึ่งรวมต้นทุนค่าแรง ค่าใช้จ่ายในการดําเนินธุรกิจ เช่น ค่าน้ํา ค่าไฟ ค่าเช่า (Overhead) และค่าวัสดุ/วัตถุดิบ ที่เกิดขึ้นในประเทศผู้ผลิต (หรือสมาชิกภาคี ความตกลง) |
Ex-factory cost or Ex-works price | หมายถึง ราคาที่ผู้ขายคิตกับผู้ซื้อเมื่อส่งมอบของให้แก่ผู้ซื้อ ณ ที่ทําการของผู้ขาย ซึ่งอาจจะเป็นโรงงาน สํานักงาน โรงพัก สินค้า ฯลฯ ดังนั้น ผู้ขายจึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อการขนของขึ้น ยานพาหนะ และไม่ต้องรับภาระการผ่านพิธีการศุลกากรเพื่อส่งของออกแต่อย่างใด เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น |
Exchange Control | หมายถึง กฎระเบียบเกี่ยวกับการปริวรรตเงินตรา ออกโดย รัฐบาลหรือธนาคารกลางเกี่ยวกับการครอบครอง การซื้อ การขาย เงินตราต่างประเทศ โดยทั่วไปจะใช้ในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ และเมื่อธนาคารกลางไม่สามารถหรือไม่ยินยอมใช้อัตราที่เกิดจากการแทรกแซงของตลาดเงินตรา |
Exhaustion | หมายถึง นโยบายของประเทสที่เกี่ยวกับการปกป้องสินค้านําเข้า จากปัญหาการนําเข้าซ้อน (Parallel import) ภายใต้สิทธิบัตรหรือ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ในส่วนของสิทธิภายในประเทศ สิทธิจะ สิ้นสุดลงเมื่อมีการขายสิทธในสินค้านั้นเป็นครั้งแรกภายในประเทศ และผู้ถือสิทธิอาจป้องกันการนําเข้าที่ไม่ได้รับอนุญาต ภายใต้การ ระงับสิทธิ์ระหว่างประเทศ สิทธิจะสิ้นสุดสงเมื่อมีการขายสิทธิ์ ในสินค้านั้นเป็นครั้งแรกไม่ว่าจะเป็นที่ใดในโลก |
Export subsidies | การอุดหนุน ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม เพื่อส่งเสริมการส่งออกของผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ทั้งการนำเข้าและส่งออก ซึ่งประเทศสมาชิก WTO ควรพยายามหลีกเลี่ยงการอุดหนุนดังกล่าว ตาม Article XVI ภายใต้ความตกลง GATT 1947 |
Fabric-Forward Rule | หมายถึง กฏที่กําหนดว่าสินค้าสิ่งทอต้องทําจากผ้าที่ผลิต ในประเทศที่เป็นภาคีความตกลงการค้าเสรี จึงจะได้รับสิทธิพิเศษ ทางภาษีศุลกากร |
Fast Track | หมายถึง เป็นกฎหมายที่ออกโดยสภาคองเกรส สหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดเป้าหมายและขั้นตอน ในการเจรจา จัดทําความตกลงทางการค้า รวมทั้งกําหนดกลไกในการตรวจสอบ และถ่วงดุลการเจรจา จัดทําความตกลงทางการค้า กฎหมาย ดังกล่าวให้อํานาจอย่างเต็มที่แก่รัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบันเรียกว่า อํานาจในการส่งเสริมการค้า (Trade Promotion authority) |
FDI | Foreign Direct Investment หมายถึง การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เป็นการเข้ามา ถือสิทธิ์หรือเข้ามาลงทุนโดยการซื้อหรือสร้างทรัพย์สินจากประเทศอื่น ในประเทศเจ้าบ้าน (host Country) |
FEALAC |
Forum for East-Asia-Latin America Cooperation หมายถึง เวทีความร่วมมือของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2542 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและพัฒนาความสัมพันธ์ ตลอดจนการแสวงหาลู่ทางในการเกื้อกูลกันจากความร่วมมือทั้งด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ และด้านวิชาการ การประชุม FEALAC เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส FEALAC มีประเทศสมาชิก 30 ประเทศ คือ - ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีประเทศสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน พม่า กัมพูชา จีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สปป.ลาว มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงค์โปร์ไทย และเวียดนาม - ภูมิภาคละติน มีประเทศสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ บราซิล อาร์เจนตินา ปารากวัย อุรุกวัย โบลิเวีย โคลัมเบีย เอลซัลวาดอร์ เปรู เวเนซูเอลา คอสตาริกา เอกวาดอร์ ชิลี คิวบา เม็กซิโก ปานามา |
FEALAC | Forum for East Asia - Latin America Cooperation หรือเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา เดิมมีชื่อว่า East Asia - Latin America Forum (EALAF) หรือ เวทีหารือระหว่างเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2542 ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 36 ประเทศ คือ ฝ่ายเอเชียตะวันออก 16 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน (10 ประเทศ) จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และมองโกเลีย และฝ่ายลาตินอเมริกา 20 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล โบลิเวีย โคลอมเบีย ชิลี สาธารณรัฐโดมินิกัน เอกวาดอร์ เม็กซิโก ปารากวัย เปรู ปานามา เอลซัลวาดอร์ คอสตาริกา คิวบา อุรุกวัย เวเนซุเอลา นิการากัว กัวเตมาลา ฮอนดูรัส และซูรินาเม โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกาในทุกด้าน ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ ฯลฯ |
FIFO | First-in, First-out หมายถึง วิธีหนึ่งของการบริหารสินค้าคงคลัง ซึ่งคํานวณมูลค่า สินค้าจากต้นทุนของสินค้าที่เก่าที่สุดในคลังสินค้า (oldest good in stocks) |
Finance company | หมายถึง บริษัทเงินทุน หรือแหล่งเงินส่วนใหญ่ได้มาจากการ ระดมทุนจากประชาชน โดยผ่านการออกหุ้นกู้หรือตราสารหนี้ต่างๆ ให้สินเชื่อเพื่อจุดมุ่งหมายต่างๆ และเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยจาก ลูกค้าในอัตราสูงกว่า ธนาคารเป็นสถาบันทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร |
Fiscal Policy |
หมายถึง นโยบายการคลังเกี่ยวกับการซื้อ การถ่ายโอนของ รัฐบาล รวมทั้งนโยบายภาษี โดยปกติจะเน้นไปที่สินค้าที่จําหน่ายผู้อาศัย และบริษัทภายในประเทศ |
Fixed cost | หมายถึง ต้นทุนคงที่ เป็นต้นทุนที่บริษัทหนึ่งๆ จ่าย เมื่อบริษัท ผลิตและไม่เกี่ยวกับผลผลิตที่ออกมา เช่น ต้นทุนในการซื้อที่ดินทําโรงงาน ต้นทุนในการสร้างโรงงาน เป็นต้น |
Fixed exchange rate | หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ มีความหมายเดียวกับคําว่า Pegged exchange rate เป็นการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ระหว่างประเทศที่กําหนดค่าเสมอภาค (parity) ของเงินแต่ละสกุลไว้ โดยเทียบกับทองศาหรือเงินดอลลาร์ หรือเงินสกุลหลักอื่นๆ ซึ่งอัตรา แลกเปลี่ยนที่กําหนดไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวขึ้นลง ภายในขอบเขตจํากัด เช่น ก่อนเกิดวิกฤตทางการเงิน อัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทอยู่ที่ประมาณ 26 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น |
FLEGT | กรอบกฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (Forest Law Enforcement, Governance and Trade: FLEGT) เมื่อปี 2546 สหภาพยุโรปประกาศแผนปฏิบัติการ FLEGT ควบคู่กับการจัดทำการเจรจาข้อตกลง VPA กับประเทศที่สนใจเพื่อขจัดปัญหาการทำไม้ผิดกฎหมายและพัฒนาระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายของแหล่งที่มาของไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ |
FOB method | Free on Board หมายถึง วิธีการคํานวณมูลค่าเพิ่มของสินค้า ซึ่งคํานวณมูลค่า ของวัสดุที่ไม่ได้ถิ่นกําเนิดจากราคา FOB ที่นําเข้าวัสดุเหล่านั้น การคิดราคาสินค้าโดยที่ผู้ขายจะชําระค่าใช้จ่ายในการนําสินค้า ไปที่ท่าการขนส่ง และผู้ซื้อจะต้องจ่ายค่าอื่นๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้น หลังจากนั้น เช่น ค่าขนส่งสินค้า ค่าประกัน และค่าส่งสินค้าจากท่า ไปยังโกดัง ฯลฯ - |
Foreign Trade Zone | หมายถึง เขตการค้าต่างประเทศ เป็นเขตที่สินค้านําเข้าสามารถ เก็บไว้ในคลังสินค้าเข้าผ่านกระบวนการต่างๆ โดยไม่ต้องเสียภาษีนําเข้าชื่ออื่นๆ ได้แก่ Free Zone, Free port, หรือ boned Warehouse |
Fourth Industrial Revolution (4IR) | Fourth Industrial Revolution (4IR) หมายถึง การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นยุคแห่งดิจิทัลและนวัตกรรม เป็นยุคที่สามารถเข้าถึงข้อมูลขนาดมหาศาล (Big Data) ยุคที่หุ่นยนต์ทำงานหลายอย่างแทนคน ยุคที่การติดต่อสื่อสารไร้ข้อจำกัด และเป็นยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีบทบาทในทุกภาคส่วนของสังคมมนุษย์ |
FTA | Free Trade Area หมายถึง เขตการค้าเสรี ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ รูปแบบหนึ่งอันเกิดจากข้อตกลงระหว่างรัฐบาลตั้งแต่สองประเทศ ขึ้นไป ซึ่งตกลงจะยกเลิกภาษีศุลกากรและมาตรการอื่นๆ ที่เป็น อุปสรรคทางการค้าให้แก่กันและกัน และอาจรวมถึงการเปิดตลาด ด้านการค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือต่างๆ แต่ประเทศ ภาคีข้อตกลงต่างมีอิสระในการเรียกเก็บภาษีศุลกากร และใช้ มาตรการจํากัดทางการค้ากับประเทศอื่นที่มิได้เป็นภาคีได้โดยเสรี การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในรูปแบบดังกล่าวที่ปรากฏในปัจจุบัน ได้แก่ AFTA หรือเขตการค้าเสรีอาเซียน และ EFTA หรือสมาคมการค้าเสรียุโรป |
FTAA | Free Trade Area of the America หมายถึง ข้อตกลงเขตการค้าเสรีในทวีปอเมริกาที่เกิดจากการ ประชุมสุดยอดผู้นําทวีปอเมริกา ครั้งที่ 1 ณ เมืองไมอามี่ ประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งวัตถุประสงค์หนึ่งคือการสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยมีกลไกคือ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีให้สําเร็จภายในปี 2548 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ FTAA ยังไม่สามารถเจรจาสําเร็จตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ เนื่องจาก ยังมีประเด็นขัดแย้งในหลายฝ่าย ซึ่งจะต้องอาศัยการเจรจาต่อรองต่อไป ประเทศสมาชิก FTAA ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 30 ประเทศ จากในทวีปอเมริกาเหนือ กลาง ใต้ และประเทศในหมู่เกาะแคริบเบียน ยกเว้นประเทศคิวบา |
FTAAP | Free Trade Area of the Asia-Pacific หมายถึง แนวคิดเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีของเอเชียแปซิฟิค (Free Trade Area of the Asia – Pacific : FTAAP) มา จากข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค (APEC Business Advisory Council : ABAC) ซึ่งได้เสนอต่อที่ประชุมผู้นําเศรษฐกิจ เอเปคเมื่อปี 2547 ให้ศึกษาความเป็นไปได้ที่เอเปคจะจัดทํา FTAAP เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเปิดเสรีมากขึ้นภายในเอเปค |
FTC | Federal Trade Commission หมายถึง คณะกรรมการการค้าของรัฐบาล พิจารณากฎหมาย ป้องกันการผูกขาดทางการค้า ควบคุมการแข่งขันทาง และการค้าที่ไม่ยุติธรรม |
Full cumulation | หมายถึง กระบวนการผลิตใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นในประเทศภาคี ความตกลงจะสามารถนําไปนับรวมในการคํานวณสัดส่วนที่ได้ ถิ่นกําเนิด (qualifying Content) โดยไม่สนใจว่า กระบวนการผลิต นั้นเพียงพอที่จะให้สถานะการเป็นสินค้าที่ได้ถิ่นกําเนิดหรือไม่ |
FWG | Fishery Working Group หมายถึง คณะทํางานด้านประมง ซึ่งเอเปคได้จัดตั้งเจ้าหน้าที่ อาวุโสเอเปคในปี 2534 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงอย่าง ยั่งยืน 2. สนับสนุนการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําอย่างยั่งยืนและ การอนุรักษ์ที่มีอยู่ 3. แก้ปัญหาเรื่องบริหารทรัพยากรประมงการควบคุมโรคใน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา 4. เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ปลาและประมง 5. สนับสนุนงานรายสาขาที่เกี่ยวกับการเปิดเสรี และการ อํานวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน |
G-4 | หมายถึง กลุ่มประเทศสมาชิก WTO ที่มีบทบาทสําคัญในการ เจรจารอบโตฮา ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป บราซิล และอื่นเดีย |
G10 | เป็นแนวร่วมของประเทศที่เรียกร้องให้การเกษตรได้รับการปฏิบัติอย่างพิเศษเนื่องจากความกังวลที่ไม่ใช่การค้า (non-trade concerns) ประกอบด้วย 9 ประเทศ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ อิสราเอล ญี่ปุ่น สาธาณรัฐเกาหลี ลิกเตนสไตน์ มอริเชียส นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ และจีนไทเป |
G20 | Group of Twenty หมายถึง กลุ่มประเทศกําลังพัฒนาผู้ส่งออกสินค้าเกษตร 23 ประเทศ ได้แก่ บราซิล อินเดีย อาร์เจนตินา อียิปต์ ซิล แอฟริการได้ จีน โบลิเวีย คิวบา กัวเตมาลา เม็กซิโก ไนจีเรีย ปากีสถาน ปารากวัย เวเนซูเอลา อุรุกวัย ซิมบับเว เปรู และ เอกวาดอร์ รวมทั้งอาเซียน 3 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย เป็นต้น จุดประสงค์ของการรวมตัวกันเพื่อให้ประเทศ พัฒนาแล้วเปิดเสรีสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น และสด/ยกเลิกมาตรการที่ ส่งผลบิดเบือนการค้า ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้มีความยืดหยุ่น แก่ประเทศกําลังพัฒนาในการเปิดเสรสิ้นค้าเกษตรด้วยเช่นกัน |
G24 | Group of Twenty-four หมายถึง กลุ่มประเทศกําลังพัฒนาที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ทางการเงินระหว่างประเทศกลุ่ม G24 มีชื่อเต็มว่า Intergovernmental Group of Twenty-Four on International Monetary Affairs โดยปกติจะมีการประชุม 2 ครั้งต่อปี ก่อนการประชุม International Monetary and Financial Committee (IMFC) และ Development Committee (DC) เพื่อให้ประเทศที่เป็นสมาชิกได้มีการถกประเด็นก่อนการประชุมดังกล่าว |
G33 | Group of Thirty-Three หมายถึง กลุ่มประเทศกําลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งเป็นผู้นําเข้าสินค้าเกษตรสุทธิ และรวมตัวกันเนื่องจากเกรงว่าการเปิดเสรีสินค้าเกษตรจะทําให้ราคาอาหารในตลาดโลกสูงขึ้น สมาชิก กลุ่ม G33 ประกอบด้วยสมาชิก 33 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล แคนาดา ซิลี จีน โกตดิวัวร์ อียิปต์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก โมร็อกโก เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย สิงคโปร์ แอฟริกา สาธารณรัฐเกาหลี สเปน สวีเดน ไทย สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ และสหรัฐฯ |
G7 |
Group of Seven หมายถึง กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนํา 7 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น โดยเป็นการประชุมสุดยอดทางเศรษฐกิจครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2519 และได้มีการประชุมสุดยอดดังกล่าวทุกปี |
G77 | Group of Seventy-Seven หมายถึง กลุ่มประเทศกําลังพัฒนาที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จํานวน 77 ประเทศ ซึ่งริเริ่มให้มีการประชุม UNCTAD เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2507 เพื่อส่งเสริมประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาร่วมกัน ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก 134 ประเทศ |
G8 | Group of Eight หมายถึง กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนํา 8 ประเทศ ซึ่งเดิม คือ 67 (Group of Seven) คือ อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ คือ รัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2540 |
GAAP | Generally accepted accounting principles หมายถึง มาตรฐานทางบัญชีที่คนส่วนมากในประเทศยอมรับในการ ใช้บันทึกรายรับ รายจ่าย ต้นทุน หนี้สิน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูล และการเตรียมการสําหรับการทํารายงานทางการเงิน |
GATS | General Agreement on Trade in Services หมายถึง ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการขององค์การการค้าโลก เป็นความตกลงพหุภาคีด้านการค้าบริการ อันเป็นผลจากการเจรจาพหุภาคีรอบอุรุกวัย ซึ่งบัญญัติกฎและหลักการเกี่ยวกับการค้าบริการให้ประเทศในสมาชิกองค์การการค้าโลกถือปฏิบัติ เพื่อให้การค้าบริการระหว่างประเทศดําเนินการไปด้วยความโปร่งใสและเปิดเสรีแบบก้าวเป็นลําดับ |
GATT | General Agreement on Tariffs and Trade หมายถึง GAT เริ่มมีความหมายได้ 2 นัย 1) หมายถึง ความตกลงทั่วไปว่าด้วย ภาษีศุลกากรและการค้า ฉบับปี ค.ศ. 1947 (พ.ศ.2490) เป็นความตกลงพหุภาคีระหว่าง ประเทศที่วางกฎเกณฑ์ให้ประเทศภาคีถือปฏิบัติเกี่ยวกับการดําเนิน นโยบายการค้าสินค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้การค้าดําเนินไป โดยเสรีและเป็นธรรม เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม ปัจจุบันความตกลงดังกล่าวได้รับการแก้ไขปรับปรุงใหม่ในการเจรจา การค้าพหุภาครอบอุรุกวัยในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2529-2536 โดยมี การจัดทําเป็น “ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ฉบับปี ค.ศ.1994 (พ.ศ. 2537)” มาใช้แทน ฉบับปี ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) 2.) หมายถึง องค์การความตกลงทั่วไปว่าด้วย ภาษีศุลกากรและ การค้าซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งมีสํานักเลขาธิการ ตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทําหน้าที่บริหาร ความตกลง GATT ค.ศ.1947 (พ.ศ. 2490) และกํากับดูแลให้ ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ ภายใต้ความตกลงฯ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ปัจจุบัน GAT ใน ฐานะที่เป็น องค์การได้สิ้นสุดสภาพไปโดยมีองค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งจัดตั้งขึ้น ตาม “ความตกลงมาราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก” มาทําหน้าที่ แทนโดยมีสํานักเลขาธิการอยู่ที่เดิม ซึ่งเคยเป็นสํานักเลขาธิการของ GATT ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก GATT เมื่อ พ.ศ. 2525 นับเป็นสมาชิกลําดับที่ 88 |
GCC |
Gulf Cooperation Council หมายถึง คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 1981 มีประเทศสมาชิก 6 ประเทศในคาบสมุทรอาหรับ ได้แก่ บาห์เรน โอมาน คูเวต กาตาร์ ซาอีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือด้านต่างๆ ในภูมิภาค อาทิ ด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน โดยเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 GCC ได้ประกาศขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจจากสหภาพศุลกากร (Customs Union) เป็นตลาดร่วม (Common Market) ซึ่งจะก่อเกิดการเคลื่อนย้ายทุนและแรงงานอย่างเสรีมากขึ้น |
GDP | Gross Domestic Product หมายถึง ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ มาตรการวัด ผลิตผลของชาติที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลา 1 ปี เฉพาะผลิตผลที่ได้ มีการผลิตขึ้นภายในประเทศเท่านั้น ไม่ว่าผลิตผลนั้นจะเกิดขึ้นจาก คนในประเทศหรือชาวต่างประเทศที่เข้ามาประกอบการในประเทศนั้น |
GEPN | Gender Focal Point Network หมายถึง เครือข่ายประสานงานด้านบูรณาการบทบาทหญิงชาย ของเอเปค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําหน้าที่ผลักดันให้เอเปค ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของสตรีทางเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะ องค์ประกอบสําคัญที่จะนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา ที่เสมอภาคและยั่งยืน |
GMOs | Genetically Modified Organisms หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ได้จากกระบวนการการปรับปรุงทาง พันธุกรรม โดยวิธีการที่เรียกว่า พันธุวิศกรรม ซึ่งทําได้โดยการถ่ายเทขึ้น (Gene) จากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งทําให้ได้ ลักษณะหรือคุณสมบัติตามต้องการ ปัจจุบันมีสินค้าหลายชนิดที่ เข้าข่ายเป็นสินค้า GMOs ในตลาดโลก เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ่าย และพืชน้ํามัน เป็นต้น แต่ไม่มีความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ที่เกี่ยวกับ GMOs โดยตรง เนื่องจากเป็นสินค้าที่ผลิตโดย เทคโนโลยีใหม่ |
