(1) พันธกรณี
ไทยและเปรูสามารถสรุปผลการเจรจาเร่งเปิดเสรีสินค้าบางส่วนได้ก่อน โดยได้ลงนามในพิธีสารเพื่อเร่งเปิดเสรีทางการค้าและอำนวยความสะดวกทางการค้า (Early Harvest Scheme) ครอบคลุมเรื่องการค้าสินค้า (คิดเป็น 70% ของจำนวนสินค้าทั้งหมด โดยทั้งสองประเทศได้ลดภาษีให้เหลือร้อยละ 0 แล้ว ในช่วงปี 2554-2559) กฎเกณฑ์ว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า พิธีการศุลกากร โดยข้อสรุปการเจรจาดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 31 ธันวาคม 2554
นอกจากนี้ ไทยและเปรูได้มีการปรับปรุงพิธีสารดังกล่าวให้ทันสมัยเป็นระยะ ๆ โดยล่าสุด ทั้งสองฝ่ายได้จัดทำและลงนามพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่สี่แล้ว เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2565 ณ กรุงเทพฯ โดยมีสาระสำคัญเป็นการรับรองให้มีการใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่มีการลงนามและประทับตราด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ESS) การปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อบทว่าด้วยถิ่นกำเนิด สินค้าให้สอดคล้องกับบริบทการค้าในปัจจุบันและในอนาคต และการปรับโอนพิกัดศุลกากรของกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้าให้สอดคล้องกับระบบฮาร์โมไนซ์ 2017
(2) สถานะ / ความคืบหน้าการเจรจา
การค้าสินค้า อยู่ระหว่างเจรจาเปิดตลาดส่วนที่เหลือ 30%
การค้าบริการ อยู่ระหว่างเจรจารายละเอียดการจัดทำตารางข้อผูกพันภาคบริการ
(3) ประโยชน์ที่ไทยได้รับ
- สินค้าสำคัญที่ส่งออกภายใต้สิทธิประโยชน์ ได้แก่ (1) ถุงมือใช้ในทางศัลยกรรม (2) ถุงมือทุกชนิดที่ไม่ใช้ในทางศัลยกรรม (3) ด้ายทำด้วยเส้นใยสังเคราะห์ (4) ถุงยางคุมกำเนิด (5) โพลิเอทิลีนที่มีความถ่วงจำเพาะ ตั้งแต่ 0.94 ขึ้นไป
- สินค้าสำคัญที่นำเข้าภายใต้สิทธิประโยชน์ ได้แก่ (1) องุ่นสดหรือแห้ง (2) ผลไม้สด (แครนเบอร์รี่ บิลเบอร์รี่) (3) อโวคาโด (4) สังกะสีออกไซด์และสังกะสีเพอร์ออกไซด์ (5) คัลเลอร์เลก (Color Lake – สารเคมีที่ใช้ในการเคลือบ/ย้อมสี)
---------------------------
สำนักอเมริกา แปซิฟิก และองค์การระหว่างประเทศ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กรกฎาคม 2565
[1] สัดส่วนการส่งออกที่ใช้สิทธิฯ FTA บางความตกลงที่เกินร้อยละ 100 มีสาเหตุ ดังนี้ (1) มีการขอหนังสือรับรองย้อนหลัง และ (2) การขอฟอร์มในช่วงปลายเดือนและใช้สิทธิฯ ส่งออกในเดือนถัดไปส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของรายการที่ได้รับประโยชน์ฯ และสัดส่วนของการให้สิทธิฯ คลาดเคลื่อน