**ข้อมูลปรับปรุง เดือนสิงหาคม 2566**
ภูมิหลัง
การขนส่งทางอากาศเป็นรูปแบบหนึ่งของการขนส่งที่มีบทบาทและได้รับความนิยมสูงในยุคปัจจุบัน เนื่องจากลักษณะของการขนส่งทางอากาศที่มีความรวดเร็ว สะดวก และปลอดภัย เมื่อเปรียบเทียบกับ การขนส่งในรูปแบบอื่นๆ การขนส่งทางอากาศถือเป็นสาธารณูปโภคประเภทหนึ่งที่มีความสําคัญ และจําเป็นต่อการดํารงชีวิตของประชาชน และในบางประเทศถือเป็นหน้าที่ของภาครัฐจะต้องจัดหาบริการ ดังกล่าวให้แก่ประชาชน สําหรับประเทศไทย นอกจากการขนส่งทางอากาศจะเป็นกิจการสาธารณูปโภค ประเภทหนึ่งแล้ว การขนส่งทางอากาศยังจัดเป็นโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) อย่างหนึ่ง ที่มีบทบาทสําคัญต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งในแง่เศรษฐกิจการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ
การขนส่งทางอากาศ ไมว่าจะเป็นการขนส่งทางอากาศภายในประเทศ หรือระหว่างประเทศ สามารถแบ่งบริการได้เป็น 2 ลักษณะ คือ (1) บริการแบบประจํา และ (2) บริการแบบไม่ประจํา ซึ่งรัฐจะมีนโยบาย ในการกํากับดูแลที่แตกต่างกัน โดยปกติรัฐจะมีระดับการควบคุมกํากับดูแลบริการแบบไม่ประจําเข้มข้นน้อยกว่าบริการแบบประจํา
สําหรับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ประกอบด้วย (1) การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ แบบไม่ประจําระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันว่าเที่ยวบินเช่าเหมาลํา รัฐจะใช้ดุลพินิจในการพิจารณาอนุญาต เป็นรายกรณีโดยคํานึงถึงปริมาณความต้องการเป็นหลัก และ (2) การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ แบบประจํา รัฐแต่ละรัฐจะต้องจัดทําความตกลงระหว่างกัน ทั้งในรูปแบบของความตกลงทวิภาคีหรือพหุภาคี เพื่อแลกเปลี่ยนสิทธิการบินระหว่างกัน โดยความตกลงที่จัดทํานั้นจะเป็นกรอบพื้นฐานสําหรับการอนุญาต การทําการบินแบบประจําระหว่างประเทศไทยกับประเทศเหล่านั้น ซึ่งเป็นเนื้อหาที่จะกล่าวในลําดับต่อไป