GMS-EC | Greater Mekong Subregional Economic Cooperation หมายถึง โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ําโขง 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา จีน พม่า สปป.ลาว เวียดนาม และ ไทย หรือหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม การขยายตัวด้านอุตสาหกรรมการเกษตร การค้า การลงทุน และ บริการ เพื่อให้เกิดการจ้างงานการยกระดับการครองชีพ การถ่ายทอด เทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสการแข่งขันในเวทีการค้าโลก |
GNP | Gross National Product หมายถึง ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ มูลค่าของสินค้าและ บริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดซึ่งคิดตามราคาตลาดที่ประชาชาติผลิตขึ้น ได้ในระยะเวลาหนึ่ง เป็นมาตรการวัตผลิตผลของชาติที่เกิดขึ้น ในรอบระยะเวลา 1 ปี |
Gos | Group on Services หมายถึง กลุ่มว่าด้วยการบริการของเอเปค ดูแลเรื่องการเปิดเสรี และการอํานวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า บริการ |
GP | Government Procurement การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุโดยการซื้อ จ้าง เช่า แลกเปลี่ยน หรือโดยนิติกรรมอื่นๆ โดยหน่วยงานของรัฐ |
GPA | หมายถึง ความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง โดยรัฐขององค์การ nënlan (Plurilateral Agreement on Government Procurement) |
GPEG | Government Procurement Experts Group หมายถึง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อและจัดจ้างโดยรัฐของ เอเปค จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2536 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความโปร่งใส ของการจัดจ้างโดยรัฐในภูมิภาคซึ่งมีแผนดําเนินการหลัก คือ การทบทวนและรายงานมาตรการ และกรอบนโยบายด้านการซื้อและ ตางโดยรัฐ รวมทั้งการพิจารณาความสอตศสองของมาตรการ และกรอบนโยบายกับหลักการที่ไม่ผูกพันของเอเปคเรื่องการจัดซื้อ และการจัดจ้างโดยรัฐ (APEC SPEG Non Binding Principles on Govemment Procurement) |
GRULAC | Group Latinoamericanoy del Caribe หมายถึง กลุ่มภูมิภาคละตินอเมริกาและแคริบเบียน เป็นการ รวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการของสมาชิกองค์การการค้าโลกที่อยู่ใน ภูมิภาคละตินอเมริกาและแคริบเบียน |
GSP | Generalized System of Preferences หมายถึง ระบบการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกําลังพัฒนาได้มี การเสนอในการประชุมองค์ก็ต ครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1968 และเริ่มมี ผลบังคับใช้ในปี ค.ศ.1971 โดยประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ EU และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งจะให้สิทธิ์พิเศษโดยการลดภาษีนําเข้า หรือ ยกเว้นภาษีนําเข้าสินค้าบางรายการให้ประเทศกําลังพัฒนาบางประเทศ เป็นพิเศษกว่าประเทศอื่น โครงการ GPS เป็นโครงการที่มีกําหนด ระยะเวลาและเป็นการให้ฝ่ายเดียว โดยหากประเทศใดสามารถแข่งขันในตลาดโลกแล้วจะถูกตัดสิทธิ์จากโครงการนี้ |
GSTP | Global System of Trade Preferences among Developing Countries หมายถึง ความตกลงว่าด้วยระบบสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่าง ประเทศกําลังพัฒนา จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและขยายการค้าระหว่าง ประเทศกําลังพัฒนา โดยการเจรจาแลกเปลี่ยนข้อสัตหย่อนระหว่างกัน ทั้งมาตรการด้านภาษี/กึ่งภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี |
GTAP | The Global Trade Analysis Project หมายถึง แบบจําลองการค้าระหว่างประเทศ แบบจําลองนี้ได้รับ การพัฒนาโดยความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัย Purdue (สหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัย (Monash (ออสเตรเลีย) แบบจําลอง GTAP ครอบคลุมเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ในโลกทั้งสิ้น 45 เขต โดยในแต่ละเขต/ประเทศจะประกอบไปด้วยภาคการผลิต ทั้งสิ้น 50 ภาค แต่ละภาค เศรษฐกิจมีความเชื่อมโยงกันโดยการ ส่งออก, การนําเข้า และการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ แบบสอง GTAP เป็นที่นิยมใช้ในการศึกษาผลกระทบของนโยบาย ทางการค้าระหว่างประเทศ |
GVC | Global Value Chain หมายถึง ห่วงโซ่มูลค่าโลก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ นับแต่ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ จนกระทั่งสินค้านั้นถึงมือผู้บริโภคขั้นสุดท้าย รวมทั้งบริการหลังจากนั้น โดยกิจกรรมดังกล่าวกระจายอยู่ในหลายประเทศ/ภูมิภาค |
Hanoi Action Plan | หมายถึง รายละเอียดแผนปฏิบัติงานของเอเปคตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นไปที่จะนําไปสู่เป้าหมาย Bogor Goal ประกอบด้วย การสนับสนุนการเจรจาพหุภาคี ส่งเสริมการจัดทํา RTAs/FTAS ที่มี คุณภาพสูง สร้างความแข็งแกร่งแก่แผนปฏิบัติการรายประเทศ (IAPs) และแผนปฏิบัติรวม (CAPs) อํานวยความสะดวกในการทําธุรกิจ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ |
Harmonise |
หมายถึง การที่ประเทศสมาชิกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีการใช้ กฎระเบียบที่มีความสอดคล้องกัน |
Havana Charter | หมายถึง กฏบัตรฮาวาน่า เป็นกฎบัตรที่ว่าด้วยองค์การการค้า ระหว่างประเทศ กฏบัตรนี้เป็นความพยายามครั้งแรกในการจัดทํา ข้อตกลงพหุภาคีด้านการลงทุน โดยมีการยกร่างกฎบัตร และ นําเสนอต่อที่ประชุมของ 56 ประเทศที่เข้าร่วมเจรจา โดยมี วัตถุประสงค์ที่จะให้องค์การการค้าระหว่างประเทศทําหน้าที่เป็น องค์การเศรษฐกิจระหว่างประเทศองค์การที่สามต่อจากกองทุน การเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก แต่กฏบัตรนี้ไม่ได้ถูก นํามาใช้ เหตุที่มีชื่อว่า กฏบัตรฮาวาน่า เพราะกฏบัตรฉบับร่าง ร่างเสร็จครั้งแรก ณ กรุงฮาวาน่า ประเทศคิวบา ในปี พ.ศ. 2491 |
HIPC | Heavily Indebted Poor Countries Initiative หมายถึง เป็นความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นเจ้าหนี้ที่จะช่วย ประเทศยากจนที่มีหนี้สินเกินตัว |
HLED | High Level Economic Dialogue หมายถึง การประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เป็นเวทีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐเพื่อส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน ตลอดจนสร้างลู่ทางผลักดันและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน |
HLM | WTO High-Level Meeting for least-developed countries หมายถึง การประชุมผู้บริหารระดับสูงของ WTO เพื่อประเทศ ที่มีระดับการพัฒนาในขั้นต่ําที่สุด จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ |
HLPDAB | High Level Policy Dialogue on Agricultural Biotechnology หมายถึง เริ่มประชุมครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2545 โดยจัดปีละครั้ง ในช่วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค เป็นเวทหารือประเด็น นโยบายระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการกําหนด นโยบายด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร โดยคํานึงถึงข้อเสนอแนะจากภาคเอกชนเป็นหลัก |
HLTF-EI | High Level Task Force on ASEAN Economic Integration หมายถึง คณะทํางานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ของอาเซียน ประกอบด้วย ผู้แทนระดับปลัดกระทรวงเศรษฐกิจการ ค้าของประเทศสมาชิกอาเซียน จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาและเสนอแนะ รูปแบบและแนวทางของการดําเนินการเพื่อไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน (AEC) |
Horizontal Integration | หมายถึง การบูรณาการ หรือ การเชื่อมโยงกันในแนวนอน เป็นการผลิตสินค้าชนิดเกี่ยวกัน แต่มีความหลากหลายหรือผลิต สินค้าต่างกันในระดับการผลิตเดียวกันภายในบริษัทบริษัทเดียว เช่น การที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคมักจะผลิตสินค้าที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น จีนก็ผลิตรองเท้า ไทยก็ผลิตรองเท้า อินโดนีเซียก็ผลิตรองเท้า แล้วส่งออกรองเท้าที่อาจจะมีความแตกต่างในยี่ห้อหรือสไตล์ ไปค้าขายระหว่างกันเอง เป็นต้น |
Horizontal intra-industry trade | หมายถึง การบูรณาการแนวนอนของการค้าภายในอุตสาหกรรม เดียวกัน เกิดขึ้นเมื่อสิ้นค้ามีความคล้ายคลึงกัน เป็นการนําเข้าและ ส่งออกสินค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันที่อยู่ในขั้นการผลิต เหมือนๆ กัน ซึ่งอาจเป็นเพราะความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ |
HRDWG | Human Resources Development Working Group หมายถึง คณะทํางานว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ เอเปค ดําเนินกิจกรรมด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในสาขาต่างๆ ตั้งแต่ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานไปจนถึงการฝึกอบรมความเป็นผู้นํา และการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม |
HS | The International Convention on the Harmonized Commaodity Description and coding System หมายถึง พิกัดศุลกากรแบบฮาร์โมในซ์ ระบบการจําแนก ประเภทและระบุสินค้า ปรับปรุงโดยองค์การการค้าโลก ระบบพิกัด ศุลกากรแบบฮาร์โมไนซ์ควบคุมโดยกลุ่มประเทศสมาชิกในภาคีอนุสัญญา |
HSL | Highly Sensitive List หมายถึง รายการสินค้าออนไหวสูง สินค้าที่มีความอ่อนไหวสูง และต้องการระยะเวลาในการปรับตัวนานกว่ากลุ่มสินค้าปกติและ กลุ่มสินค้าออนไหว โดยจะมีเกณฑ์การลดภาษีที่ช้ากว่ากลุ่มสินค้า ปกติและกลุ่มสินค้าออนไหว |
IAI | Initiative for ASEAN Integration หมายถึง การริเริ่ม การกระชับ การรวมกลุ่มของอาเซียน เพื่อลด ช่องว่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และลดความยากจนใน ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเริ่มดําเนินการตั้งแต่ปี 2541 โดยให้ ความสําคัญในการขยายความร่วมมือ 4. ด้านหลัก ได้แก่ การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน (ขนส่งและสื่อสาร) การพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับ ภูมิภาค |
IAP | Individual Action Plan หมายถึง แผนปฏิบัติการเปิดเสรีและอํานวยความสะดวกของ ชาติสมาชิกเอเปคแต่ละชาติซึ่งครอบคลุมต้น (Issue Area) ต่างๆ 14 ด้าน คือ ด้านภาษีศุลกากรมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร การค้า บริการ การลงทุน มาตรฐานและการรับรองระเบียบพิธีการศุลกากร ทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายการแข่งขันการจัดซื้อโดยรัฐ การ ผ่อนคลายกฎระเบียบถิ่นกําเนิดสินค้า การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การเดินทางของนักธุรกิจและการปฏิบัติตามผลการเจรจารอบ อุรุกวัย ซึ่งจะมีการระบุว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) จนถึง ปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) และ ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) แล้วแต่ กรณีแต่ละชาติสมาชิกจะมีการดําเนินมาตรการอะไรหรืออย่างไร ที่เป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นการเปิดเสรีหรืออํานวยความสะดวก ด้านการค้าและการลงทุน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามปฏิญญาโบกอร์ |
IBFs | International Banking Facilities หมายถึง ธุรกิจการจัดการกู้ยืมเงินระหว่างประเทศโดยมีการ ลงบัญชีในประเทศ แต่ไม่มีการนําเงินทุนในประเทศออกไปใช้ในการ ให้กู้ยืมสําหรับประเทศไทยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้มีการจัดตั้ง Bangkok International Banking Facilities (BIBFs) เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2535 |
ICA | International Commodity Agreement หมายถึง ข้อตกลงระหว่างประเทศผู้ผลิตและประเทศผู้บริโภค ในการพัฒนาการทํางานของตลาดโลกของสินค้าอุปโภคบริโภค อาจเป็น ข้อตกลงในการบริหารจัดการ การให้ข้อมูล หรือความช่วยเหลือ ทางเศรษฐกิจ การเข้าควบคุมราคาในระดับโลก หน่วยงาน ICA นี้ อยู่ภายใต้การดูแลขององค์ถัต (UNCTAD) |
ICO | International Coffee Organization หมายถึง หรือองค์การกาแฟระหว่างประเทศ ซึ่งจัดตั้งภายใต้ โครงการรวมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ของ UNCTAD มีวัตถุประสงค์เพื่อ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศผู้ส่งออกและประเทศ ผู้นําเข้า ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 61 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศผู้ส่งออก 43 ประเทศ และประเทศผู้นําเข้า 18 ประเทศ โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2505 ซึ่งมีสํานักงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก เมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 ในฐานะประเทศผู้ส่งออก |
IDA | International Development Association หมายถึง สมาคมเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เป็นหนึ่งใน สถาบันหลักของกลุ่มธนาคารโลก IDA จะให้กู้ยืมเงินโดยไม่เสีย ดอกเบี้ยและบริการอื่นๆให้กับกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุด |
IEG | Investment Expert Group หมายถึง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนของเอเปค สนับสนุนงานของคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ การแลกเปลี่ยนข้อมูล และประสบการณ์ในการดึงดูดการลงทุน ขจัดอุปสรรคด้านการลงทุน รวมถึงการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง |
IEIF | Integrated Framework for Trade-related Technical Assistance หมายถึง การให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคที่เกี่ยวกับการค้าแก่ ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด เพื่อใช้เป็นแม่แบบสําหรับการพัฒนา การค้าของประเทศพัฒนาน้อยที่สุด เป็นกิจกรรมและกองทุนร่วม ของ 6 องค์กร ได้แก่ IMF, International Trade Center (กรุงเจนีวา), UNCTAD, UNDP, World Bank, bak WTO |
IGAD | Intergovernmental Authority on Development หมายถึง องค์กรพัฒนาในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก ก่อตั้งขึ้น ในปี 2996 สํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ เมืองจิบูตี มีประเทศสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ จิบูตี เอธิโอเปีย เคนย่า โซมาเลีย ซูดาน ดูกันตา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาในด้านต่างๆ ของประเทศใน ภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก รวมทั้งกําหนดนโยบายร่วมด้านการค้า ศุลกากร การขนส่ง การสื่อสาร การเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ และส่งเสริมการเคลื่อนย้ายสินค้า การค้าบริการ และบุคคลภายใน ภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมการเป็นตสาตร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกา ตะวันออก และแอฟริกาตอนใต้ และเป็นประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกา |
IJO | International Jute Organization หมายถึง องค์การปอระหว่างประเทศ จัดตั้งภายใต้โครงการ รวมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ของ UNCTAD โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มี ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศผู้ส่งออกและ ประเทศผู้นําเข้า ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 27 ประเทศ ได้แก่ ผู้ส่งออก 5 ประเทศ และประเทศผู้นําเข้า 22 ประเทศ จัดตั้งขึ้นเมื่อ 9 มกราคม พ.ศ. 2527 ณ กรุงธากา ประเทศบังคลาเทศ ประเทศไทย เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2526 ในฐานะ ประเทศผู้ส่งออก ทั้งนี้ประเทศไทยได้ขอถอนตัวจากการเป็นสมาชิก UO ตั้งแต่ปี 2542 |
IMF Quota | หมายถึง จํานวนเงินที่สมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ต้องชําระเพื่อช่วยเหลือองค์กร โดยส่วนหนึ่งชําระใน หน่วยเงินตราของประเทศ อีกส่วนหนึ่งชําระเป็นดอลลาร์สหรัฐ ทองคํา หรือเงินตราของประเทศสมาชิกประเทศอื่น โดยโควตาของ ประเทศหนึ่งๆ จะขึ้นอยู่กับค่า GDP ของประเทศนั้นๆ และอํานาจ ในการออกเสียงของสมาชิกแต่ละประเทศใน IMF จะเป็นอัตราส่วน กับโควต้า IMF ของประเทศนั้นๆ |
Import authorization | หมายถึง ข้อกําหนดในการอนุญาตให้นําเข้า ที่ต้องได้รับ อนุญาตจากหน่วยพิเศษก่อนที่จะสามารถนําเข้าประเทศได้ มี ลักษณะคล้ายกับการขอใบอนุญาตในการนําเข้า (import Licensing) |
Import duty | หมายถึง ภาษีสินค้าเข้า หรือภาษีเรียกเก็บจากสินค้าเข้า สําหรับปกป้องสินค้าในประเทศ และ/หรือหารายได้เข้ารัฐ อาจเป็นภาษีตามสภาพ (Specific tax) หรือภาษีตามมูลค่า (ad valorenm) ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและนโยบายของแต่ละประเทศ |
Import Licensing | หมายถึง เป็นมาตรการของรัฐบาลในการควบคุมปริมาณการ นําเข้าผ่านการออกใบอนุญาตนําเข้า ซึ่งภายใต้ความตกลงว่าด้วย ระเบียบวิธีการออกใบอนุญาตนําเข้า (Agreement on Import Licensing Procedure) ขององค์การการค้าโลก (WTO) ระบุว่า ใบอนุญาตนําเข้ามี 2 ประเภท คือ ใบอนุญาตที่ให้น้ําเข้าได้ใน ทุกกรณี (หรือ automatic import Licensing) และใบอนุญาต นําเข้าเพื่อใช้ในการจํากัดการนําเข้า (หรือ non-automatic import licensing) |
Import Licensing Procedures | หมายถึง ระเบียบวิธีการออกใบอนุญาตนําเข้า ซึ่งเป็นมาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตภายใต้ WTO หน่วยงานของรัฐ จะต้องกําหนดแนวทางปฏิบัติ และกําหนดระยะเวลาแน่นอนในการ ออกใบอนุญาตนําเข้าเพื่อมิให้มีการกีดกันทางการค้า |
Import relief | หมายถึง การควบคุมปริมาณการนําเข้าของสินค้าบางกลุ่มเพื่อที่ จะช่วยเหลือผู้ผลิตภายในประเทศ หากการควบคุมนี้ เป็นได้ทั้ง ในแบบที่กําหนดเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Administered protection) หรือเป็นแบบที่ไม่เป็นทางการอย่างการใช้ระบบโควตาแบบสมัครใจ (Voluntary Export Restraint: VER) |
Import Substitution | หมายถึง การทดแทนการนําเข้า เป็นแนวคิดของวิธีการพัฒนา โดยการเน้นไปที่การใช้สินค้าในท้องถิ่นทดแทน สินค้านําเข้าผ่าน การปกป้องทางการค้า และนโยบายอุตสาหกรรมหลายอย่าง |
IMT- GT | Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle หมายถึง โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ประกอบด้วย อินโดนีเซีย ได้แก่ แคว้นอาเจะห์ จังหวัดสุมาตราเหนือ จังหวัดสุมาตราตะวันตก จังหวัดสุมาตราใต้ จังหวัดบึงกูล จังหวัดเรียว และจังหวัดจมนี้ มาเลเซีย รัฐเคดาห์ เปรีติ ปีนัง ปะลิส สลังงอ และก็สิ้นตัน และไทย จังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล นครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุง โดยมีเป้าหมายเพื่อเกื้อกูลกันทางเศรษฐกิจและสังคม ในระหว่าง 3 ประเทศ โดยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลิต การลงทุน การ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อลด ต้นทุนการขนส่ง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก |
In bond | หมายถึง ราคาสินค้าที่ส่งให้ถึงโกดังท่าเรือ ผู้ซื้อต้องเสียภาษีเอง เป็นสินค้าที่นําเข้าเก็บไว้ในคลังสินค้าของท่าเรือและยังไม่ได้ เสียภาษี สินค้าได้ถูกส่งเข้ามาจากต่างประเทศ แต่ในขณะที่สินค้า ตกเข้ามาบังเอิญราคาไม่ดี พ่อค้าจึงถูกเอาไว้ที่ท่าเรือ และรัฐบาล ต้องเก็บรักษาสินค้านั้นไว้ก่อน จนกว่าผู้ประกอบการจะซ้ําระภาษี ขาเข้าให้กับรัฐบาล |
