ความตกลงการค้าเสรี ไทย-ตุรกี
(Thailand-Turkey Free Trade Agreement: TRTHFTA)
ความเป็นมา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดทำ FTA ไทย – ตุรกี
การจัดทำ FTA ระหว่างไทย-ตุรกี จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านการค้าและการลงทุนของทั้งสองฝ่าย โดยตุรกีเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีประชากรกว่า 80 ล้านคนที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ และมีนักท่องเที่ยวมาเยือนปีละกว่า 40 ล้านคน มีที่ตั้งทางยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศที่ดี โดยตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเอเชีย ยุโรป และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States: CIS) ตุรกีจึงเป็นประตูการค้าไปยังประเทศต่าง ๆ ได้ เช่น สหภาพยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกาตอนเหนือ และเอเชียกลาง การจัดทำ FTA กับตุรกีจะเป็นการช่วยลดผลกระทบจากการตัดสิทธิ GSP ของตุรกี ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดตุรกี โดยเฉพาะสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ เช่น ยานพาหนะ ตู้เย็น พลาสติกชนิดโพลิสไตรีน พืชเส้นใย ผ้าทอ อาหารฮาลาล นอกจากนี้ ตุรกียังมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนและให้การคุ้มครองนักลงทุน เนื่องจากต้องพึ่งพาการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงเป็นโอกาสอันดีของนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปลงทุนในสาขาที่มีศักยภาพ อาทิ ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ธุรกิจการจัดประชุม อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรและประมง เป็นต้น
สถานะล่าสุด
ตุรกีเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม FTA ไทย – ตุรกี ครั้งที่ 7 และการประชุมคณะทำงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม – 2 เมษายน 2564 โดยมีอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม) และรองอธิบดีกรมความตกลงระหว่างประเทศและกิจการสหภาพยุโรปของตุรกี (Mrs. Bahar Güçlü) เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยและตุรกี ตามลำดับ โดยการประชุมฯ ครั้งที่ 7 ประกอบด้วยการประชุมคณะทำงานด้านต่าง ๆ จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) คณะทำงานว่าด้วยการค้าสินค้า 2) คณะทำงานว่าด้วยมาตรการเยียวยาทางการค้า 3) คณะทำงานว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 4) คณะทำงานว่าด้วยมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า 5) คณะทำงานว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา และ 6) คณะทำงานว่าด้วยประเด็นกฎหมาย โดยในการประชุมฯ ครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มการประชุมคณะทำงานว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา (WG-IPR) เป็นครั้งแรก โดยได้เน้นหารือเพื่อทำความเข้าใจระบบทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างกัน
สำหรับประเด็นการเจรจาเปิดตลาดการค้าสินค้า (Market Access) ทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าเปิดตลาดให้ได้ร้อยละ 86 – 92 ของรายการสินค้าทั้งหมด (Tariff Lines) และเปิดตลาดในกลุ่มสินค้ายกเว้นภาษีทันที (Entry into Force: EIF) ให้ได้ร้อยละ 60 ของรายการสินค้าทั้งหมด
สำหรับประเด็นการเจรจาข้อบท (FTA Text) สองฝ่ายสามารถสรุปผลการเจรจาได้แล้ว จำนวน 4 บท จากทั้งหมด 14 บท ขณะที่การเจรจาข้อบทที่เหลือส่วนใหญ่มีความคืบหน้าดี และคาดว่าจะสามารถสรุปผลการเจรจาเพิ่มเติมได้ในอีกหลายบทในการประชุมฯ ครั้งที่ 8
บทที่สามารถสรุปผลการเจรจาได้แล้ว มีดังนี้
บทที่อยู่ระหว่างการเจรจา มีดังนี้
ทั้งนี้ สองฝ่ายตั้งเป้าสรุปผลการเจรจาให้ได้ภายในปี 2565 โดยมีแผนการทำงาน (Work Plan) ดังนี้
----------------------------------------------
สำนักเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
มิถุนายน 2564