Industrial Fund | หมายถึง กองทุนอุตสาหกรรม ในกรณีที่รัฐบาลดําเนินงาน รัฐวิสาหกิจทางด้านอุตสาหกรรม กองทุนนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อหารายรับเข้า กองทุนและใช้จ่ายจากกองทุน เพื่อผลิตสินค้าและบริการด้านอุตสาหกรรมนั้น |
Industrial policy | หมายถึง นโยบายส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมใด ควรได้รับการส่งเสริมให้ขยายตัว อาจด้วยวิธีการอุดหนุน การงต ภาษี หรือการให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมนั้นๆ ในรูปแบบต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างข้อได้เปรียบต่างๆ |
INRC | International Natural Rubber Council หมายถึง สายางธรรมชาติระหว่างประเทศ มีการลงนามใน สนธิสัญญา International Natural Rubber Agreement เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2519 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการผลิต การส่งยางออกจําหน่าย สร้างมูลภัณฑ์กันชน เพื่อควบคุมการรักษา เสถียรภาพราคายาง ซึ่งมีประเทศสมาชิก 4 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา มีสํานักงานตั้งอยู่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย |
INRO | International Natural Rubber Organization หมายถึง องค์การยางระหว่างประเทศ จัดตั้งโดยสหประชาชาติ ตามความในข้อตกลงในสนธิสัญญาความร่วมมือเรื่องธรรมชาติ เมื่อปี พ.ศ.2522 (United Nations International Natural Rubber Agreement 1979) โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญ คือการรักษา เสถียรภาพราคายางโดยใช้ข้อมูลภัณฑ์กันชน ประกอบด้วยสมาชิก ประเทศผู้ส่งออก 6 ประเทศ และประเทศผู้นําเข้า 21 ประเทศ มีสํานักงานตั้งอยู่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย |
Insufficient working | หรือ processing operations หมายถึง กระบวนการผลิต ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติของสินค้าอย่างมากเพียงพอ เช่น การทําความสะอาด การละลายน้ํา การเปลี่ยนหีบห่อ หรือการ เก็บรักษาในห้องที่มีการปรับอุณหภูมิ |
INTA |
The Committee on International Trade หมายถึง คณะกรรมาธิการการค้าต่างประเทศของรัฐสภายุโรป เป็นหน่วยงานภายในของรัฐสภายุโรป รับผิดชอบกำกับดูแลนโยบายร่วมทางการค้าและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศที่สาม ภายใต้สนธิสัญญาลิสบอน รัฐสภายุโรปมีอำนาจของ co - legislator ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดทำนโยบายและกฎระเบียบต่างๆ ของสหภาพยุโรป รวมถึงนโยบายร่วมทางการค้าและการใช้บังคับความตกลงทางการค้าทั้งหมดที่ผ่านมา รัฐสภายุโรปมีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมและสร้างแรงกดดันในการกำหนดนโยบาย ทางการค้าของ EU เป็นอย่างมาก |
Integration | หมายถึง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ โดยเริ่มจากการลต อุปสรรคทางการค้าจนไปถึงการเคลื่อนย้ายสินค้า ทุน และแรงงาน รวมทั้งการใช้กฎหมาย กฎเกณฑ์ และมาตรฐานเดียวกัน รูปแบบ การรวมกลุ่มที่เห็นโดยทั่วๆไป ได้แก่ การเปิดเสรีทางการค้า (FTA5) และตลาดร่วม มีความหมายเดียวกับคําว่า “Economic Integration” |
Intermediate Goods | หมายถึง วัสดุหรือสินค้าซึ่งได้ผ่านกระบวนการและกรรมวิธี การผลิตมาแล้ว และสามารถนําไปใช้ในการผลิตหรือเป็นส่วนประกอบ ของสินค้าอื่นได้ ตัวอย่างเช่น ล้อรถเพื่อใช้ในการประกอบรถยนต์ เป็นต้น |
Intermittent dumping | หมายถึง การทุ่มตสาตเป็นการชั่วคราว เป็นนโยบายที่จะส่ง สินค้าไปขายต่างประเทศในราคาต่ํากว่าตลาดภายในประเทศ เป็นการชั่วคราว และในบางคราวอาจต้องขายต่ํากว่าทุน เพื่อ - แสวงหาตลาดใหม่ในต่างประเทศ - กําจัดคู่แข่งที่มีประสิทธิภาพทางการผลิตและการเงินที่ต่ํากว่า - กีดกันไม่ให้คู่แข่งเข้ามาแย่งตลาดที่ครองอยู่แล้ว |
International office of Epizooties | หมายถึง องค์กรที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับมาตรฐานสากลเกี่ยวกับ สุขภาพสัตว์ 212 |
IORA |
Indian Ocean Rim Association for Regional Cooperation หมายถึง สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย จัดตั้งขึ้นในการประชุม Indian Ocean Rim Initiative ครั้งที่ 1 ที่มอริเชียส เมื่อปี 2540 มีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 7 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย แอฟริกาใต้ เคนยา สิงคโปร์ โอมาน และมอริเชียส มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า ส่งเสริมการลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนการพัฒนาในภูมิภาค โดยดำเนินการทั้งในระดับเอกชนและวิชาการ ปัจจุบัน IORA มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย อินเดีย แอฟริกาใต้ เคนยา สิงคโปร์ โอมาน มอริเชียส อินโดนีเซีย มาดากัสการ์ มาเลเซีย โมซัมบิก มัลดีฟส์ ศรีลังกา แทนซาเนีย เยเมน ไทย บังกลาเทศ อิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เซเชลส์ โคโมรอส และโซมาเลีย และ IORA มีประเทศหุ้นส่วนคู่เจรจา (Dialouge Partners) 10 ประเทศ ได้แก่ จีน อียิปต์ เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย ตุรกี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ซาอุดีอาระเบีย อยู่ระหว่างสมัครเข้าเป็นประเทศหุ้นส่วนคู่เจรจาของ IORA |
IPAP | Investment Promotion Action Plan หมายถึง แผนปฏิบัติการส่งเสริมการลงทุน ภายใต้ความร่วมมือ ด้านเศรษฐกิจของอาเซม (ASEM) เพื่อหาแนวทางการขยายการ ลงทุนระหว่างเอเชีย-ยุโรป โดยมุ่งเน้นการส่งเร็มการลงทุน และ นโยบาย/กฎระเบียบด้านการลงทุนโดยมีเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการค้า และการลงทุน (SOMT) ทําหน้าที่กํากับดูแลการดําเนินงานตามแผน IPAP |
IPC | Integrated Programme for Commodities หมายถึง โครงการร่วมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ จัดตั้งขึ้นโดย UNCTAD เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการค้าสินค้าโภคภัณฑ์ และเพื่อ เพิ่มรายได้จากการส่งออกและช่วยพัฒนาการตลาด |
IPEG | Intellectual Property Right Experts Group หมายถึง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาเอเปค ซึ่ง จัดตั้งขึ้นภายใต้กรอบเอเปคในปี 2539 เพื่อเสริมสร้างระบบทรัพย์สิน ทางปัญญาให้เข็มแข็งและมีประสิทธิภาพ |
IPPA | Investment Promotion and Protection Agreement หมายถึง ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน |
IPRP | Intellectual Property Rights Protection หมายถึง การคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิ์ใน ทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายภายใน ประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ความ คุ้มครองสิขสิทธิ์ (copyright) สําหรับปกป้องงานประพันธ์และ งานศิลปะ การออกสิทธิ์บัตร (patents) สําหรับปกป้องสิ่งประดิษฐ์ และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (trademarks) สําหรับ ปกป้องสัญลักษณ์ที่ใช้จําแนกสิ้นค้าและบริการ เป็นต้น โดยเจ้าของ สิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองสิทธิผูกขาตตามกฎหมายที่จะใช้ ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเต็มที่ เช่น สามารถอนุญาต ให้ผู้อื่นน้ําทรัพย์สินทางปัญญานั้นไปใช้โดยเสียค่าตอบแทน อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอาจมี ความขัดแย้งกับนโยบายการแข่งขันทางการค้า (Competition policy) ในเวทีโลก ที่มุ่งกําจัดอุปสรรคต่างๆ ทางการค้า เช่น การลดอํานาจการผูกขาด เป็นต้น ดังนั้น ความท้าทายในการร่าง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา คือ การปกป้องสิทธิอย่างมี ประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ต้องปิดกั้นการพัฒนาความคิต ให้มีผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น |
IPRS | Intellectual Property Rights หมายถึง สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา |
IRA |
Import Risk Analysis หมายถึง มาตรการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการนําเข้าสินค้า อาหาร พืช และสัตว์ โดยประเทศผู้นําเข้าจะวิเคราะห์ว่าสินค้านั้น ๆ มีความเสี่ยงในการแพร่โรคระบาดต่อพืชและสัตว์ในประเทศผู้นําเข้า เพียงใด |
ISO |
International Sugar Organization หมายถึง องค์การน้ําตาสระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ ความร่วมมือ ให้คําปรึกษาแนะนํา และข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับ น้ําตาลของตลาดโลก ตลอดจนสารให้ความหวานและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนการเพิ่มความต้องการใช้น้ําตาล ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก 47 ประเทศ มีสํานักงานตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร |
ISO | International Organization for Standardization หมายถึง องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการกําหนดมาตรฐาน ได้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2490 ประเทศสมาชิกเริ่มแรก 25 ประเทศ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 117 ประเทศ สํานักงานอยู่ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม กําหนดมาตรฐานระหว่างประเทศให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก รวมทั้ง พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อขยาย การค้าระหว่างประเทศ ปัจจุบันมาตรฐานสากลของ ISO ที่เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น เช่น ISO9000 และ ISO 14000 เป็นต้น |
ISTWG |
Industrial Science and Technology Working Group หมายถึง คณะทํางานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรมของเอเปค โดยก่อตั้งขึ้นที่การประชุมรัฐมนตรีการค้า เฮเปศเมื่อปี พ.ศ.2533 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยใช้ชื่อว่า คณะ ทํางานเพื่อการขยายการลงทุนและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี หลังจากนั้น ได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกหลายครั้ง ISTWG ได้ให้ความสําคัญต่อ 6 เรื่อง คือ 1. ปรับปรุงการใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ 2. ปรับปรุงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3. ปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจ 4. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืน 5. การเสริมสร้างการหารือแนวนโยบายและการประเมิน 6. การอํานวยความสะดวกเครือข่ายและความร่วมมือ |
ITA |
Information Technology Agreement หมายถึง ความตกลงว่าด้วยสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่ง จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสติภาษีศุสกากรในสินค้าเทคโนโลยี สารสนเทศ ให้เหลือร้อยละ 0 ในปี พ.ศ.2540 รวมทั้งยกเลิก ค่าธรรมเนียมอื่นๆ และมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรด้วย ปัจจุบัน มีประเทศสมาชิก 63 ประเทศ |
ITC | The International Trade Centre หมายถึง ศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ เป็นองค์กร ที่ดําเนินการภายใต้ UNCTAD และ WTO เป็นศูนย์กลางของ สหประชาชาติ สําหรับการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ ประเทศกําลังพัฒนา ในด้านการส่งเสริมการค้าและการพัฒนา การส่งออก |
ITCB |
International Textiles and Clothing Bureau หมายถึง กลุ่มประเทศกําลังพัฒนาผู้ส่งออกสิ่งทอ ซึ่งก่อตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2527 ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 26 ประเทศ ประเทศไทย ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ITCB เมื่อปี พ.ศ. 2538 ตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลด การปกป้องและการกีดกันการนําเข้าสิ่งทอของประเทศผู้นําเข้า รวมทั้งเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการค้าสิ่งทอตามข้อตกสิงการค้าสิ่งทอของ WTO ได้อย่างเต็มที่ |
IUU Fishing |
Illegal, Unreported, and Unregulated Fishing มีที่มาจากอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒ (UN Convention on the Law of the Sea - UNCLOS) ข้อ ๖๑ ว่าด้วยเรื่องการอนุรักษ์ และข้อ ๖๒ ว่าด้วยเรื่องการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์นํ้าอย่างยั่งยืน และจรรยาบรรณว่าด้วยการทำประมงอย่างรับผิดชอบ (Code of Conduct for Responsible Fisheries: CCRF) ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ที่มุ่งแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้จำนวนสัตว์นํ้าในทะเลลดลงและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อห่วงโซ่อาหารและความสมดุลของระบบนิเวศทางทะเลโดย FAO ได้จัดทำแผนปฏิบัติการสากลว่าด้วยการป้องกัน ลด และเลิกการทำประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (FAOs International Plan of Action on Prevent, Deter, and Eliminate Illegal, Unreported, and Unregulated Fishing Measures: IPOA - IUU) โดยขณะนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้มีการดำเนินการที่สอดคล้องกับ UNCLOS และ FAO เช่น สหภาพยุโรปได้ออกแผนปฏิบัติการ EU IUU Regulation เพื่อป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงในลักษณะดังกล่าว ขณะที่รัฐบาลไทยในปัจจุบันให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายและแรงงานในภาคประมง มีการผลักดันและขับเคลื่อนเป็นนโยบายระดับประเทศ พร้อมทั้งมีแนวทางและมาตรการในการพัฒนาการประมงของไทยให้ปลอดสัตว์น้ำและสินค้าสัตว์น้ำที่มาจากการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Free Thailand) เป็นหนึ่งในมาตรการหลักเพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบและข้อกำหนดของประเทศคู่ค้าสำคัญ รวมถึงยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี |
JAIF |
The Japan - ASEAN Integration Fund หมายถึง ญี่ปุ่นได้จัดตั้งกองทุนความร่วมมืออาเซียน – ญี่ปุ่น Japan - ASEAN Integration Fund (JAIF) เมื่อปี พ.ศ. 2549 เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียน และเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดในกรอบข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (IAI) ซึ่งเน้นการพัฒนากลุ่มประเทศ CLMV นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังได้ริเริ่มความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น เพื่อช่วยลดช่องว่างด้านการพัฒนาในอนุภูมิภาคในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองครบรอบ 40 ปีของความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2556 ญี่ปุ่นได้ประกาศเพิ่มเม็ดเงินให้กับ (1) กองทุน JAIF 2.0 จำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนโครงการความร่วมมือทางทะเล การบริหารจัดการภัยพิบัติ การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ และความเชื่อมโยงในภูมิภาค (2) Official Development Assistance (ODA) เพื่อใช้ในด้านการพัฒนา 2 ล้านล้านเยน |
JC | Joint Commission หมายถึง คณะกรรมาธิการร่วม ซึ่งจัดตั้งภายใต้บทบัญญัติของ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือความตกลงใดๆ ที่ มีระดับเทียบเท่ากับความตกลงดังกล่าว ประกอบด้วย ผู้แทนที่ภาคี แต่งตั้ง และจะประชุมตามคําขอของภาคีผู้ทําสัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เพื่อพิจารณาเรื่องใดๆ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการดําเนินการให้เป็นผลตาม ความตกลง พิจารณาวิธีการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศทั้งสอง พิจารณาทบทวนเกี่ยวกับพัฒนาการของ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งสอง ทั้งในส่วนที่เป็น ความสัมพันธ์ทวิภาคีและในส่วนที่เป็นความสัมพันธ์พหุภาคี นอกจากนั้น ศิณะกรรมาธิการร่วมจะขัดทําข้อเสนอแนะไปยัง รัฐบาลของแต่ละฝ่ายในกรณีที่อาจจะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ ความตกลงได้ดียิ่งขึ้น และในกรณีที่อาจจะหามาตรการในการร่วม มือในทางเศรษฐกิจได้เต็มที่ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ไทยได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการ ร่วมเศรษฐกิจกับประเทศต่างๆ ไปแล้ว รวม 32 ประเทศ |
JCC | The Japanese Chamber of Commerce,Bangkok หอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ (JCC) เป็นหนึ่งในหอการค้าญี่ปุ่นในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด มีสมาชิก 1,642 บริษัท (ณ เดือนเมษายน 2565) ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2497 เป็นต้นมา JCC ได้ช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น และยังคงดำเนินกิจกรรมทางสังคมอันหลากหลายมามากกว่าครึ่งศตวรรษ |
JCCI |
The Japan Chamber of Commerce and Industry หมายถึง สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2421 ณ กรุงโตเกียว JCCI เป็นเครือข่ายขององค์กรเศรษฐกิจท้องถิ่นที่ครอบคลุม ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนของธุรกิจสมาชิกประมาณ 1.23 ล้านรายทั่วประเทศ ซึ่งครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่องค์กรขนาดใหญ่และขนาดกลางไปจนถึงบริษัทขนาดเล็กและเจ้าของคนเดียว เป้าหมายของ JCCI คือ การส่งเสริมให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจโดยช่วยให้ผู้ประกอบการ และแต่ละชุมชนสร้างเสริมนวัตกรรมที่โดดเด่นอย่างไม่หยุดยั้ง และใช้ประโยชน์จากลักษณะเฉพาะของตนเองให้ได้มากที่สุด |
JETCO | Joint Economic and Trade Committee หรือ JETCO หมายถึง คณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้าไทย - สหราชอาณาจักร จัดขึ้นภายใต้ “บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า และกลไกสนับสนุนอื่นๆ เพื่ออำนวยความร่วมมือหลังจากเสร็จสิ้นการทบทวนนโยบายการค้าระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการค้าระหว่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ” โดยเป็นเวทีระดับรัฐมนตรีสำหรับหารือเพื่อส่งเสริม อำนวยความสะดวก และพัฒนาความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแบบทวิภาคีระหว่างกัน รวมถึงเสนอแนะแนวทางแก้ไขอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน ทั้งนี้ อาจมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะด้าน/คณะทำงานร่วมเพื่อหารือเพิ่มเติมในประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกันได้ |
JETRO | Japan Export Trade Organization หมายถึง องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น เป็น องค์กรที่ไม่หวังผลกําไรของรัฐบาลญี่ปุ่น สํานักงาน JETRO กรุงเทพฯ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2502 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและ ส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น พร้อมทั้งผลักดันการนําเข้าสินค้าไทยสู่ตลาดญี่ปุ่นและเผยแพร่ บรรยากาศที่ดีของการลงทุนในประเทศไทย |
JICA | Japan International Cooperation Agency หมายถึง องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น เป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2517 โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ในด้านต่างๆ โดยการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศโดยเฉพาะ อย่างยิ่งต้านการพัฒนาบุคลากร |
Joint venture | หมายถึง การค้าร่วม การร่วมลงทุนระหว่างผู้ลงทุนในตลาดต่างประเทศกับผู้ลงทุนในตลาดท้องถิ่น เพื่อร่วมลงทุนโดยการเป็นเจ้าของกิจการค้าร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป |
Jones Act | หมายถึง พระราชบัญญัติของสหรัฐฯ ที่จํากัดการขนส่งของเรือต่างชาติในการขนส่งสินค้าหรือคนระหว่างท่าเรือสหรัฐฯ ไปยังสถานที่อื่น การจํากัดการอนุญาตให้เรือสามารถทําการขนส่ง ในสมาชิกอื่น (Cabotage) ถือว่าเป็นตัวอย่างของสิ่งที่เป็นอุปสรรคทางการค้าด้านการบริการ |
JSC | Joint Steering Committee หมายถึง คณะกรรมการอำนวยการร่วม ซึ่งเป็นกลไกหารือเพื่อขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศภายใต้กรอบ/ประเด็นความร่วมมือภายใต้ MOU ต่างๆ เช่น คณะกรรมการอำนวยการร่วมภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงด้านอาหาร การค้าและการลงทุนในผลิตภัณฑ์และโภคภัณฑ์การเกษตร โดยเฉพาะอาหารฮาลาล ระหว่างไทยกับบาห์เรน เป็นต้น |
JTC | Joint Trade Committee หมายถึง คณะกรรมการร่วมทางการค้า จัดตั้งขึ้นภายใต้ บทบัญญัติของความตกลงทางการค้าหรือความตกลงใดๆ ที่มีระดับ เทียบเท่าความตกลงดังกล่าว ประกอบด้วย ผู้แทนที่ภาคีแต่งตั้งและ จะประชุมตามคําขอของภาคีผู้ทําสัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด การประชุม จะจัดให้มีขึ้นโดยสลับกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งมีหน้าที่ทบทวนและ พิจารณาการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติของความตกลง ทางการค้า และเสนอแนะมาตรการที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหา และอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติให้เป็นไปตามความตกลงฯ พร้อมทั้งเสนอมาตรการที่เหมาะสมเพื่อขยายและเพิ่มประเภทของ การค้าระหว่างประเทศคู่สัญญา และทําหน้าที่ในการปรึกษาหารือ ปัญหาหรือข้อขัดแย้งใดที่เกิดขึ้นจากสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ ซึ่งได้ กระทําภายใต้ขอบข่ายของความตกลงนี้ ทั้งนี้จะต้องไม่เป็นการ กระทบกระเทือนต่อการใช้บทบัญญัติเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการระงับ ข้อพิพาทซึ่งกําหนดไว้ในสัญญาที่เกี่ยวข้องการระงับข้อพิพาท โดย ไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้ากับประเทศต่างๆ ไปแล้ว รวม 21 ประเทศ |
JTEPA | Japan - Thailand Economic Partnership Agreement หมายถึง ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งนายก รัฐมนตรีของไทยและญี่ปุ่นได้ร่วมกันประกาศเปิดการเจรจาอย่าง เป็นทางการในการประชุม ASEAN-Japan Commemorative Summit ระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2546 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีการเจรจาอย่างเป็นทางการรวม 9 รอบ ซึ่งทั้งสอง ฝ่ายได้ประกาศการบรรลุความตกลงในหลักการเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 หลังจากนั้นได้เจรจาตกลงในประเด็นรายละเอียดเสร็จสิ้น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 และลงนามเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 ครอบคลุมความตกลงการค้าสินค้า บริการ การลงทุน รวมถึง ความร่วมมือ เช่น ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมการบริการ การเงิน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการท่องเที่ยว เป็นต้น โดย มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปิดเสรีและอํานวยความสะดวกด้านการค้า และบริการ ส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนของกันและกัน ส่งเสริม ให้มีการค้าไร้กระดาษ อํานวยความสะดวกการเคลื่อนย้าย บุคคลธรรมดา เสริมสร้างการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การแข่งขันที่ยุติธรรมและเสรี จัดตั้งกรอบความร่วมมือสองฝ่าย และ ส่งเสริมความโปร่งใส |
JWG | Joint Working Group on Trade หมายถึง คณะทํางานร่วมทางการค้า ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้ความ เห็นชอบร่วมกันระหว่างรัฐบาลของประเทศคู่สัญญาด้วยการลงนาม ในบันทึกการหารือ (Note Verbale) วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง คณะทํางานฯ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการหารือกันในระดับเจ้าหน้าที่ รัฐบาลของทั้งสองฝ่ายตามความจําเป็น และจะเป็นวิธีหนึ่งในการสิต หรือขจัดความขัดแย้งในความคิดเห็นด้านการค้าที่แตกต่างกัน ยิ่งกว่านั้นยังเป็นจุดประสานความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า เพื่อผลประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศอีกด้วย ทั้งนี้ คณะทํางานฯ ดังกล่าวจะเป็นกลไกเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าในระดับทวิภาคี |
LAIA | Latin America Integration Association หมายถึง สมาคมการรวมกลุ่มของอเมริกาใต้ ซึ่งจัดตั้งองค์กรที่ตั้ง ขึ้นเมื่อปี 2523 โดยมีสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล ซีส์ โคลัมเบีย เอกวาติอร์ เม็กซิโก ปารากวัย เปรู อุรุกวัย และ เวเนซูเอลา ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อทําหน้าที่แทน Latin American Free Trade ASSOCiation (LAFTA) ที่ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2503 เพื่อจัดตั้งตลาด ร่วมสําหรับสมาชิก โดยการลดภาษีศุลกากรและมีเป้าหมายในการ ยกเลิกภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในปี พ.ศ.2516 แต์ในปี พ.ศ.2512 เป้าหมายดังกล่าวได้ถูกขยายออกไปจนถึงปี 2523 ซึ่งในที่สุดได้มีการ ลงนามใน Treaty of Montevideo และทําให้เกิดองค์กรใหม่ คือ LAJA โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้มีการเปิดเสรีทางการค้า โดยไม่มีการ กําหนดเป้าหมายของการเป็นตลาดร่วม ทั้งนี้ สํานักงานใหญ่ของ LANA ตั้งอยู่ ณ กรุงมอนติวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย |
Last substantial transformation | หมายถึง ข้อกําหนดที่ระบุว่า ขั้นตอนการผลิตที่ก่อให้เกิดการ แปลงสภาพอย่างเพียงพอขั้นสุดท้ายจะต้องเกิดในประเทศที่ส่งออก |
LCA | Life Cycle Analysis หมายถึง การวิเคราะห์คุณภาพและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดทั้งวงจรชีวิตของสินค้าและบริการ LDC Least Developed Country หมายถึง ประเทศที่องค์การสหประชาชาติลงความเห็นว่าเป็น กลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้มีอยู่ทั้งหมด 49 ประเทศ เช่น อัฟกานิสถาน แองโกลา เบนิน บูกินาร์ ฟาร์สโซ บุรุนดี เคปเวอร์ด คองโกโคโมรอส และแซมเบีย เป็นต้น |
LDC (Least Developed Country) | หมายถึง ประเทศที่องค์การสหประชาชาติลงความเห็นว่าเป็นกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้มีอยู่ทั้งหมด 46 ประเทศ อาทิ อัฟกานิสถาน แองโกลา เบนิน บูร์กินาฟาโซ บุรุนดี คองโก โคโมรอส ลาว กัมพูชา เมียนมา และแซมเบีย เป็นต้น |
LIFO | Last-in, First-out หมายถึง วิธีหนึ่งของการบริหารสินค้าคงคลัง ซึ่งคํานวณมูลค่า สินค้าจากต้นทุนของสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในคลังสินค้า (newest good in stocks) |
Lome Convention | หมายถึง สนธิสัญญาโสเม่ เป็นข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับ กลุ่มกลุ่มประเทศสมาชิกที่อยู่ ในแอฟริกา แคริบเบียน และแปซิฟิก จํานวน 7 ประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP treatment) การให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนา และความร่วมมือด้านอื่นๆ โดยทั่วไป ในปี พ.ศ. 2543 สนธิสัญญาโลเม่ได้ถูกแทนที่ด้วยข้อตกลง Cotonou |
Made-to-Measure Tariff | หมายถึง ภาษีที่คิดเพิ่มขึ้นเพื่อให้ราคาสินค้านําเข้ามีราคา เท่ากับราคาสินค้าภายในประเทศ เพื่อให้ผู้ผลิตในได้รับผลกระทบ จากการนําเข้าสินค้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Scientific Tariff |
MAG | กลุ่มการเปิดตลาดภายใต้กรอบเอเปค (APEC Market Access Group: APEC MAG) มีการหารือในประเด็นสำคัญ อาทิ การดำเนินการด้านภาษี การสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี การสนับสนุนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และการเสริมสร้างความเชื่อมโยงที่ครอบคลุมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน |
MAI | Multilateral Agreement on Investment หมายถึง ข้อตกลงพหุภาคีทางการค้าในช่วงครึ่งหลังของ ศตวรรษที่ 20 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการ พัฒนา หรือโออีซีดี (OECD) ได้พยายามสร้างระเบียบข้อบังคับทางการค้า แต่การเจรจาล้มเหลวและถูกระงับชั่วคราวเมื่อปี พ.ศ. 2541 |
Mark of Origin | หมายถึง สิ่งที่ติดอยู่กับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าถูกทําขึ้นที่ใด |
Market access | มีความหมายได้ 2 นัย คือ (1) หมายถึง สภาวะที่มีการแข่งขันระหว่างสินค้านําเข้ากับ สินค้าภายในประเทศที่ทดแทนกันได้ การแข่งขันนี้จะถูกกําหนด โดยสินค้าจากต่างประเทศจะเจอกําแพงภาษีต่างๆ รวมถึงระเบียบ ข้อบังคับอื่นๆ (2) หมายถึง การเปิดตลาด เป็นสภาวะที่ประเทศหนึ่งเปิดตลาด ภายในของตน ด้วยการลดอุปสรรคทางการค้าต่างๆ ลง ไม่ว่าจะเป็น อุปสรรคทางด้านภาษี หรือที่มีใช่ภาษี เพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศ อื่นๆ ส่งสินค้าเข้ามาขายในตลาดภายในประเทศของตนได้สะดวกขึ้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของรัฐบาลที่จะให้สินค้านําเข้า ได้มีโอกาสแข่งขันกับสินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตภายในประเทศ ถือเป็นหัวใจสําคัญของนโยบายการค้าเสรี |
Market price | หมายถึง ราคาตลาด เป็นราคาทรัพย์สินอื่นๆ ที่มีการซื้อขาย หรือประกาศขายอยู่ในตลาดหนึ่งๆ เป็นราคาที่กําหนดขึ้นโดยความ ต้องการที่จะซื้อทั้งสิ้น (Market demand) กับความต้องการที่จะ ขายทั้งสิ้น (Market supply) ในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ราคาตลาด จะเกิดขึ้นจากการติดกันของเส้นอุปสงค์ (Demand) ของตลาดตัด กับเส้นอุปทาน (Supply) ของตลาด |
Mature economy | หมายถึง เศรษฐกิจที่โตเต็มที่แล้ว เช่น ประเทศในแถบยุโรป ตะวันตก เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีอัตราการเพิ่มประชากรเป็นศูนย์ หรือติดลบ อันทําให้จํานวนประชากรคงที่หรือลดลง, ระบบเศรษฐกิจที่มีอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ํา มีการ ใช้จ่ายในการสร้างสาธารณูปโภคในอัตราส่วนสุดลง และมีการใช้จ่ายในการบริโภคในอัตราที่เพิ่มขึ้น |
MEA |
Multilateral Environmental Agreement หมายถึง ความตกลงพหุภาคีระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศภาคีร่วมมือกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในเรื่องต่างๆ ตามที่จะตกลงกันภายใต้ความตกลงฉบับนั้น ยกตัวอย่างความตกลง MEA ที่สำคัญ เช่น กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ความตกลงปารีส (Paris Agreement) อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน (The Basel Convention on The Control of Transboundary Movements of Hazardous Wastes and their Disposal) และอนุสัญญาไซเตสว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Floras: CITES) เป็นต้น |
MERCOSUR | Southern Common Market (หรือภาษาสเปนเรียกว่า Mercado Común del Sur) หมายถึง ตลาดร่วมตอนใต้ (เมร์โกซูร์) เป็นการรวมกลุ่มของ 4 ประเทศสมาชิก คือ อาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย และอุรุกวัย และมีสมาชิกสมทบ ได้แก่ ชิลี โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย และเอกวาดอร์ โดยมีเป้าหมายรวมตัวกันเป็นตลาดร่วม (Common Market) ซึ่งมีผลให้สินค้าและปัจจัยการผลิตสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีระหว่างประเทศสมาชิก และมีการใช้อัตราภาษีศุลกากรที่จัดเก็บจากสินค้าภายนอกตลาดร่วมกัน (Common External Tariffs-CET) รวมทั้งมีการประสานนโยบายเศรษฐกิจมหภาคร่วมกัน |
METI | Ministry of Economy, Trade, and Industry หมายถึง กระทรวงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ ญี่ปุ่นเป็นกระทรวงที่ทํางานในด้านที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ พลัง ของภาคเอกชน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐศาสตร์กับภายนอกนโยบายด้านพลังงาน และการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม |
MFA | Multifiber Arrangement หมายถึง ข้อตกลงสิ่งทอระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อ บรรลุการขยายตัวทางการค้า กําจัดอุปสรรคการค้าสินค้าสิ่งทอและ เครื่องนุ่งห่ม ส่งเสริมการพัฒนาการค้าที่เสมอภาค และหลีกเลี่ยง ความเสียหายที่อาจเกิดกับตลาดของทั้งประเทศผู้ส่งออกและนําเข้า ซึ่งข้อตกลงนี้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 |
MFN |
Most Favored Nations หมายถึง การประตีบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง เป็นการไม่เลือกปฏิบัติทางการค้ากับประเทศคู่ค้า |
MFN Rate (Tariff) |
Most – Favored Nation Rate (Tariff) หมายถึง อัตราภาษีปกติ ที่ประเทศสมาชิกของแกตต์และ องค์การค้าโลกให้ประเทศสมาชิกชําระแก่ประเทศนั้นๆ |
MNC |
Multinational Corporation หมายถึง บรรษัทข้ามชาติ บริษัทธุรกิจระหว่างประเทศเป็น บริษัทที่ผลิตสินค้าและบริการในหลายประเทศ บริษัทอันมีสํานักงาน ใหญ่ในหนึ่งประเทศ มีการดําเนินการในประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ |
MOFCOM | Ministry of Commerce หมายถึง กระทรวงพาณิชย์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน |
MOTIE | Ministry of Trade, Industry, and Energy หมายถึง กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงานของสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นกระทรวงเศรษฐกิจที่มีภารกิจครอบคลุมในด้านการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน |
MRA | Mutual Recognition Agreement (Arrangement) หมายถึง การทําความตกลง (ข้อตกลง) ยอมรับร่วมเป็นความตกลงที่เสนอให้คู่ค้าแต่ละฝ่ายยอมรับมาตรฐานและการตรวจสอบสินค้าของกันและกันในการทําการค้าระหว่างประเทศ และเกิดขึ้นเมื่อประเทศคู่ค้ามีมาตรฐานบังคับที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละประเทศจะเปรียบเทียบมาตรฐาน และวิธีการตรวจสอบคุณภาพสินค้าแต่ละชนิดที่จะทําการค้าของประเทศคู่ค้า โดยที่ไม่ต้องตรวจสอบและรับรองซ้ำอีกต่อไป |
MRAs | Mutual Recognition Arrangements หมายถึง ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัติวิชาชีพ |
MTR | Mid - Term Review หมายถึง การทบทวนแผนงานระยะกลาง เช่น MTR of AEC Blueprint 2025 คือ การทบทวนแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ค.ศ. 2025 ระยะกลาง ซึ่งเป็นการทบทวนการดำเนินการภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในช่วง 5 ปีแรกของแผนงาน (ระหว่างปี ค.ศ. 2016 - 2020) |
Mutual Recognition | หมายถึง การรับรองซึ่งกันและกัน เป็นการให้การรับรองว่า สินค้าของประเทศหนึ่งผ่านมาตรฐานสินค้าของอีกประเทศหนึ่ง บ่อยครั้ง การรับรองซึ่งกันและกันนี้จะอยู่บนพื้นฐานของความตกลง ระหว่างประเทศหากมาตรการนั้นเป็นข้อบังคับระหว่างกัน |
NAFTA | North American Free Trade Agreement หมายถึง ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 |
NAMA | หมายถึง ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก (WTO) ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ในปี พ.ศ. 2544 ได้กําหนดให้ เรื่องการเข้าสู่ตลาดสําหรับสินค้าที่มิใช่สินค้าเกษตร (NonAgricultural Market Access: NAMA) เป็นเรื่องหนึ่งในการเจรจา รอบใหม่ในกรอบ WTO หรือที่เรียกว่า การเจรจารอบโดฮา ซึ่ง กําหนดวัตถุประสงค์ของการเข้าสู่ตสาตสินค้าที่มิใช่สินค้าเกษตร โดยมีสาระสําคัญ คือ ลดหรือยกเลิกภาษีศุลกากร ภาษีสูงและภาษี ขั้นบันได และมาตรการที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะที่ใช้กับสินค้าที่เป็นสินค้าส่งออกที่สําคัญของประเทศกําลังพัฒนา |
Natural trading bloc |
หมายถึง กลุ่มการค้าที่ประกอบด้วย “คู่ค้าโดยธรรมชาติ (Natural trading partners) ซึ่งมีพรมแดนที่เชื่อมติดกัน มูลค่า ทางการค้าของกลุ่มการค้าโดยธรรมชาติจะสูงกว่า เนื่องจากต้นทุน ค่าขนส่งสินค้าหรือต้นทุนทางการค้าอื่นๆ ระหว่างประเทศต่ํากว่า ประเทศอื่น |
NDP | Net Domestic Product หมายถึง ผลิตภัณฑ์ในประเทศสุทธิ มีค่าเท่ากับผลิตภัณฑ์มวล รวมในประเทศหักค่าเสื่อมราคาออก การหา NDP นี้เป็นวิธีการวัดที่สมบูรณ์ที่สุดในการหากิจกรรมการผลิตภายในเขตแดนของประเทศ แม้ว่าอาจเกิดปัญหาเรื่องของความแม่นยําาของตัวเลข NDP เนื่องจากความยากลําบากในการวัดค่าเสื่อมราคา |
Negative List Approach | รูปแบบการเปิดตลาดการค้าบริการหรือการลงทุน ที่จะระบุสาขาหรือกิจกรรมที่ไม่ต้องการเปิดตลาด หรือมาตรการที่ยังเป็นข้อจำกัดที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณี (Non - Conforming Measures) และยังคงต้องการบังคับใช้ |
Net cost | หมายถึง ต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ผลิต หักด้วยต้นทุน ที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์การขาย การติสไติ การบริการหลัง การขาย และการบรรจุหีบห่อ เป็นต้น |
Net exports | หมายถึง การส่งออกสุทธิ์ เท่ากับมูลค่าการส่งออกหักมูลค่า การนําเข้า มีความหมายเดียวกันกับ (มีค่าเท่ากับ) ตุลการค้า (Bal ance of trade) |
New Economy | หมายถึง ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ ศัพท์คํานี้ใช้กันอย่างแพร่ หลายในช่วงหลังของศตวรรษที่ 20 เพื่อสื่อให้เห็นถึงโลกาภิวัฒน์ และ/หรือ นวัตกรรมใหม่ๆในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศโดยจะอนุมาน จากความสามารถในการผลิต ภาวะเงินเฟ้อ และการว่างงาน วงจร การทําธุรกิจ และมูลค่าของบริษัทต่างๆ |
New International Economic Order | หมายถึง ระเบียบเศรษฐกิจนานาชาติใหม่ เรียกร้องให้ประเทศ ในโลกที่หนึ่ง (กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศพัฒนาแล้ว) และประเทศในโลกที่สอง (กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่และกลุ่ม ประเทศกําลังพัฒนา) ตั้งกองทุนเพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคาสินค้าชั้นประถม |
New Trade Theory | หมายถึง ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศใหม่ เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1970 เป็นทฤษฎีที่เห็นว่า การประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) เป็นกุญแจสําคัญในการค้าระหว่างประเทศ ถ้าไม่มีการค้า ระหว่างประเทศ จะไม่เกิต Economies of Scale (การประหยัดต่อ ขนาด) ปัจจุบันการค้าเป็นเสรี หรือ ตลาดโลก (World Market) ขนาดของตลาดใหญ่มากขึ้นและจะง่ายต่อการประหยัดขนาด ดังนั้น แต่ละประเทศสามารถที่จะผลิตสินค้าที่ตัวเองเชี่ยวชาญมากขึ้นและ นําเข้าสินค้าได้หลายชนิดยิ่งขึ้นโดยต้นทุนสินค้าต่างๆจะสตลง การ ค้าระหว่างประเทศจึงก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย อีกทั้งประเด็นที่ ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศใหม่ให้ความสนใจ คือ ข้อได้เปรียบ ของการเข้าสู่ตลาดก่อน (First Mover Advantage) โดยถือว่าผู้ที่ เข้าสู่ตลาดก่อน ทําให้ได้เปรียบในการประหยัดต่อขนาดมากกว่า ผู้มาทีหลัง |
NI | National Income หมายถึง รายได้ประชาชาติ (1) ผลิตภัณฑ์ของประชาชาติทั้งหมด (Gross National Product) หักด้วยค่าเสื่อมราคาและการสูญเสียโดยอุบัติเหตุที่เกิด ขึ้นแก่ทรัพย์อันเป็นทุนและภาษีทางอ้อม ซึ่งรายได้ประชาชาติ เป็นการแสดงถึงจํานวนซึ่งประชาชาติจะสามารถบริโภคได้ หรือ สามารถจะใช้เป็นกําลังในการเพิ่มผลผลิตแก่ประชาชาติโดยปราศจาการกระทบกระเทือนถึงความสามารถในการที่จะก่อให้เกิด รายได้ประมาณเท่าๆ กันในระยะต่อไป (2) จํานวนเงินสุทธิ์ทั้งหมด อันเป็นค่าของสินค้าและบริการ ทั้งมวลที่ผลิตภายในประเทศในรอบปีหนึ่งๆ |
Nominal Exchange Rate |
หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนซึ่งบุคคลสามารถค้าขาย โดยอาศัย อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศตนเองก็บอัตราแลกเปลี่ยนของ ประเทศอื่นๆ ได้ทันที |
Non-actionable subsidy | หมายถึง การอุดหนุนที่ไม่จำเพาะเจาะจง หรือการอุดหนุนที่เฉพาะเจาะจงตามหลักเกณฑ์/เงื่อนไขที่กำหนด อาทิ การให้ความช่วยเหลือเพื่อการวิจัย |
Non-agricultural Product |
หมายถึง สินค้าที่ไม่อยู่ใน Annex 1 ของความตกลงเกษตรซึ่ง รวมสินค้าประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และสินค้าอุตสาหกรรม |
Non-automatic licensing | หมายถึง การออกใบอนุญาตแบบไม่อัตโนมัติสินค้าบางประเภท อาทิ อาวุธยุทโธปกรณ์ เวชภัณฑ์ สิ่งทอสารกัมมันตรังสี เครื่องบิน น้ํามันดิบ ผลิตภัจณฑ์จากน้ํามันและปิโตรเลียม และสารอื่น ๆ ที่มี ผลทําลายสิ่งแวดล้อม เช่น สาร CFC (Chloro Fluoro Carbon) สารประกอบลเยี่ยม (Lithium Compounds) จะต้องขอใบอนุญาต นําเข้าประเภท Non-Automatic License เท่านั้น โดยสินค้า เหล่านั้นจะต้องผ่านการตรวจสอบเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับสินค้านั้น ๆ ก่อนที่จะกรอกข้อมูลเข้าระบบ SISCOMEX |
Non-originating materials | หมายถึง วัสดุที่ไม่ได้ถิ่นกําเนิด คือ วัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้า แต่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดของกฏว่าด้วยถิ่นกําเนิดสินค้า |
Non-preferential rules of origin |
หมายถึง กฏว่าด้วยถิ่นกําเนิดสินค้าที่ใช้กับสินค้าที่ทําการ ค้าขายภายใต้เงื่อนไขการปฏิบัติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) |
Non-qualifying value | หมายถึง มูลค่าของสินค้าส่วนที่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดสําหรับ การใช้สิทธิพิเศษทางภาษี |
Nordic Council | หมายถึง สภานอร์ดิก เป็นเวทีความร่วมมือด้านรัฐสภาระหว่าง ประเทศสมาชิกนอร์ติก ประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 87 คน โดยมาจาก 5 ประเทศ (เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และ สวีเดน) และ 3 เขตการปกครองอิสระ (Faroe Islands, Greenland Aland) จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495 บนพื้นฐานของสนธิสัญญาเฮลซิงกิ ในการที่จะพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกด้านกฎหมาย วัฒนธรรมสังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม โทรคมนาคมและนโยบาย ด้านต่างประเทศและความมั่นคงโตยสภาฯ ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษา และควบคุมการดําเนินงานในประเด็นความร่วมมือต่างๆ ของประเทศสมาชิก |
North - North Trade | หมายถึง การค้าเหนือ เหนือ คือ การค้าหรือการแลกเปลี่ยน สินค้าและบริการระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วควยกันเอง |
North-South Cooperation |
หมายถึง ความร่วมมือระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศ กําลังพัฒนา |
NRP | Nominal Rate of Protection หมายถึง อัตราการคุ้มครองตามราคา เป็นการตั้งอัตราภาษีเพื่อ ปกป้องสินค้าในประเทศ NRP จะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่จะไปเพิ่มราคาของสินค้านําเข้า |
NT | Normal Track คือ รายการสินค้าที่อยู่ในกลุ่มสินค้าปกติ |
NT |
National Treatment หมายถึง การประติบัติเยี่ยงคนชาติ กล่าวคือ ให้การปฏิบัติต่อสินค้านําเข้าเช่นเดียวกับสินค้าที่เหมือนกันที่ผลิตภายในประเทศ ตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) ขององค์การการค้าโลก หรือการปฏิบัติต่อบริการหรือผู้ให้บริการของประเทศอื่นไม่ด้อยกว่าที่ให้การปฏิบัติต่อบริการหรือผู้ให้บริการของประเทศตนเอง ตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงทั่วไป ว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) ขององค์การการค้าโลก |
NTB | Non-tariff barriers หมายถึง มาตรการการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี กล่าวคือ ประเทศผู้นําเข้ากําหนดมาตรการต่างๆ ที่มิใช่ภาษีศุลกากรขึ้นมา เพื่อก็ตกันการนําเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดอุปสรรคต่อ ผู้ส่งสินค้าเข้าประเทศนั้น |
NTE | National Trade Estimate หมายถึง การจัดทํารายงานประจําปีในเรื่องข้อมูลอุปสรรค ทางการค้า การลงทุน และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของประเทศคู่ค้า เพื่อจะได้ทราบสถานการณ์ในภาพรวมและนําไปใช้ประกอบในการ กําหนดมาตรการกับประเทศคู่ค้า เช่น กรณีของสหรัฐฯ จะมีการเผย แพร่รายงาน NTE ในปลายเดือนมีนาคมของทุกปี และสหรัฐฯ จะใช้ รายงาน NTE ประกอบการพิจารณาจัดประเทศคู่ค้าให้อยู่ในบัญชี ต่าง ๆ ภายใต้ Special 301 |
NTMs | Non-Tariff Measures หมายถึง มาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร ซึ่งเป็นกฎระเบียบข้อ บังคับของภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศโดย WTOอนุญาตให้ใช้ได้ในกรณีของการส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรม ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายใต้ความตกลงต่างๆ ที่กํากับดูแลได้แก่ มาตรการด้านการเงิน การควบคุมปริมาณ การควบคุม ราคา การ ผูกขาด และการมีข้อกําหนดในการนําเข้าสินค้าบางชนิด เช่น การ ตรวจสอบคุณภาพสินค้าการตรวจสอบแหล่งกําเนิดสินค้า เป็นต้น) |
OAA | OSAKA Action Agenda หมายถึง ระเบียบวาระปฏิบัติการโอซากาที่ผู้นําเศรษฐกิจชาติ สมาชิกเอเปคได้ประกาศไว้ในปฏิญญาโอซากาซึ่งกําหนดให้ชาติ สมาชิกร่วมมือกันในการดําเนินกิจการหลัก 3 ประการอันถือเป็นเสา หลัก (Pillars) ของเอเปค นั้นคือ 1) การเปิดเสรีการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Liberalization) 2) การอํานวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Facilitation) 3) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ Economic and Technical Cooperation) |
OECD | Organization for Economic Cooperation and Development หมายถึง องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มทางเศรษฐกิจของ ประเทศสมาชิกที่พัฒนาแล้วในเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตกและแปซิฟิกและประสานนโยบายทั้งระดับภายในและต่างประเทศ ในการหารือต่างๆ มีสมาชิก 30 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษ และสาธารณรัฐเกาหลี เป็นต้น |
OECE | Overseas Economic Cooperation Fund หมายถึง กองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลเป็นหน่วย งานของรัฐบาลญี่ปุ่นจัดตั้งขึ้นในปี 2504 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศกําลังพัฒนาโดยเฉพาะ ประเทศในแถบเอเชีย โดยแบ่งเป็นความช่วยเหลือที่ให้กับรัฐบาล และหน่วยงานของรัฐบาล และความร่วมมือช่วยเหลือที่ให้กับบริษัทญี่ปุ่นที่มีการดําเนินโครงการในต่างประเทศ |
OIC | Organisation of Islamic Cooperation หมายถึง องค์การความร่วมมืออิสลาม ก่อตั้งเมื่อปี 2512 มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่น และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐมุสลิม โดยเป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดเป็นลำดับที่ 2 ของโลก รองจากสหประชาชาติ และสำคัญที่สุดของโลกมุสลิม มีสำนักเลขาธิการตั้งอยู่ที่เมืองเจดดาห์ ซาอุดีอาระเบีย ประกอบด้วยรัฐมุสลิมสมาชิกจำนวน 57 รัฐ ซึ่งมีประชากรรวมกันคิดเป็นร้อยละ 22 ของประชากรโลก และ OIC ยังมีรัฐผู้สังเกตการณ์ (Observer States) จำนวน 5 รัฐ ได้แก่ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา แอฟริกากลาง รัสเซีย ไซปรัสเหนือ รวมทั้งไทย |
OMA | Orderly Marketing Arrangement หมายถึง การจัดระเบียบทางการตลาดโดยผู้ส่งออกทําความ ตกลงกับผู้นําเข้า โดยจํากัดปริมาณการส่งออกของตนมิให้เกินกว่า ส่วนแบ่งตลาดที่ได้รับจัดสรรจากผู้นําเข้า เช่น การจัดระเบียบว่าด้วย การค้าสิ่งทอในกรอบความตกลงสิ่งทอระหว่างประเทศ (MEA) โดยกําหนดโควตานําเข้าจากประเทศต่างๆ |
Originating goods | หมายถึง สินค้าที่ได้ถิ่นกําเนิด ซึ่ง เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนด สําหรับการใช้สิทธิพิเศษทางภาษี |
PA | Pacific Alliance หรือกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 ณ กรุงลิมา เปรู ประกอบด้วยสมาชิกก่อตั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก และเปรู มีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าระหว่างภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และส่งเสริม การบูรณาการทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี |
Paris Convention | หมายถึง อนุสัญญาปารีส เป็นอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิบัตร คุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม |
Pass-through operations | หมายถึง การส่งสินค้าภายในเขตการค้าเสรี โดยส่งผ่านประเทศ สมาชิกที่มีภาษีศุลกากรต่ําที่สุดก่อนที่จะส่งต่อไปยังประเทศจริงที่ ต้องการจะทําการค้า (คล้ายกับการเปลี่ยนถ่ายสําเรือ) |
Patent |
หมายถึง สิทธิบัตร สิทธิที่จะได้รับประโยชน์เฉพาะตัว เอกสารสิทธิ์ เป็นหนังสือสําคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ |
Pathfinder | หมายถึง โครงการนําร่องสําหรับสมาชิก APEC ที่มีความพร้อม (Pathfnder Initiatives) ปัจจุบันมีจํานวน 9 โครงการและในจํานวนนั้น มี 7 โครงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้า ได้แก่ Adoption of The Revised Kyoto Convention on the Simplification and Harmonization of Customs Procedures. Electronic Sanitary and Phytosanitary Certification, Electronic Certificate of Origin, Mutual Recognition Arrangement of Conformity Assessment on Electrical and Electronic Equipment Part II and III, Trade and the Digital Economy, Sectoral Food MRA, Lay Technology Choice |
PCA | การเจรจากรอบความตกลงเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้าน (Comprehensive Partnership and Cooperation Agreement: PCA) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่สหภาพยุโรปทำร่วมกับประเทศมีความตั้งใจในการเปิดการค้าเสรีร่วมกัน |
PE | Produced Entirely หมายถึง เกณฑ์ที่อนุญาตให้ภาคีความตกลงการค้าเสรีสามารถนำวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดในภาคีอื่นมาผลิตต่อ โดยยังคงได้รับสิทธิถิ่นกำเนิดสินค้า |
Peace Clause | หมายถึง ขอบทใน Article 13 ของข้อตกลงเกษตรบอกว่าการ อุดหนุนการเกษตรบอกว่าการอุดหนุนการเกษตรภายใต้ข้อตกลงซะ ไม่ถูก challenge ภายใต้ข้อตกลงอื่นๆ โดยเฉพาะข้อตกลงที่เกี่ยว กับเรื่องการอุดหนุน อย่างไรก็ดี peace clause ได้หมดอายุลงแล้ว ในปี 2003 |
PECC | Pacific Economic Cooperation Council หมายถึง สภาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาค แปซิฟิก เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มิใช่รัฐบาล ประกอบด้วย ผู้แทนสามฝ่าย จากภาควิชาการเอกชนและรัฐบาลของประเทศริม ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 ด้วยการริเริ่มของ ออสเตรเลียและญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน ภูมิภาคแปซิฟิกปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี แคนาดา รัสเซีย เม็กซิโก ชิลี เปรู โคลัมเบีย ประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก และ เวียดนาม |
PED | Priority Economic Deliverable หมายถึง ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่ประธานอาเซียนในแต่ละปี ผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปีนั้นๆ |
Percentage criterion |
หมายถึง ข้อกําหนดที่ระบุว่าสัดส่วนของสินค้าตามที่กําหนดต้อง ผลิตในประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี ซึ่งโดยปกติจะกําหนดเป็นร้อยละขั้นต่ํา |
Plurilateral Agreement | ตามความหมายของ WTO หมายถึง เป็นความตกลงหลายฝ่ายซึ่ง การเข้าร่วมเป็นสมาชิกขึ้นอยู่กับความสมัครใจ ได้แก่ ความตกลงว่า ด้วยการจัดซื้อโดยรัฐ (Agreement on Government Procurement) ความตกลงว่าด้วยการค้าอากาศยานพลเรือน (Agreementon Trade in Civil Aircraft) ความตกลงว่าด้วยนมและผลิตภัณฑ์นม ระหว่างประเทศ (International Dairy Agreement ซึ่งถูกยกเลิกไป แล้วเมื่อปี พ.ศ. 2540) และความตกลงว่าด้วยเนื้อ Bovine ระหว่าง ประเทศ International Bovine Agreement ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2540) |
Positive List Approach | รูปแบบการเปิดตลาดการค้าบริการหรือการลงทุน ที่จะระบุเฉพาะสาขาหรือกิจกรรมที่ต้องการเปิดตลาด พร้อมกับการกำหนดเงื่อนไขที่เป็นข้อจำกัดด้านการดำเนินธุรกิจ |
Precautionary principle | หมายถึง หลักการระแวตระวัง เป็นหลักการที่ตั้งอยู่บนความคิต ขั้นพื้นฐานที่ว่า การใช้เทคโนโลยีบางประเภท เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ การติดต่อพันธุกรรม อาจนํามาซึ่งอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และ สัตว์ หรือสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจะยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีเทคโนโลยีดังกล่าวจะส่งผลเช่นนั้นจริง |
Predation |
หมายถึง การใช้กลยุทธ์การแข่งขันทางราคา (การขายในราคา ต่ํากว่า) เพื่อที่จะกําจัดคู่แข่งขันทางธุรกิจออกจากตลาด และเมื่อ ไม่มีคู่แข่งขันแล้ว บริษัทจึงเพิ่มราคาขึ้นเพื่อให้ได้กําไรแบบผูกขาดเพียงลําพัง |
Predatory dumping |
หมายถึง การทุ่มตลาดที่เกิดขึ้นเมื่อหน่วยผลิตแข่งขันกันตัด ราคาสินค้าเพื่อลดจํานวนคู่แข่งในธุรกิจลง |
Preferential duty (Preferential Tariff) |
หมายถึง พิกัดอัตราภาษีที่ให้สิทธิพิเศษ ซึ่งประเทศหนึ่งอาจให้ สิทธิพิเศษแก่สินค้าของอีกประเทศหนึ่ง |
Preferential rules of origin | คือ กฏว่าด้วยถิ่นกําเนิดสินค้าตามที่กําหนดต้องผลิตในประเทศ ที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร เช่น ความตกลงการค้าเสรี GSP |
Preferential Trading Arrangement | หมายถึง ข้อตกลงสิทธิพิเศษทางการค้า โดยประเทศผู้นําเข้า ให้สิทธิพิเศษทางการค้าบางประการแก่ประเทศคู่ค้าบางประเทศ เช่น การเก็บภาษีขาเข้าจากประเทศคู่ค้าเหล่านั้นในอัตราที่ต่ํากว่า ประเทศอื่นๆ เป็นต้น |
PSI | Preshipment Inspection หมายถึง การตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก เป็นมาตรการที่เกี่ยว กับกับการกําหนดหลักเกณฑ์ที่จะใช้กับตัวแทนที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐในการทําหน้าที่ตรวจสอบสินค้าก่อนการส่งออก โดยเฉพาะ ในด้านราคา ปริมาณ และคุณภาพของสินค้า ตามข้อตกสิ่งของ GATT และ WTO |
PSR | Product Specific Rule กฏถิ่นกําเนิดเฉพาะสินค้า เป็นกฏที่ใช้กําหนดว่าสินค้าชนิดหนึ่ง จะต้องผ่านเกณฑ์ใดเพื่อที่จะถือได้ว่าเป็นสินค้าที่มีถิ่นกําเนิดจาก ประเทศผู้ส่งออก เพื่อที่สินค้านั้นจะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี ศุลกากร เมื่อเข้าสู่ประเทศผู้นําเข้าที่เป็นภาคีความตกลงการค้าเสรี โดยทั่วไป มีเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณากฏ PSR ดังนี้ 1. เกณฑ์มูลค่าเพิ่ม (Value Added or Value Content) คือ เกณฑ์ที่กําหนดว่า ผู้ส่งออกจะต้องเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบ หรือสิน ค้าต้นน้ําเพื่อผลิตเป็นสินค้าส่งออกให้ได้ตามปริมาณที่กําหนดไว้ เช่น จะต้องมีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 40 ของราคาสินค้าที่จะส่งออก เป็นต้น 2 เกณฑ์การเปลี่ยนพิกัดศุลกากร (Change of Tariff Classification: CTC คือ เกณฑ์ที่กําหนดว่าขั้นตอนการผลิตจากวัตถุดิบ หรือสินค้าต้นน้ําเป็นสินค้าส่งออก จะต้องเกิดการเปลี่ยนพิกัด ศุลกากรในระดับตามที่กําหนด (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คําว่า Change of Tariff Classification) 3. เกณฑ์การผลิตเฉพาะ (Specifc manufacturing or proCessing operation) พิจารณาจากกรรมวิธีหรือกระบวนการการผลิตจากวัตถุดิบนําเข้าจนได้สินค้าส่งออกที่มีสาระสําคัญแตกต่างไป จัดเป็นเกณฑ์ที่ได้ถิ่นกําเนิดซึ่งอาจะมีหรือไม่มีการเปลี่ยนเลขพิกัด อัตราศุลกากรแต่อย่างใดก็ได้ เช่น การใช้ปฏิกิริยาเคมี (Chemical Reaction) การทําให้บริสุทธิ์ (Purification) การนําธาตุที่มี สารประกอบเหมือนกันมาผ่านกระบวนการให้ได้ของที่มีคุณสมบัติ ต่างกัน (Isomerization) การลดขนาดของอนุภาค (Reduction in particle size) และการผสมตามสูตรการผลิตสินค้าต่างๆ [Mixing and Blending) ทั้งนี้ ในแต่ละสินค้าสามารถมีกฏใตกฏหนึ่งกํากับ หรือหลายกฎ ผสมกัน เช่น “PVC 40% หรือพิกัดในระดับ 4 หลัก” ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ การเจรจาของประเทศภาคีว่าต้องการใช้กฏสําหรับสินค้านั้นมีความเข็มงวตเพียงใด |
PWL | Priority Watch List หมายถึง ประเทศที่ไม่ได้ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ บัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็น พิเศษ ซึ่งเป็นการจัดกลุ่มประเทศของสหรัฐอเมริกา ภายใต้กฎหมาย การค้าของสหรัฐมาตรา 301 Special ว่าด้วยเรื่องสิทธิในทรัพย์สิน ทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า ซึ่งไทยเคยถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้ |
QC | Quality Control หมายถึง การควบคุมคุณภาพ กระบวนการตรวจสอบสินค้าใน ระหว่างการผลิตทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนด โดย เป็นการกํากับตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบกระบวนการผลิต รวมทั้ง คุณภาพของผลผลิตที่ได้รับ สําหรับประเทศไทยสํานักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนําเอาระบบมาตรฐาน ISO 9000 ของ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานมาใช้ในการเสริมมาตรฐาน สินค้า โดยมุ่งเน้นให้สินค้าไทยได้มาตรฐานสากลและสามารถแข่งขัน ในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมาตรฐาน ISO9000 ได้กําหนดสิ่งต่างๆ ที่ ต้องมีในกระบวนการผลิต รวมทั้งแนวทางปฏิบัติที่ใช้เป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้ได้สินค้าที่ได้มาตรฐานตามที่กําหนด |
Quantitative Restriction | หมายถึง การจํากัดปริมาณสินค้านําเข้าหรือส่งออกของประเทศ นอกเหนือจากอากรภาษี หรือค่าภาระอื่นๆ เช่น การกําหนดโควตาการนําเข้า (Quota) การขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออก (Import or export license) |
QVC | Qualifying value content หมายถึง มูลค่าของสินค้าส่วนที่เป็นไปตามข้อกําหนดสําหรับใช้ สิทธิพิเศษทางภาษี |
R&D | Research and Development หมายถึง การวิจัยและพัฒนากิจกรรม อันองค์กรหนึ่งหาวิธีการ ผลิตต่างๆ (นวัตกรรม-กระบวนผลิต) และสร้างสรรค์สินค้าและ บริการใหม่ |
RCEP | Regional Comprehensive Economic Partnership หมายถึง ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม และประเทศคู่เจรจา 5 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และสาธารณรัฐเกาหลี เริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 |
Reciprocity | หมายถึง หลักการต่างตอบแทน ในการเจรจาการค้าระหว่าง ประเทศ การที่ประเทศต่าง ๆ ยอมลดอุปสรรคทางการค้าลง หรือให้ ประโยชน์อื่นผลตอบแทนเมื่ออีกประเทศหนึ่งยินยอมที่จะลด อุปสรรคทางการค้าลงมาด้วย หรือเสนอผลประโยชน์ในลักษณะ อย่างเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน โดยให้มีลักษณะต่างตอบแทนกันและได้ประโยชน์เท่าเทียมกันทั้ง 2 ฝ่าย |
Regional Economics Integration | หมายถึง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ มีขอบเขตการรวมกลุ่ม แคบที่สุดตั้งแต่การเป็ดตลาดและลดอุปสรรคทางการค้า จนถึง ขอบเขตกว้างที่สุดคือ รวมถึงการเปิดตลาดเสรีด้านการค้าบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายการแข่งขัน การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การจัดทํากลไกระงับข้อ พิพาทภายในกลุ่ม การใช้นโยบายการค้าภายนอก และการใช้นโยบายการเงินร่วมกัน |
REM | Replacement Equipment Manufacturer หมายถึง ตลาดในจีนที่ผลิตสินค้าและอุปกรณ์เพื่อทดแทนสินค้า และอุปกรณ์ที่ชํารุดเสียหาย โดยเป็นการเข้าไปในตลาดของผู้ใช้ รถยนต์มากกว่าการมุ่งเน้นไปที่บริษัทรถยนต์เป็นหลัก |
Roo | Rules of Origins หมายถึง กฎที่จัดทําขึ้นเพื่อแสดงถึงสัญชาติที่แท้จริงของสินค้า ว่ามีการปลูก ประกอบ หรือผลิตมาจากประเทศใด ทั้งนี้ กฏว่าด้วย ถิ่นกําเนิดสินค้าถูกนํามาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารด้านการนํา เข้าในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การกําหนดอัตราภาษีศุลกากรสําหรับ สินค้านําเข้า การกําหนดปริมาณโควตา การให้สิทธิประโยชน์ ทางการค้า ซึ่งรวมถึงสิทธิพิเศษในเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) การเก็บภาษีตอบโต้ การทุ่มตลาด หรือภาษีต่อต้านการอุดหนุน เป็นต้น |
RTAs | Regional Trade Arrangements หมายถึง ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆ กัน จัดเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีความสําคัญต่อการพัฒนา ซึ่งจะนําไปสู่ การค้าเสรีของโลก อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นขัดแย้งว่า RTAs นั้นจะ นําไปสู่การค้าเสรีได้เร็วขึ้น หรือเป็นตัวขัดขวางการค้าเสรีของโลก การรวมกลุ่มเศรษฐกิจดังกล่าวมีหลายรูปแบบ โดยจะมีความเข้มขึ้น ของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันไป เช่น ข้อตกลงการให้ สิทธิพิเศษของศุลกากร (Partial - union) เขตการค้าเสรี (Free Trade Areas) สหภาพศุลกากร (Customs Union) ตลาดร่วม (Common Market) เป็นต้น |
RTL | Regional Trade Lieralization หมายถึง การเปิตการค้าเสรีในภูมิภาคภายใต้ความร่วมมือทาง เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ได้มีการจัดตั้งกลุ่มไม่เป็นทางการ ว่าด้วยการค้าเสรีในภูมิภาคเอเปค (APEC Informal Group Regional Trade Liberalization) ขึ้น เพื่อพิจารณาเสนอแนะลู่ทาง ขยายความร่วมมือทางการค้าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว |
RVC | Regional Value Content หมายถึง เกณฑ์สัดส่วนมูลค่าเพิ่มภายในภูมิภาคเป็นเกณฑ์การพิจารณาการแปรสภาพของสินค้า โดยเปรียบเทียบสัดส่วนของมูลค่าภายในประเทศหรือภายในภูมิภาคที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าส่งออก เปรียบเทียบกับมูลค่าของวัตถุดิบที่ไม่ได้ถิ่นกำเนิด (Value of Non-originating Material หรือ VNM) ที่ใช้ผลิตสินค้านั้น |
S&D | Special and Differential Treatment หมายถึง ข้อบทสําหรับประเทศกําลังพัฒนาที่จะได้รับการ ปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง มีอยู่ในข้อตกลงของ VVTQ หลายฉบับ |
SAARC | South Asian Association of Regional Cooperation หมายถึง องค์กรความร่วมมือภูมิภาคเอเชียใต้ประกอบด้วย ประเทศสมาชิก 7 ประเทศ ได้แก่ เนปาล บังคลาเทศ ปากีสถาน ศรี ลังกา ภูฏาน หมู่เกาะมัลดีฟส์ และอินเดีย |
SACN | South America Community of Nations หมายถึง สหภาพอเมริกาใต้เกิดจากแนวคิดในการประชุมผู้นํา ประเทศในภูมิภาคอเมริกาใต้ ครั้งที่ 1 ณ กรุงบราซิเลียเมื่อปี 2543 ซึ่งมีผู้นําจาก 12 ประเทศ ได้ลงนามในปฏิญญาบราซิลเพื่อหา แนวทางในการรวมกลุ่มระหว่างตลาดร่วมอเมริกาใต้ (MERCOSUR) กับประชาคมแอนเตเรียน (ANDEAN COMMUNITY) และให้มีการ ก่อตั้งเขตการค้าเสรีให้แล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2545 ต่อมาในการ ประชุมผู้นําประเทศในภูมิภาคอเมริกาใต้ ครั้งที่ 3 ที่เมือง CuZc0 ประเทศเปรู ได้มีการลงนามใน Cuzco Declaration ประเทศตั้ง SACN เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาค และเพิ่มอํานาจต่อรอง ของกลุ่มในเวทีต่างๆ รวมทั้งการจัดตั้งเขตการค้าเสรี เพื่อขยายการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้ตั้งเป้าลดภาษีระหว่างกันภายใน 15 ปี และจะมีการเปิดเสรีภาคบริการและการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วย ประเทศสมาชิก SACN รวมทั้งสิ้น 12 ประเทศ ประกอบด้วย สมาชิก จาก MERCOSUR (อาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย และปารากวัย) สมาชิก ANDEAN (โบลิเวีย โคลัมเบีย เปรู และเอกวาดอร์เวเนซูเอลา) ชิลี สุรินัม และกายอานา |
SACU | Southern African Customs Union สหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้ เป็นสหภาพศุลกากรที่เก่าแก่ ที่สุดในโลก จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1910 ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก 5 ประเทศ คือ บอตสวานา เลโซโธ นามิเบีย สวาซิแลนด์ และ แอฟริกาใต้ ภายใต้ SACUไม่มีการเก็บภาษีศุลกากรระหว่างประเทศ สมาชิก และจะเรียกเก็บภาษีนําเข้าในอัตราเดียวกันจากประเทศ นอกกลุ่ม โดยสินค้าจะนําเข้าผ่านแอฟริกาใต้และถูกเก็บภาษี ศุลกากร ภาษีการขาย ภาษีสรรพสามิตในนามประเทศสมาชิก SACU และจะมีการแบ่งปันรายได้ทั้งกลาตามสัดส่วนการนําเข้า SACU ไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศสมาชิก สินค้าเข้า ณ ด่านศุลกากรประเทศหนึ่ง สามารถส่งไปยังประเทศผู้สั่งซื้อโดยตรงไม่ต้องตรวจโดยต่านศุลกากรอื่นๆ อีก |
SADC | Southern African Development Community หมายถึง ประชาคมเพื่อการพัฒนาแอฟริกาใต้ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 1992 เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อ ขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ คือ แองโกลา บอตสวานา เลโซโธ มาลาวี มอร์เซียส โมซัมบิก มาดากัสกา นามิเบีย แอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ แทนซาเนียร แซมเบีย ซิมบับเว สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และเซเชลส์ SADC มีการจัดตั้งเป็นการเขตการค้าเสรีเมื่อสิงหาคม 2008 และมีเป้าหมายการรวมกลุ่มเศรษฐกิจเป็นสหภาพศุลกากรภายในปี 2010 ตลาดรวมในปี 2015 สหภาพการเงิน ภายในปี 2016 และมี การใช้เงินสกุลเดียวกันภายในปี 2018 |
Safeguard Action | หมายถึง มาตรการการป้องกัน เพื่อปกป้องผู้ผลิตสินค้าประเภท ใดประเภทหนึ่งในประเทศจากการนําเข้ามากเกินไป (ข้อตกลง GATT มาตรา 19) และเพื่อปกป้องธุรกิจที่อยู่ในระยะเริ่มแรกของ ประเทศที่กําลังพัฒนา |
Safeguards | หมายถึง มาตรการชั่วคราวเพื่อช่วยในการปรับตัวภายในระบบ เศรษฐกิจมาจาก GATT มาตรา 19 (GATI Article XIX) เป็น มาตรการที่ยอมให้ประเทศสมาชิกดําเนินการเมื่อประเทศนั้นประสบปัญหาจากประเทศคู่แข่ง |
Safeguards Clause | หมายถึง มาตรา 19 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและ ภาษีศุลกากร (GAT) ที่อนุญาตให้ประเทศใดๆ จํากัดการนําเข้า สินค้าที่ทําให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ประเทศ หากแต่การ จํากัดการนําเข้านั้นต้องเป็นไปในช่วงเวลาจํากัดและจะต้องไม่องไม่ เป็นการเลือกปฏิบัติ (non-discriminatory) |
Safeguards Measures | หมายถึง มาตรการปกป้อง ซึ่งเป็ฯมาตรการฉุกเฉินเพื่อคุ้มครอง อุตสาหกรรมภายในประเทศ ในกรณีที่มีการนําเข้าสินค้าใดสินค้า หนึ่งเพิ่มมากขึ้นจนก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรืออาจ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ ที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันหรือสินค้าที่แข่งขันกันโดยตรงตาม Article XIX ภายใต้ GAT และ Agreement of Safeguards โดยมาตรการ ปกป้อง อาจทําได้โดยการขึ้นอัตราภาษีสินค้านําเข้าให้สูงกว่าที่ ผูกพันไว้ใน WTO หรือการกําหนดโควตาสินค้านําเข้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม safeguards อาจหมายถึง มาตรการปกป้อง ดุลการชําระเงิน ตาม Article XII ของ GAIT หรือมาตรการปกป้อง โดยรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา ตาม Article XVII ของ GATT ก็ได้ |
SAFTA | South Asian Free Trade Area หมายถึง เขตการค้าเสรีเอเชียใต้ เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ รูปแบบหนึ่งที่รัฐบาลเอเชียใต้ 7 ประเทศ ได้แก่ เนปาล บังคลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา ภูฏาน หมู่เกาะมัลดีฟส์ และอินเดีย กําลัง วางแผนร่วมกันจัดตั้งขึ้น ตามความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทาง การค้าของเอเชียใต้ (South Asian Preferential Trading Arrang ment) ปัจจุบันประเทศดังกล่าวทั้ง 7 ประเทศ เป็นสมาชิกของ สมาคมความร่วมมือภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asain AS50ciation of Regional Cooperation : SAARC) |
Sanction | มี 2 ความหมาย คือ (1) การอนุญาตอย่างเป็นทางการให้ใช้นโยบายทางเศรษฐกิจ เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง (2) มาตรการการคว่าบาตร เป็นการลงโทษโดยประเทศหรือ กลุ่มประเทศใดๆ ต่อประเทศหนึ่งๆ ซึ่งทําผิดกฎหมายหรือ ธรรมเนียมปฏิบัติระหว่างประเทศ |
SCCP | Sub-Committee on Customs Procedures หมายถึง คณะอนุกรรมการด้านพิธีการศุลกากร อยู่ภายใต้คณะ กรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุนของเอเปค โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การอํานวยความสะดวกทางการค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดย ประสานพิธีการศุลกากรให้ง่ายขึ้น |
Schedule of concession | หมายถึง ตารางรายการสินค้าที่มีข้อผูกพันการลดและยกเลิกอากรศุลกากร |
Schedule of Specific Commitments | หมายถึง ตารางข้อผูกพันเฉพาะสำหรับการเปิดเสรีบริการภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) ขององค์การการค้าโลก เป็นตารางที่สมาชิก WTO แต่ละประเทศระบุข้อผูกพันการเปิดตลาดบริการสาขาต่างๆ ตามรูปแบบการให้บริการ (Mode of Supply) พร้อมกับระบุเงื่อนไขที่เป็นข้อจำกัดสําหรับต่างชาติในการเข้าสู่ตลาด (Market Access) และการได้รับการปฏิบัติตามหลักการประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) |
Schengen Agreement | หมายถึง สนธิสัญญาเชงเก้น เป็นความตกลงระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปอันให้สัตยาบันเมื่อ พ.ศ. 2528 สาระสําคัญ เป็นการอนุญาตให้สมาชิกในกลุ่มสามารถเดินทางระหว่างกันโดยไม่ ต้องถือหนังสือเดินทาง ข้อตกลงนี้มีผลต่อประชากร 4,000,000 คนใน 20 ประเทศ (21 ธันวาคม พ.ศ. 2550) ครอบคลุมเนื้อที่ 4,268,633 ตารางกิโลเมตร (1,648,128 ตารางไมล์) นอกจากนั้นยัง ให้การอนุญาตชั่วคราวกับผู้ถือใบอนุญาตเชงเกน (Schengen Visa) มีสิทธิ์ในการเดินทางได้ชั่วคราวในประเทศสมาชิกโดยถือใบอนุญาต ใบเดียว ตามสนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) ข้อ ตกลงและตัดสินใจทุกข้อของความตกลงเชงเกนกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของกฎหมายของสหภาพยุโรป ประเทศที่ลงนามในความตกลงฉบับนี้มีด้วยกัน 30 ประเทศ รวมทั้งประเทศในสหภาพยุโรปทุกประเทศ และประเทศนอก สหภาพอีก 3 ประเทศคือ ประเทศไอซ์แลนติ ประเทศนอร์เวย์ และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมี 24 ประเทศที่ใช้ความตกลงนี้ สหราชอาณาจักรยังมิได้ใช่กฏนี้หลังจากที่มีการปฏิบัติข้อตกลงนี้ ต่านหรือป้อมตรวจคนเข้าเมืองของประเทศที่อยู่ในเครือเซงเกนก็ถูกรื้อทิ้ง |
SCM | หมายถึง การอุดหนุนและมาตรการตอบโต้ ตามความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้ (Agreement on Subsidies and Countervailing Measures: ASCM) โดยหมายถึงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐบาล เช่น เงินให้เปล่า เงินกู้ การยกเว้นภาษี เป็นต้น และมีผู้ได้รับผลประโยชน์จากการอุดหนุนดังกล่าว ซึ่งการอุดหนุนแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) การอุดหนุนที่ห้ามกระทำ (Prohibited Subsidies) และ (2) การอุดหนุนที่อาจถูกมาตรการตอบโต้ (Actionable Subsidies) หากพิสูจน์ได้ว่าเกิดผลเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในของประเทศอื่น |
SCSC | Sub Committee on Standards and Conformance หมายถึง คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานของเอเปค ตั้งขึ้นในปี 2537 อยู่ภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน มีเป้า หมายหลัก คือ การประสานมาตรฐานให้ตรงกัน เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตและการอํานวยความสะดวกทางการค้า ระหว่างประเทศ |
SDR | Special Drawing Right หมายถึง สิทธิพิเศษโอนเงิน หรือ สิทธิ์ถอนเงินพิเศษ เป็นเครื่อง มือในการจ่ายเงินระหว่างประเทศ และยังใช้เป็นเงินสกุลโลก สิทธิ พิเศษถอนเงินนี้จัดทําขึ้นโดย IMF เมื่อปี พ.ศ. 2512 เพื่อใช้กับอัตรา แลกเปลี่ยนคงที่ หรือ Bretton Woods System ซึ่งได้แก่ เงิน 4 สกุล หลักในโลกที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศ คือ เงินยูโร (Euro) เงิน ปอนด์อังกฤษ (Pound Sterling) เงินเยน (Japanese Yen) และเงิน ดอลลาร์สหรัฐ (United States Dollar) ปัจจุบัน SDR จะใช้เพื่อเป็น หลักทรัพย์สํารองระหว่างประเทศเท่านั้น โดยมีสภาพเป็นหน่วย บัญชี (มีตัวเลขปรากฏในบัญชี) |
Seasonal Quota | หมายถึง โควตาตามฤดูกาล เป็นการจํากัดปริมาณสินค้านําเข้า สําหรับช่วงใดช่วงหนึ่งของปี |
Seasonal tariff | หมายถึง กําหนดอัตราภาษีนําเข้าตามฤดูกาล เป็นอัตราภาษีที่ คิดอัตราต่างกันในแต่ละช่วงของปี ปกติจะใช้อัตราภาษีนี้กับผลผลิต ทางการเกษตร โดยจะคิดอัตราภาษีนําเข้าสูงสุดในเวลาที่มีการเก็บเกี่ยวภายในประเทศ |
SECA | Strategic Economic Cooperation Arrangement หรือยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (เซก้า) มีวัตถุประสงค์เพื่อนำปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับออสเตรเลียไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม กระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและออสเตรเลีย และพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้ครอบคลุมหลายมิติยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญกับระบบการค้าภายใต้องค์การการค้าโลก การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด - ๑๙ ความเท่าเทียมทางเพศและการส่งเสริมบทบาทของสตรีในระบบเศรษฐกิจ และการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญในทุกมิติ ทั้งนี้ ไทยและออสเตรเลียได้กำหนดสาขาความร่วมมือที่จะให้ความสำคัญ รวม 8 สาขา ได้แก่ (1) เกษตร เทคโนโลยี และระบบอาหารที่ยั่งยืน (2) การท่องเที่ยว (3) บริการสุขภาพ (4) การศึกษา (5) การค้าดิจิทัลและเศรษฐกิจดิจิทัล (6) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (7) การลงทุนระหว่างกัน และ (8) พลังงาน เศรษฐกิจสีเขียว และการลดการปล่อยคาร์บอน |
Section 301 | หมายถึง ส่วนหนึ่งใน Trade Act 1974 ของสหรัฐฯ ที่กําหนด อํานาจหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ในการกําหนดมาตรการ ตอบโต้ประเทศอื่นที่มีการกําหนดนโยบายหรือการปฏิบัติที่เป็นการ ละเมิดสิทธิ์หรือผลประโยชน์ของสหรัฐฯ หรือเลือกปฏิบัติและจํากัดต่อการค้าของสหรัฐฯ |
Sectoral rules of origin | หมายถึง กฏว่าด้วยถิ่นกําเนิดสินค้าที่ใช้กับเฉพาะสาขาใดสาขา หนึ่งเท่านั้น เช่น สาขาสิ่งทอ สาขายานยนต์ และสาขาเคมีภัณฑ์ เป็นต้น |
Self-Certification | หมายถึง การรับรองตนเอง ภายใต้เรื่องกฏว่าด้วยถิ่นกําเนิด สินค้าหรือระเบียบวิธีปฏิบัติสําหรับการออกหนังสือรับรอง ซึ่ง หมายถึงการที่ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และ/หรือผู้นําเข้าสินค้า (Declaration) บนใบกํากับราคาสินค้า Invoice) หรือเอกสารทางการค้าอื่นใด หรือ กําหนดแบบฟอร์มขึ้นมาโดยเฉพาะตามแต่จะตกลงกัน นอกจากนี้ บางความตกลงอาจมีเงื่อนไขสําหรับผู้ที่จะสามารถรับรองตนได้ เช่น ต้องเป็นผู้ส่งออกที่ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานราชการ (Approved Exporter) |
SEM | Single European Market หมายถึง ประชาคมยุโรป หรือสหภาพยุโรปในปัจจุบันได้ลงนาม ในกฎหมายยุโรปเดียว โดยมีเป้าหมายเพื่อรวมตลาดประชาคมยุโรป ให้เป็นตลาดเดียว มีการเคลื่อนย้ายทางด้านสินค้า บริการ ทุน และ ประชาชนโดยเสรี ปราศจากอุปสรรคก็ตกันโดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา |
SEOM | Senior Economic officials Meeting หมายถึง การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ประกอบด้วยผู้แทน ระดับปลัดกระทรวงด้านเศรษฐกิจการค้าหรืออธิบดี มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน เช่น การดําเนินการอาฟต้า การดําเนินการเพื่อไปสู่การเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน โดยจะมีการประชุมเป็นประจําปีละ 4 ครั้ง |
SG | Safeguard Measure หมายถึง มาตราการปกป้อง เป็นมาตรการฉุกเฉินเพื่อคุ้มครอง อุตสาหกรรมภายในประเทศ ในกรณีที่การนําเข้าสินค้ใดสินค้าหนึ่ง เพิ่มมากขึ้นจนก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงหรืออาจก่อให้เกิด ความเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ |
Shepherd | หมายถึง ผู้ประสานโครงการประเทศสมาชิกเอเปคทั้ง 21 ประเทศ จะมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในโครงการต่างๆ รวม 10 โครงการ เช่น โครงการส่งเสริมการค้าโครงการทบทวนข้อมูลทาง ด้านการค้าและการลงทุน และโครงการประมง เป็นต้น |
Single Undertaking | หมายถึง ข้อเสนอที่ต้องการให้อีกฝ่ายตกลงหรือปฏิเสธผลของ การเจรจาหลายๆ ประเด็นทั้งหมด มากกว่าการที่จะเลือกตกลงหรือ ปฏิเสธอย่างใดอย่างหนึ่ง |
SL | Sensitive List หมายถึง รายการสินค้าออนไหว เป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหว และต้องการระยะเวลาในการปรับตัวนานกว่ากลุ่มสินค้าปกติ โดยจะ มีเกณฑ์การลดภาษีที่ช้ากว่ากลุ่มสินค้าปกติ |
SMEWG | Small and Medium Enterprises Working Group หมายถึง คณะทํางานด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของเอเปค ได้มีการเปลี่ยนชื่อเมื่อปี พ.ศ. 2543 จากชื่อเดิม “กลุ่ม เฉพาะกิจระดับนโยบายด้านวิสาหกิจขนาติกลางและย่อม” โดยมี วัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยวิสาหกิจขนาติกลางและขนาดย่อมใน ภูมิภาค พัฒนาความสามารถและการแข่งขัน และสร้างบรรยากาศ การค้าและการสิงทุนที่เปิดกว้างเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ |
SOM | Senior Officials Meeting มี 2 ความหมายคือ 1. หมายถึง การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคเพื่อหารือเรื่อง ที่เกี่ยวกับการค้าการลงทุนและประเด็นด้านเศรษฐกิจ 2. หมายถึง การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงการ ต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน |
SOMTI | Senior Officials Meeting on Trade and Investment หมายถึง การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการค้าและการลงทุน ภายใต้ความร่วมมืออาเซียนเป็นการประชุมเพื่อหารือเรื่องที่เกี่ยวกับการค้าและการลงทุนระหว่างเอเชียและยุโรป |
Special 301 | หมายถึง ข้อบทหนึ่งในกฎหมายการค้าของสหรัฐฯ ปี 1974 แก้ไขโดยกฎหมาย Omnibus Trade and Competitiveness Act of 1988 ภายใต้บทบัญญัติ Special 301 นี้ สํานักผู้แทนการค้า สหรัฐฯ (US Trade Raper-sentative:USTR) จะจัดประเทศคู่ค้าให้ อยู่ในบัญชีต่างๆ ตามระดับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของ สหรัฐฯ โดยหากมีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาน้อยจะอยู่ในบัญชี Watch List หากมีการละเมืดมากขึ้นจะอยู่ในบัญชี Priority Watch List และถ้ามีการละเมิดมากที่สุดจะถูกจัดอยู่ในบัญชี Priority Foreign Country ซึ่งสหรัฐฯ จะใช้มาตรการตอบโต้ |
Special Safeguard | เป็นมาตรการปกป้องภายใต้ความตกลงเกษตรของ WTO (Agreement on Agriculture) ที่ให้สิทธิแก่ประเทศสมาชิกที่จะสามารถใช้มาตรการปกป้อง โดยการขึ้นภาษีกับรายการสินค้าเกษตรบางรายการที่สงวนสิทธิไว้ (ไทยสงวนสิทธิไว้สําหรับสินค้า 23 รายการ) โดยหลักเกณฑ์จะแตกต่างจากมาตรการปกป้องทั่วไปภายใต้ความตกลงว่าด้วยมาตรการปกป้อง เนื่องจากจะไม่มีการพิจารณาว่าการทะลักเข้ามาของสินค้านั้นก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือคุกคามให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือไม่ หากแต่พิจารณาจากปริมาณการทะลักเข้ามาของสินค้าหรือราคาสินค้าที่นําเข้าลดต่ำลง |
Specific Quota | หมายถึง ปริมาณโควตาที่กําหนดขึ้นสําหรับประเทศใดประเทศ หนึ่งโดยมากจะเรียกว่า Country Specific Quota (CSQ) |
SPS | Sanitary and Phytosanitary Measures หมายถึง มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เป็น มาตรการทางด้านมาตรฐานสินค้าทางการเกษตรเพื่อปกป้องชีวิต มนุษย์ พืช และสัตว์จากสารปรุงแต่ง ปนเปื้อนสารพิษ และเชื้อโรคที่ อาจติดมากับสินค้านําเข้า (ประเทศสมาชิก WTO มีสิทธิ์ใช้มาตรการ SPS ได้) โตยที่มาตรการที่ใช้จะต้องสอดคลื้องกับมาตรฐานสากล และมีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์) |
SPs | Special Products หมายถึง สินค้าพิเศษ หรือสินค้าที่ได้รับความยืดหยุ่นสําหรับ ประเทศกําลังพัฒนาในการเป็ตตสาต (การสิตภาษีและการขยาย โควตา) โดยการกําหนดสินค้าพิเศษจะต้องอยู่บน 3 พื้นฐานหลัก ได้แก่ ความมั่นคงด้านอาหาร ความอยู่ดีกินดีของเกษตรกร และการ พัฒนาชนบท |
SSG | Special Safeguard หมายถึง มาตรการปกป้องผู้ผลิตภายในแบบพิเศษโดยขึ้นภาษี ให้สูงกว่าระดับที่ผูกพันไว้ โดยมาตรการนี้ให้ใช้กับเฉพาะสินค้า เกษตรที่มีการใช้มาตรการโควตาภาษีบางรายการ โดยมีประเทศ สมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) จํานวน 39 ประเทศ ที่ใช้ SSG ทั้งนี้ การใช้ S5G จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข คือ ปริมาณการนํา เข้าสูงกว่าที่กําหนดไว้ หรือราคาสินค้านําเข้าต่ํากว่าราคาที่กําหนดไว้ รวมทั้งไม่ใช้ SSG กับสินค้านําเข้าในโควตา |
Standstill | การผูกพันการเปิดเสรีเทียบเท่ากับกฎหมายปัจจุบัน โดยการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบหรือมาตรการใดๆ ในอนาคตจะต้องไม่มีผลเป็นการลดระดับการเปิดเสรีหรือสร้างข้อจำกัดทางการค้าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกฎหมายที่มีอยู่เดิม |
State trading | หมายถึง การค้าที่หน่วยงานของรัฐ หรือบริษัทเอกชน หรือ บริษัทเฮกชนที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลให้ได้สิทธิพิเศษในการค้า ระหว่างประเทศ การค้าประเทศนี้ไม่จําเป็นต้องเป็นการค้าที่มี ลักษณะผูกขาด (Monopoly) หรือมีการจํากัดปริมาณการค้า และไม่ จําเป็นที่จะต้องเป็นการค้าของรัฐบาลหรือเป็นของรัฐวิสาหกิจ (GAIT มาตรา XVI) |
STEER | Singapore - Thailand Enhanced Economic Relationship หมายถึง กรอบความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสิงคโปร์ โดยเป็นกรอบการประชุมระดับรัฐมนตรีการค้า ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เป็นประธาน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในสาขาที่ไทยและสิงคโปร์มีความเกื้อกูลกัน อาทิ ด้านการเกษตร การลงทุน การอำนวยความสะดวกทางการค้า การบิน การท่องเที่ยว ทรัพย์สินทางปัญญา และเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือและความเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชนของทั้ง 2 ประเทศ |
Strategic trade policy | หมายถึง การใช้นโยบายทางการค้าเพื่อเปลี่ยนผลของการ แข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปตามความต้องการ โดย ปกติแล้งจะทําโดยการอนุญาตให้บริษัทในประเทศได้กําไรมากกว่าบริษัทต่างประเทศ |
Structural Adjustment | หมายถึง การเคลื่อนย้ายทรัพยากร (แรงงานและทุน) ระหว่าง ภาคการผลิต เพื่อเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนแปลง เช่น เงื่อนไขทางการค้าหรือนโยบายเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น |
Subsidy | หมายถึง การอุดหนุน ซึ่งเป็นเงินช่วยเหลือที่รัฐบาลให้แก่ภาค เอกชน เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสินค้า ทั้งนี้ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตราการตอบโต้ (SCM Agreement) องค์การการค้าโลก (WTO) ได้กําหนดคํานิยามเฉพาะของคําว่า Subsidy หมายถึง ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาล หรือหน่วย งานของรัฐที่ให้เป็นการเฉพาะเจาะจง โดยความช่วยเหลือนั้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับ |
Substantial Transformation | หมายถึง เกณฑ์การได้ถิ่นกําเนิดสินค้า โดยพิจารณาว่าสินค้านั้น จะต้องถูกแปรรูปไปจากวัตถุดิบอย่างมากจนก่อให้เกิดเป็นสินค้า ใหม่ มีรูปลักษณ์ที่แตกต่างไปจากวัตถุดิบเดิมอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ โดยปกติจะใช้หลักเกณฑ์ เช่น เกณฑ์การเปลี่ยนพิกัดศุสิกากร (Change of Tariff Classification) และเกณฑ์สัดส่วนมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น |
Super 301 | หมายถึง Section 301 ของกฎหมายการค้าปี 1974 ของสหรัฐฯ ที่มีการแก้ไข และมีการออก Super 301 กําหนดให้ USTR ระบุ ประเทศที่เป็น Priority Foreign Country ที่มีการค้าที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งมีผลจํากัดอย่างยิ่งต่อการส่งออกของสหรัฐ ฯ และให้มีการ ไต่สวนภายใต้ Section 301 กับประเทศที่มีการกระทําดังกล่าว |
TAFTA | Thailand-Australia Free Trade Agreement หมายถึง ความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับออสเตรเลียซึ่งมี การลงนามเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 |
TAFTAJC | Thailand - Australia Free Trade Agreement Joint Commission หมายถึง ความตกลงคณะกรรมาธิการร่วมความตกลงการค้า เสรีไทย-ออสเตรเลีย (คณะกรรมาธิการร่วมเอฟทีเอ) ที่จัดตั้งขึ้นตาม ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย เพื่อทําให้มั่นใจว่ามีการ ปฏิบัติตามความตกลงฯ อย่างถูกต้อง และเพื่อทบทวนความสัมพันธ์ และความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างคู่ภาคีเป็นระยะๆ โดยประชุมในระดับรัฐมนตรีหรือเจ้าหน้าที่อาวุโสตามที่คู่ภาคีจะ กําหนดร่วมกันเป็นครั้งคราว และจะต้องประชุมภายใน 1 ปี นับจากความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ หลังจากนั้น จะมีการประชุมทุกปี หรือตามที่จะกําหนตร่วมกัน โดยจะจัดขึ้นสลับกันในดินแดนของ ภาคแต่ละฝ่าย |
Tariff binding | เป็นข้อผูกพันที่จะไม่เก็บภาษีเกินกว่าระดับที่ตกลงผูกพันไว้ หากมีการเก็บเกินจะต้องมีการชดเชยแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ |
Tariff Protection | หมายถึง การตั้งกําแพงภาษี ซึ่งเป็นการกีดกันโดยการใช้ มาตรการทางภาษีเก็บภาษีในอัตราสูง เพื่อให้สินค้านําเข้ามีราคาสูง ราคาสินค้าชนเดียวกันผลิตที่ผลิตในประเทศ |
Tariffication | หมายถึง การเปลี่ยนแปลงมาตรการจํากัดการนําเข้าที่มิใช่ภาษี ให้เป็นมาตรการภาษี (เฉพาะสินค้าเกษตร) |
TASK | Technology Advice and Solution by Korea เป็นโครงการให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการของรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการอาเซียน ซึ่งโครงการ TASK อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงานของสาธารณรัฐเกาหลี |
TBT | Technical Barriers to Trade หมายถึง มาตรการเกี่ยวกับอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ระหว่างประเทศ เป็นมาตรการในการกําหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยทั่วไป ได้แก่ การกําหนดกฎระเบียบทางด้านเทคนิค และ มาตรฐาน รวมถึง การทดสอบและระเบียบการรับรองและระบบ ใบรับรองสําหรับสินค้าส่งออกและนําเข้า โดยการกําหนดมาตรฐาน ตั้งกสาวจะต้องไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ โดย ไม่จําเป็นและไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ |
TC | Tariff Classification หมายถึง พิกัดศุลกากร ใช้จัดระบบสินค้าที่ค้าขายกัน ระหว่างประเทศ ซึ่งภายใต้ระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized System: HS) ที่กําหนดโดยองค์การศุลกากรโลก (World Custom Organization: WCO) แบ่งเป็น - หมวด (Section) ซึ่งมีทั้งหมด 21 หมวด - ตอน (Chapter) เลขรหัส 2 ตัวแรก - ประเภท (Heading) เลขรหัส 4 ตัว - ประเภทย่อย (Subheading) คือ พิกัดอัตราศุลกากรที่แยก ย่อยลงไป มีเลขรหัส 6 ตัว เช่น 0101.11 เลข 2 ตัวแรกเป็นเลขลําดับตอน เลข 2 ตัวกลาง เป็นเลขลําดับของประเภทในตอนนั้น และเลข 2 ตัวหลังเป็น เลขลําดับประเภทย่อย |
TCFTA | Free Trade Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Republic of Chile หรือความตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐชิลี ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเสรีทางการค้า ครอบคลุมการค้าสินค้า การค้าบริการ และกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและชิลี |
TCFTC | Thailand - Chile Free Trade Commission หรือคณะกรรมการกำกับการดำเนินการตามความตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐชิลี ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลและประสานงานในการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ การประชุม TCFTC มีกำหนดจัดขึ้นเป็นระยะๆ ปัจจุบัน มีการจัดประชุม TCFTA แล้ว 3 ครั้ง ในปี 2560 2561 และ 2562 ตามลำดับ |
TEBA |
Thai European Business Association (TEBA) สมาคมการค้าไทยยุโรปเป็นผู้แทนของภาคธุรกิจและนักลงทุนทั้งไทยและยุโรป ประเภท member - based ทั้งฝ่ายไทยที่ดำเนินธุรกิจการค้าการลงทุนในยุโรป และทั้งนักลงทุนยุโรปที่ดำเนินธุรกิจร่วมทุนในประเทศไทย วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจการค้าและการลงทุน โดยให้ผู้ประกอบการไทยและยุโรปหาประโยชน์ร่วมกัน (mutual benefit) และส่งเสริมผลประโยชน์ที่เกื้อหนุนกันทั้งสองฝ่าย เช่น ให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างงานภายในประเทศ โดยในแต่ละปี TEBA มีแผนกิจกรรมให้ภาคธุรกิจทั้งไทยและยุโรปหารือ/แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและสร้างโอกาสทางธุรกิจระหว่างกัน |
Technical test method | หมายถึง ข้อกําหนดที่ว่าด้วย สินค้าต้องผลิตตามกระบวนการ ที่กําหนดจึงจะถือว่ามีคุณสมบัติที่จะได้รับการปฏิบัติที่เป็นพิเศษ |
TEL | Telecommunication and Information Working Group หมายถึง ศิณะทํางานด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศของ เอเปค ก่อตั้งเมื่อปี 2533 เพื่อพัฒนาบุคลากรการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาค จัดการฝึกอบรม และยกระดับมาตรฐานด้านโทรคมนาคม |
TFAP | Trade Facilitation Action Plan หมายถึง แผนปฏิบัติการอํานวยความสะดวิตทางการค้าภายใต้ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน เพื่อหาแนวทางลดอุปสรรค ทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ส่งเสริมโอกาสทางการค้าระหว่าง ภูมิภาคเอเชียและยุโรป เพื่อสนับสนุนการดําเนินการในเวทีการ เจรจาสองฝ่ายและหลายฝ่าย ทั้งนี้ แผน TEAP มีทั้งหมด 6 สาขา ได้แก่ พิธีการศุลกากร มาตรฐานและการรับรองสุขอนามัย ทรัพย์สิน ทางปัญญา การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐและอื่นๆ โดยมี SOMTI ทําหน้าที่กํากับดูแลการดําเนินงานตามแผน TFAP |
Thai - EU SOM | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย - สหภาพยุโรป (Thai - European Union Senior Officials’ Meeting: Thai - EU SOM) จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2555 เป็นการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสของไทยและสหภาพยุโรป เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล ประเด็นต่างๆ เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ของสองฝ่าย โดยมีกระทรวงการต่างประเทศทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขาการประชุมฯ และอธิบดีกรมยุโรปเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย และผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศสหภาพยุโรป (European External Action Sevices: EEAS) |
Theory of Absolute advantage | หมายถึง ทฤษฎีว่าด้วยการได้เปรียบสมบูรณ์ โดย Adam Smith เป็นแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ ให้แต่ละ ประเทศผลิตเฉพาะสินค้าและบริการที่ตนมีความได้เปรียบใน ด้าน ต้นทุนการผลิตต่ํากว่าประเทศอื่น สภาวะการค้าของโลกเกิดขึ้น เพราะประเทศต่างๆ มีความแตกต่างในความได้เปรียบในการผลิต สินค้าและบริการชนิดต่างๆ อย่างชัดแจ้ง ลักษณะเช่นนี้ถือเป็นการ แบ่งงานกันทําระหว่างประเทศ ก่อเกิดประโยชน์กับทุกประเทศ ร่วม กัน ทําให้แต่ละประเทศเพิ่มความเชี่ยวชาญในการผลิตมากขึ้น |
Third Country Invoicing | หมายถึง การค้าปกติ ประเทศผู้ผลิตและผู้ขายเป็นประเทศ เดียวกัน การอ้างสิทธิพิเศษทางภาษีจึงใช้หนังสือรับรองถิ่นกําเนิด สินค้า (CO) ที่ออกโดยประเทศผู้ผลิตและอ้างอิงใบกํากับราคาสินค้า (Invoice) ของประเทศผู้ผลิตนั้น ส่วนการซื้อขายผ่านประเทศที่สาม คือ ประเทศผู้ผลิตและ ประเทศผู้ขายเป็นคนละประเทศ และในบางกรณีประเทศผู้ขายไม่ ประสงค์จะเปิดเผยราคาที่ประเทศผู้ผลิตเสนอต่อประเทศผู้ขาย ระเบียบปฏิบัติเรื่องการซื้อขายผ่านประเทศที่สามภายใต้บริบท เรื่องถิ่นกําเนิดสินค้า จึงเป็นระเบียบที่กําหนดขึ้นเพื่ออนุญาติให้ สินค้าที่ส่งออกจากประเทศสมาชิกภาศโดยมี 00รับรองการได้ถิ่น กําเนิดในประเทศสมาชิกภาคสามารถได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี ศุลกากร แม้ว่า Invoice จะออกโดยบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศที่สาม (ซึ่งอาจเป็นประเทศในหรือนอกภาคีความตกลง) |
THTRFTA | Thailand - Turkey Free Trade Agreement หมายถึง ความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับตุรกี ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจา โดยที่ผ่านมา มีการประชุมเจรจามาแล้ว รวม 7 ครั้ง ครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องการค้าสินค้า อาทิ 1) กฎถิ่นกำเนิดสินค้า 2) มาตรการเยียวยาทางการค้า 3) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 4) มาตรการที่เป็นอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า 5) พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 6) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 7) ทรัพย์สินทางปัญญา และ 8) ประเด็นกฎหมาย ทั้งนี้ ปัจจุบันสามารถสรุปผลการเจรจาได้แล้วทั้งสิ้น จำนวน 6 ข้อบท จากทั้งหมด 12 ข้อบท โดยคาดว่าจะสามารถสรุปผลการเจรจาได้ภายในปี 2566 |
TICC | Trade and Investment Cooperation Committee หมายถึง การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยความร่วมมือทางการค้า และการลงทุนระหว่างอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ซึ่งเจ้าหน้าที่อาวุโส ด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (SEOM) และผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้มาพบปะหารือและแก้ไขปัญหาการค้าระหว่างกัน เพื่อ ขยายการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนและสหรัฐอเมริกา |
TIFA | Trade and Investment Framework Agreement หมายถึง กรอบความตกสิงว่าด้วยการค้าและการลงทุนเป็น ความตกลงที่สหรัฐฯ ทํากับประเทศคู่ค้าทั้งในระดับทวิภาคี และ ภูมิภาค เพื่อลดอุปสรรคด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้ เหลือน้อยที่สุดก่อนที่จะตัดสินใจจัดทําเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) ระหว่างกัน |
TIG | Agreement on Trade in Goods หมายถึง ความตกลงว่าด้วยการค้าภายใต้กรอบความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน ซึ่งความตกลงดังกล่าวระบุหลักเกณฑ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าสินค้าภายใต้กรอบความร่วมมือฯ อาเซียน-จีน ได้แก่ รายการสินค้าปกติ รายการสินค้าออนไหว รูป แบบการลดภาษี รวมไปถึงข้อผูกพัน และเป็นพันธกรณีที่สมาชิกภาคี ทุกประเทศต้องปฏิบัติตาม เป็นต้น |
TNC | Trade Negotiation Committee หมายถึง ศิณะกรรมการเจรจาการค้า มีหน้าที่กํากับดูแสการ เซรจารอบอุรุกวัย (สลายตัวไปแล้ว) |
TNZCEP | Thailand - New Zealand Closer Economic Partnership หมายถึง ความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิด กันยิ่งขึ้นระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์ ซึ่งมีการลงนามเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2548 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 |
TNZCEP JC | Thailand - New Zealand Closer Economic Partnership Joint Commission หมายถึง คณะกรรมาธิการร่วมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น (คณะกรรมาธิการร่วม ซีอีพี) ที่จัดตั้งขึ้นตามความ ตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นระหว่างไทย กับนิวซีแลนด์ เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามความตกลงโดยถูกต้อง และเพื่อทบทวนความสัมพันธ์และความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ระหว่างคู่ภาคีเป็นระยะๆ โดยอาจประชุมกันในระดับรัฐมนตรีหรือ เจ้าหน้าที่อาวุโส ตามที่คู่ภาคีจะกําหนดร่วมกันเป็นครั้งคราว และจะ ต้องประชุมภายใน 1 ปี นับจากวันที่ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับและ หลังจากนั้นจะประชุมกันทุกๆ ปี หรือตามที่จะกําหนดร่วมกันจัดขึ้นสลับกันในดินแดนของภาคีแต่ละฝ่าย |
Tolerance rules | หมายถึง การกําหนดขอบเขตที่ประเทศผู้นําเข้าจะสามารถใช้ ดุลยพินิจเกี่ยวกับเรื่องมูลค่าเพิ่มของสินค้า |
TPA | Trade Promotion Authority หมายถึง การที่สภาคองเกรสของสหรัฐฯ ให้อํานาจแก่ฝ่าย บริหารและประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการเจรจาการค้าและจัดทําเขต การค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศต่างๆ โดยฝ่ายบริหารจะต้อง ปรึกษากับสภาองเกรสอย่างสม่ําเสมอ รวมทั้งต้องเปิดโอกาสให้คณะ ที่ปรึกษาและบุคคลทั่วไปแสดงความเห็นตลอดช่วงระยะเวลาที่กําลัง เจรจาความตกลงทางการค้า เพื่อแลกกับการที่สภาคองเกรสจะไม่ เข้าไปก้าวก่ายในสาระของความตกลง ซึ่งช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถ ดําเนินการได้โดยสะดวก มีอํานาจในการตัดสินใจและมีอิสระมากขึ้น |
TPCEP |
Closer Economic Partnership between the Government of Thailand and the Government of the Republic of Peru หรือ Thailand - Peru Closer Economic Partnership หมายถึง ความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเปรู โดยไทยและเปรูมีการจัดทำกรอบความตกลงดังกล่าว มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2548 ต่อมาทั้งสองได้สรุปผลการเจรจาเร่งเปิดเสรีสินค้าบางส่วนได้ก่อน โดยได้ลงนามในพิธีสารเพื่อเร่งเปิดเสรีทางการค้าและอำนวยความสะดวกทางการค้า (Early Harvest Scheme) ครอบคลุมเรื่องเปิดเสรีการค้าสินค้า (คิดเป็นร้อยละ 70 ของจำนวนสินค้าทั้งหมด โดยทั้งสองประเทศได้ลดภาษีให้เหลือร้อยละ 0 แล้ว ในช่วงปี 2554 - 2559) กฎเกณฑ์ว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า พิธีการศุลกากร นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงพิธีสารดังกล่าวให้ทันสมัยเป็นระยะๆ โดยล่าสุด ทั้งสองฝ่ายได้จัดทำและลงนามพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่สี่แล้ว เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2565 โดยมีสาระสำคัญเป็นการรับรองให้มีการใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่มีการลงนามและประทับตราด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ESS) การปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อบทว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าให้สอดคล้องกับบริบทการค้าในปัจจุบันและในอนาคต และการปรับโอนพิกัดศุลกากรของกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้าให้สอดคล้องกับระบบฮาร์โมไนซ์ 2017 |
TPRM | Trade Policy Review Mechanism หมายถึง กลไกการทบทวนนโยบายการค้าภายใต้ WTO ภาศ ผนวก 3 ของความตกลง WTO กําหนดให้ประเทศสมาชิกต้องแจ้ง นโยบายการค้าต่อองค์กรทบทวนนโยบายการค้า (Trade Policy Review Body : TPRE) ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้ WTO เพื่อพิจารณา นโยบายการค้าของประเทศสมาชิกตามระยะเวลาที่กําหนด เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป แคนาดา และญี่ปุ่น ทุก 2 ปี ประเทศไทย ทุก 4 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดําเนินงานภายใต้ระบบการค้า พหุภาคีเป็นไปด้วยความโปร่งใสและราบรื่น เข้าใจการดําเนินนโยบายและการปฏิบัติทางการค้าของประเทศสมาชิก |
TPT-WG | Transportation Working Group หมายถึง คณะทํางานด้านขนส่งของเอเปค จัดตั้งขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค เสนอแนะ เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระบบขนส่งงาน หลักของคณะทํางานฯ เน้นการแข่งขันในอุตสาหกรรม ความ ปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาบุคลากร |
Trade Agreement | หมายถึง ความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาสแห่งราช อาณาจักรไทยกับรัฐบาลภาคีผู้ทําสัญญา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันท์มิตร และสร้างพื้นฐานทางการค้าระหว่าง ประเทศทั้งสอง โดยภาคีคู่สัญญาทั้งสองจะพยายามพัฒนาความ สัมพันธ์ทางการค้า สนับสนุนและอํานวยความสะดวกแก่การส่งเสริม และการทําสัญญาระหว่างองค์กรและบริษัทที่เกี่ยวข้องจะทําให้การ ประติบัติเยี่ยงคนชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่งแก่กันในเรื่องภาษี ศุลกากร และค่าธรรมเนียมที่คล้ายกัน ตลอดจนพิธีการทางศุลกากร ที่เกี่ยวกับการนําเข้าและส่งออก ซึ่งสินค้าจากประเทศหนึ่งไปยังอีก ประเทศหนึ่ง ทั้งนี้ ประเทศไทยได้จัดทําความตกลงทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ ไปแล้วรวม 21 ฉบับ |
Trade Diversion | หมายถึง การเบี่ยงเบนทางการค้า ซึ่งตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ คือ การขยายตั้งทางการค้าของประเทศภาคีในเขตการค้าเสรีต่างๆ โดยไม่ได้เกิดขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงทางการค้าระหว่างประเทศภาคีและประเทศนอกภาค หรือการหัตตัวทางการค้าของประเทศนอกภาคี |
Trade Facilitation | การอํานวยความสะดวกและส่งเสริมทางการค้า การลงทุน เพื่อลดอุปสรรคทางด้านการค้า การลงทุนให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็น ไปได้ และให้เกิดการเคลื่อนย้ายของสินค้าบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานได้อย่างเสรี |
TREATI | Trans-Regional EU-Asean Trade Initiative หมายถึง อาเซียน-สหภาพยุโรป การดําเนินงานตามกรอบความ ร่วมมือด้านการค้าระหว่างอาเซียนสหภาพยุโรป โดยส่งเสริม กิจกรรมความร่วมมือในสาขาต่างๆ ให้มีความก้าวหน้า โดยเฉพาะ กิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ ผู้ประกอบการที่เป็น SMEs ของอาเซียน |
TRIMs | ความตกลงว่าด้วยมาตรการการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า (Agreement on Trade-Related Investment Measures) ภายใต้องค์การการค้าโลก กำหนดพันธกรณีที่ห้ามการใช้มาตรการการลงทุนที่ขัดกับหลักการประติบัติเยี่ยงคนชาติโดยเลือกปฏิบัติระหว่างสินค้านำเข้าและสินค้าที่ผลิตในประเทศ และห้ามการใช้มาตรการที่จำกัดการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า |
Tripartite FTA and TFTA |
Tripartite Free Trade Area หมายถึง ประชาคมเขตการค้าเสรีแห่งทวีปแอฟริกา ประกอบด้วยสมาชิก 26 ประเทศ (จาก 55 ประเทศในแอฟริกา) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของ 3 กลุ่มเศรษฐกิจที่สำคัญของแอฟริกา ได้แก่ 1) ตลาดร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ (Common Market for Eastern and Southern Africa: COMESA) ประกอบด้วยสมาชิก 19 ประเทศ ได้แก่ บุรุนดี โคมอรอส สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ดีจีบูติ อียิปต์ เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา ลิเบีย เซเซลส์ มาดากัสการ์ มาลาวี มอรีเชียส รวันดา ซูดาน สวาสิแลนด์ ยูกันดา แซมเบีย ซิมบับเว 2) ประชาคมแอฟริกาตะวันออก (Eastern Africa Community: EAC) ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ เคนยา ยูกันดา แทนซาเนีย รวันดา บุรุนดี และ 3) ประชาคมเพื่อการพัฒนาแอฟริกาใต้ (Southern African Development Community: SADC) ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ แองโกลา บอสวานา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เลโซโท มาดากัสการ์ มาลาวี มอรีเชียส โมซัมบิก นามิเบีย สวาสิแลนด์ แทนซาเนีย แซมเบีย ซิมบับเว แอฟริกาใต้ และเซเซลส์ โดยผู้แทนของ 3 กลุ่มเศรษฐกิจดังกล่าว มีการลงนามความตกลง TFTA เมื่อปี 2558 ณ ประเทศอียิปต์ และหากมีประเทศสมาชิกจำนวน 14 ประเทศจาก 26 ประเทศให้สัตยาบันในข้อตกลง ให้ถือว่าข้อตกลงนี้มีผลใช้บังคับทันที อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน มีสมาชิกที่ให้สัตยาบันแล้วจำนวน 11 ประเทศ ทั้งนี้ ความตกลง TFTA มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาค ส่งเสริมการค้าในภูมิภาคด้วยการสร้างตลาดเดียวขนาดใหญ่ที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการอย่างเสรี และเร่งกระบวนการบูรณาการระดับภูมิภาค |
TRIPs | Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights หมายถึง ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยว กับการค้า กําหนดมาตรฐานขั้นต่ําสําหรับการคุ้มครองสิทธ์ใน ทรัพย์สินทางปัญญาหลายด้าน เช่น สิทธิบัตร (Patent) ลิขสิทธิ์ (Copy right) และเครื่องหมายการค้า (Trade-rmark) เป็นต้น ซึ่ง ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ต้องออกกฎระเบียบหรือ กฎหมายในการรองรับเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณี ความตกลงว่าด้วย ในทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกี่ยวกับการคํานี้เป็นผลมาจากการเป็รจา รอบอุรุกวัย |
TRIPS | Agreement on Trade – Related Aspects of Intellectual Property Rights หมายถึง ความตกลงทริปส์ (TRIPS) เป็นความตกลงภายใต้ VWTQ ซึ่งเกิดขึ้นในการเจรจารอบอุรุกวัย (1986-1994) เพื่อสติ ปัญหาที่แต่ละประเทศมีมาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ แตกต่างกัน และขาตกฏเกณฑ์ที่เป็นสากลในการควบคุมสินค้า ปลอมแปลง ความตกลงนี้จึงกําหนดมาตรฐานการคุ้มครองขั้นต่ํา สําหรับทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า ได้แก่ ลิขสิทธิ์ (copyright) และสิทธิที่เกี่ยวข้องเครื่องหมายการค้า (tradermarks)สิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ (geographical indications) การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ (industrial designs) สิทธิบัตร (patents) การออกแบบ แผนบังภูมิของวงจรรวม (Layout-design of integrated circuits) และความลับทางการค้า (trade Secrets) โดยประเทศสมาชิก อิสระที่จะกําหนดกฏเกณฑ์และมาตรการภายในประเทศของตนที่ เห็นเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงทริปส์ |
TRO | Tariff Quota หมายถึง มาตรการทางภาษี โดยมีการเรียกเก็บภาษี 2 อัตรา ได้แก่ อัตราภาษีในโควตา (อัตรา) สําหรับการนําเข้าสินค้าภายใน โควตา และอัตราภาษีนอกโควตา (อัตราสูง) สําหรับการนําเข้านอก โควตา |
TRO | Tariff Rate Quota หมายถึง โควตาภาษี สินค้าที่ประเทศผู้นําเข้าผูกพันไว้ทั้งอัตรา ภาษี และปริมาณโควตาการนําเข้า โดยหากนําเข้าภายในปริมาณนำ |
TV | Transaction value หมายถึง ราคาที่ประเทศผู้นําเข้าจ่ายสําหรับซื้อสินค้านั้นจริงๆ |
TWG | Tourism Working Group หมายถึง คณะทํางานด้านท่องเที่ยวของเอเปค จัดตั้งเมื่อปี 2534 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็น รวมทั้งพัฒนาให้เกิด ความร่วมมือในการค้าและนโยบายท่องเที่ยว |
UNCITRAL | United Nation Centres for International Trade Law หมายถึง คณะกรรมการ สหประชาชาติว่าด้วยกฏเกณฑ์การค้า ระหว่างประเทศ ทําหน้าที่ร่างรูปแบบ กฎหมายระหว่างประเทศ |
UNCTAD | United Nations Conference on Trade and Development หมายถึง การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและ การพัฒนา จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2507 ณ นครเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ในฐานะองค์การชํานาญพิเศษของสหประชาชาติ มี วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการ พัฒนา โดยเฉพาะประเทศกําลังพัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศ เหล่านี้ ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลกอย่างเท่าเทียมกับ ประเทศพัฒนาแล้ว |
Underdeveloped country | หมายถึง ประเทศด้อยพัฒนา |
Unemployment rate | หมายถึง อัตราการว่างงาน เป็นอัตราการว่างงานของประเทศ ต่อแรงงานทั้งหมดในประเทศ |
USTR | The Office of the United States Trade Representative หมายถึง สํานักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกาเป็นหน่วยงานที่ ดูแลรับผิดชอบในเรื่องการพัฒนาและประสานงานด้านการค้า ระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และดูแลนโยบายทางการค้า รวมถึงการ เจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ ฯ กับประเทศต่างๆ |
Value Added | หมายถึง การสร้างมูลค่า เป็นความสัมพันธ์ทางการผลิตระหว่าง “พลังการผลิต” และ “ปัจจัยการผลิต” ในลักษณะการสร้างมูสคา และมูลค่าที่ได้ คือ “มูลค่าส่วนเกิน” หรือ “กําไรส่วนเกิน” |
Value Chain | หมายถึง ห่วงโซ่มูลค่า เป็นกิจกรรมที่เริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการ ผลิตไปจนถึงการจําหน่ายสินค้าอย่างครบวงจรเพื่อนําไปสู่ผลกําไร |
Value Creation | หมายถึง การสร้างคุณค่า เป็นกระบวนการต่างๆ ที่สร้าง ประโยชน์แก่ลูกค้าและแก่ธุรกิจขององค์กรเป็นกระบวนการที่มี ความสําคัญสูงสุดต่อ “การดําเนินธุรกิจ” และมีความเกี่ยวข้องกับ พนักงานส่วนใหญ่ขององค์กร ตลอดจนเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิด สินค้า บริการและผลลัพธ์ทางธุรกิจต่างๆ ในด้านดีให้แก่ผู้ถือหุ้นของ องค์กรตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักต่างๆ ด้วย |
Variable levy | ภาษีนําเข้าที่แปรผันตามราคาของสินค้า เพื่อรักษาอัตราการ คุ้มครองสินค้าภายในประเทศจากการแปรผันของราคาสินค้าใน ตลาดโลก ซึ่งส่วนมากจะใช้กับสินค้าเกษตรเป็นหลัก |
VERA / VERs | Voluntary Restraint Arrangement / Voluntary Export Restraints หมายถึง ข้อตกลงที่ประเทศผู้นําเข้าและผู้ส่งออกได้ทําร่วมกัน ว่า ประเทศผู้ส่งสินค้าออกสมัครใจใช้มาตรการควบคุมปริมาณไปยัง ประเทศผู้นําเข้า |
VPA |
การจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (Voluntary Partnership Agreement: VPA) ภายใต้กรอบกฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (FLEGT) สาระสำคัญของการจัดทำข้อตกลง VPA ประกอบด้วย (1) การจัดทำนิยามความถูกต้องตามกฎหมาย (Legality Definition) ของไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่สอดคล้องกับกฎหมายภายในประเทศ (2) การกำหนดขอบเขตสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (product scope) (3) การจัดทำระบบตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Timber Legality Assurance System: TLAS) (4) กลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (5) หลักการเปิดโอกาสให้สามารถโต้แย้งการดำเนินงานของภาครัฐ (Governance Challenges) และ (6) การออก ใบรับรอง FLEGT License เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรป |
WAEMU | West African Economic and Monetary Union หมายถึง สหภาพเศรษฐกิจและการเงินแห่งแอฟริกาตะวันตก ก่อตั้งภายความตกลง TREATY ON THE WEST AFRICAN ECONOMIC AND MONETARY UNION (WAEMU) เมื่อวันที่ 10 มกราคม 1994 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1994 มี สมาชิก 8 ประเทศ ประกอบด้วย เบนิน โตโก โกติวัวร์ ไนเจอร์ บูกิน ๆฟาโซ มาลี เซเนกัล และก็นี้เซา มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความ สามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการเงินให้กับประเทศ สมาชิกโดยการรวมกลุ่มเป็นสหภาพศุลกากร และประสานนโยบาย ของประเทศสมาชิกในด้านเกษตร สิ่งแวดล้อม การขนส่ง โครงสร้าง พื้นฐาน โทรคมนาคม พลังงาน อุตสาหกรรม และสาขาเหมืองแร่ |
Waiver | หมายถึง การขอผ่อนผันไม่ปฏิบัติตามหลักการบางประการของ ความตกลงต่างๆ |
Washington Treaty | หมายถึง สนธิสัญญาวอชิงตันมีไว้เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ์ใน ทรัพย์สินทางปัญญา |
WCO | World Customs Organization องค์การศุลกากรโลก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในรูปของคณะ รัฐมนตรีความร่วมมือด้านศุลกากร (Customs Cooperration Council) มีประเทศสมาชิก 169 ประเทศ เป้าหมายหลักของ WCO คือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารงานตานศุสิกากรให้ สอดคล้องกับกฎระเบียบทางการค้า การปกป้องสังคมและการจัด เก็บภาษีของรัฐ งานสําคัญของ WC0อาทิ การตรวจสอบระบบ ศุลกากรของประเทศสมาชิก การพัฒนาบุคลากรในด้านการจัดการ และบริหารด้านศุลกากร การร่างอนุสัญญา และความตกลงต่างๆ เพื่อให้ระบบศุลกากรของประเทศต่างๆ มีความสอดคล้องกันและมี ประสิทธิภาพมากขึ้น การให้คําแนะนําและการให้บริการด้าน ศุลกากรแก่รัฐสมาชิก |
WGIC | Working Group on Industrial Cooperation หมายถึง คณะทํางานความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของ อาเซียน จัดให้มีการประชุมปีละ 3 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ดําเนินการความมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (AICO) |
WGTI | การประชุมคณะทำงานด้านการค้าและการลงทุนไทย-สหภาพยุโรป (Working Group on Trade and Investment: WGTI) เป็นเวทีหารือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและสหภาพยุโรปโดยมีกำหนดจัดการประชุมทุกปี สลับกันเป็นเจ้าภาพ WGTI เป็นคณะทำงานภายใต้การประชุม TH - EU SOM ซึ่งมี อธ. จร. โดยตำแหน่งเป็นประธานร่วมของฝ่ายไทย ร่วมกับหัวหน้าฝ่ายเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ผู้แทนกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า (DG Trade) มีหน้าที่ติดตามภาพรวมความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุน รวมทั้งแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุนระหว่างสองฝ่าย โดยจะมีการประชุมก่อนการประชุมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย-สหภาพยุโรป (Thai - European Union Senior Officials’ Meeting: Thai - EU SOM) SOM เพื่อนำผลการประชุมมารายงานต่อที่ประชุม SOM ต่อไป |
WHO | World Health Organization หมายถึง องค์กรอนามัยโลก เป็นหน่วยงานของสหประชาชาติที่ ดูแลเรื่องการสาธารณสุข ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 7 เมษายน พ.ศ.2491 และ มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลประชากรโลกให้มีสุขภาพอนามัยปัจจุบันมี สมาชิกทั้งสิ้น 192 ประเทศ |
Wholly Obtained | 'หมายถึง สินค้าที่ได้มาหรือผ่านกระบวนการผลิตในประเทศเดียว โดยใช้วัตถุดิบในประเทศนั้นทั้งหมด เช่น พืชและผลิตภัณฑ์ของพืชที่เก็บเกี่ยวหรือรวบรวมได้ในประเทศใด ประเทศนั้นก็จะเป็นประเทศถิ่นกําเนิดสินค้า |
WIPO | World Intellectual Property Organization หมายถึง องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก จัดตั้งขึ้นตาม อนุสัญญาจัดตั้ง WIPO เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2513 เข้าเป็นทบวง การชํานาญพิเศษของสหประชาชาติเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2517 สํานักงานใหญ่อยู่ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทําหน้าที่ ส่งเสริมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทั่วโลก และเป็นศูนย์กลาง ในการประชุมและการบริหารงานตามอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา VWIPO เน้นบริหารงานตาม อนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาที่สําคัญ 2 ฉบับ คือ อนุสัญญากรุงปารีส (Paris Convention) ซึ่งเกี่ยว กับการให้ความคุ้มครองแก่ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และ อนุสัญญากรุงเบอร์น (Berne Convention) ซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ ทรัพย์สินต้านวรรณกรรมและศิลปกรรม ประเทศใดที่เห็นว่า การเข้า เป็นภาศในอนุสัญญาดังกล่าวเป็นประโยชน์ที่สมัครเข้าเป็นภาคี ปัจจุบันอนุสัญญากรุงปารีสมีประเทศสมาชิกภาคี 169 ประเทศ อนุสัญญากรุงเบอร์นมีประเทศสมาชิกภาศ 160 ประเทศ ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นภาคีในอนุสัญญากรุงเบอร์นเท่านั้น ยังไม่ได้เป็น ภาคในอนุสัญญากรุงปารีส |
WL | Watch List บัญชีประเทศที่ถูกจับตามอง (ตูคํา PWL) แต่ระดับความรุนแรง น้อยกว่า PWL หมายถึง ประเทศที่ไม่ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทาง ปัญญาหรือปฏิเสธการเข้าสู่ตลาดของสินค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา |
WPDR | Working Party on Domestic Regulation หมายถึง คณะทํางานว่าด้วยกฎระเบียบภายในด้านการค้าบริการ เป็นองค์กรย่อยภายใต้คณะมนตรีว่าด้วยการค้าบริการ (CTS) |
WPGR | Working Party on GATS Rules หมายถึง คณะทํางานว่าด้วยกฎเกณฑ์การค้าบริการ เป็นองค์กรย่อยภายใต้คณะมนตรีว่าด้วยการค้าบริการ (CTS) |
WTO | World Trade Organization หมายถึง องค์การการค้าโลก เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ จัดตั้งขึ้นตาม “ความตกลงมาร์ราเกช จัดตั้งองค์การการค้าโสก (Marrakesh Agreement Establishing The World Trade Organization)” ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 ซึ่งมีหน้าที่รับผิด ชอบในการบริหารและกํากับดูแลให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตาม พันธกรณีและข้อผูกพันต่าง ๆ ภายใต้ความตกสิ่งอันเกิติจากการ เจรจาการค้ารอบอุรุกวัยและความตกสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคต ขณะนี้มีประเทศสมาชิก 149 ประเทศ (พฤษภาคม 2549) สํานัก เลขาธิการ ตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ |