ความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) หมายถึง การรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมาย เพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มลงให้เหลือน้อยที่่สุด หรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทําความตกลงการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า (goods) โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลัก แต่ความตกลงการค้าเสรีในระยะหลังๆ นั้นรวมไปถึงการเปิดเสรีด้านบริการ (services) และการลงทุนด้วย
ปัจจุบันสถานการณ์การแข่งขันในตลาดโลกได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ไทยต้องพึ่งการค้า ระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ การส่งออกถือเป็นจักรกลสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยในปี 2552 นํารายได้เข้าประเทศกว่า 5 ล้านล้านบาท คิดเป็นครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั้งหมด การทํา FTA จึงมีผลสำคัญเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้
- ช่วยรักษาตลาดเดิม และขยายการค้าสู่ตลาดใหม่ เพื่อโอกาสในการส่งออกสินค้าและบริการของไทยที่มีศักยภาพ
- ลดอุปสรรคด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษีระหว่างกัน
- ลดการพึ่งพาสิทธิพิเศษด้านภาษี (Generalized System of Preference :GSP) ซึ่งมีความไม่แน่นอน
- ดึงดูดต่างชาติให้ย้ายฐานการผลิตและการลงทุนมาไทยมากขึ้น ขณะเดียวกันสนับสนุนคนไทยไปลงทุนต่างประเทศ
- ผลักดันให้มีการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาที่มีศักยภาพ
จากการที่ไทยยังต้องพึ่งการค้าระหวางประเทศ โดยเฉพาะการส่งออก ไทยจึงต้องทำงานใน 2 ส่วน ไปพร้อม ๆ กัน ส่วนแรกคือการเจาะตลาด / ส่งเสริมการส่งออก ส่วนที่ 2 คือ การทำให้อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดประเทศคู่ค้าลดน้อยลง ซึ่งการทำให้อุปสรรคลดน้อยลงนั้น ต้องทำผ่านการเจรจาในเวทีระดับต่าง ๆ
- การเจรจาในอดีตเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เป็น FTA ระดับโลกที่ GATT/WTO โดยสมาชิก 100 กว่า ประเทศมาเจรจาพร้อมกันหมด (ปัจจุบัน WTO มีสมาชิก 153 ประเทศ)
- การเจรจาใน 10 ที่ผ่านมา เปลี่ยนมาเน้นการเจรจา FTA ในระดับภูมิภาค เช่น EU NAFTA ตามด้วยระหว่างภูมิภาค เช่น EU-Mercosur และ FTA ระหว่างประเทศ
- ไทยต้องเจรจาเพื่อรักษา margin ในการแข่งขันของไทยไว้ไม่ให้สินค้าของไทยในตลาดคู่ค้าเสียเปรียบคู่แข่ง เพราะได้สิทธิพิเศษกว่าไทย ไมว่าจะเป็นมาตรการภาษีหรือมิใช่ภาษี (NTM : Non-tariff Measures)
- นอกจากนี้การเจรจา FTA จะช่วย
- ลดอุปสรรคทางการค้ารูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษีให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้การค้าขยายตัว และเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าและบริการของไทยไปยังตลาดต่างประเทศ
- เป็นช่องทางกระจายสินค้าไปสู่ภูมิภาคใกล้เคียง เช่น อินเดียเพื่อใช้เป็นฐานการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศในเขตเอเชียใต้
- เสริมสร้างบรรยากาศในการลงทุนเพื่อให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็สนับสนุนให้คนไทยไปลงทุนในต่างประเทศด้วย
- สร้างพันธมิตรทางด้านเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มบทบาทและอํานาจต่อรองของไทยในเวทีโลก
- ทําให้ประชาชนมีการกินดีอยู่ดีเพิ่มขึ้น มีทางเลือกในการอุปโภคบริโภคสินค้าได้หลากหลายและราคาต่ำลง
รัฐบาลได้เลือกประเทศที่จะทํา FTA โดยมีเหตุผลสําคัญ เพื่อรักษาสถานภาพและศักยภาพในการส่งออกของไทยในการขยายโอกาสการส่งออก และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาสินค้าไทยโดยมีหลั กเกณฑ์ในการเลือกประเทศที่ทํา FTA ดังนี้
- เป็นตลาดการค้าดั้งเดิมของไทย เช่น สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ฯลฯ
- ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ เช่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ฯลฯ
- แหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพราคาตํ่า เช่น จีน อินเดีย ฯลฯ
- ประเทศที่มีศักยภาพด้านการค้าและการลงทุน เช่น เปรู สมาคมการค้าเสรียุโรป (European Free Trade Association : EFTA) และเป็นประตู เชื่อมโยงการค้าและการลงทุ นไปสู่ประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง
ในการเจรจา FTA ได้มีการดําเนินการด้วยความโปร่งใสและรอบคอบ โดยมีการศึกษาล่วงหน้าอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งก่อนและหลังการเจรจา
ก่อนการเจรจา ได้จัดจ้างสถาบันการศึกษาและนักวิชาการ ศึกษา วิเคราะห์เบื้องต้นถึงความเป็นไปได้และประเมินผลดี ผลเสียในการจัดทำ FTA กับประเทศต่าง ๆ กว่า 60 โครงการ รวมทั้งร่วมศึกษากับบางประเทศที่แสดงความสนใจอยากทำ FTA กับไทย เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และชิลี เป็นต้น ซึ่งหากกลุ่มประเทศ / ประเทศใดในภาพรวมได้ประโยชน์มากกว่าผลกระทบก็เจรจาต่อไป
ระหว่างการเจรจา ได้มีการประชุมหารือกับภาคเอกชนรวมทั้งศึกษาวิเคราะห์เพิ่มเติมและประเมินผลเป็นระยะ ๆ ควบคู่กันไป หากมีประเด็นต้องแก้ไขก็จะศึกษาทบทวน
หลังการเจรจา ติดตามและประเมินผลภายหลังความตกลงมีบังคับใช้ รวมถึงแนวทางการขยายประโยชน์จากการทำ FTA
ในการเจรจาจัดทํา FTA รัฐบาลได้ดําเนินการด้วยความโปร่งใส ยึดหลักการมีส่วนร่วมกับทุกฝ่ายโดยได้มีการสร้างความรู้ความเข้าใจและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั้งกลุ่มที่มีส่วนได้เสีย และกลุ่มที่อาจได้รับผลกระทบจากการทําFTA ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับการเจรจา โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ได้ดําเนินการ ดังนี้
การสร้างความรู้ความเข้าใจ
- จัดสัมมนาเผยแพร่ผลการเจรจาต่อกลุ่่มเป้าหมาย โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) เกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะซึ่งกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงพาณิชย์ได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
- เผยแพร่ข้อมูลผลการเจรจา FTA อย่างกว้างขวาง ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
- ได้จัดทำ Website http://www.thaifta.com เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในเรื่อง FTA ซึ่งรวมถึงความคืบหน้า / สถานการณ์เจรจา FTA ต่างๆ
- จัดตั้ง Call Center เพื่อตอบข้อซักถามทางโทรศัพท์ที่ หมายเลข 02-507-7555 และร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออกในการให้บริการข้อมูลแก่ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตอบข้อซักถามเกี่ยวกับ FTA ณ ศูนย์ One Stop Service กรมส่งเสริมการส่งออก ถนนรัชดาภิเษก
แม้ว่าการทําความตกลงการค้าเสรี (FTA) จะมีการเปิดตลาดโดยการลดภาษีนําเข้าระหว่างประเทศภาคีและมีข้อกังวลใจว่า FTA จะทําให้ประเทศไทยมีรายได้จากการเก็บภาษีศุลกากรลดลง แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเมื่อหักล้างกับการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศภาคีแล้ว ในที่สุดรัฐจะมีรายได้จากการเก็บภาษีต่างๆ ในประเทศลดลง เนื่องจากรายได้หลักของรัฐบาลมาจากการจัดเก็บภาษีโดย กรมสรรพากรกรมสรรพสามิต และกรมศลกากร ซึ่งในปีงบประมาณ 2552 สัดส่วนต่อรายได้รัฐทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 75.4, 19.3 และ 5.3 ตามลําดับ ดังนั้น การลดภาษีศุลกากรภายใต้ FTA อาจมีผลต่อรายได้โดยรวมของรัฐไม่มากนัก
ทั้งนี้ FTA จะช่วยส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างประเทศภาคี เมื่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการมีรายได้มากขึ้น การลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้นและมีการจ้างงานมากขึ้น รัฐอาจจัดเก็บภาษีชนิดอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้น ที่สำคัญมีดังนี้
- ภาษีทางตรง เมื่อผู้ประกอบการมีรายได้มากขึ้น หรือมีการจ้างงานมากขึ้น รัฐย่อมเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้มากขึ้น ทั้งนี้ รวมถึงการจัดเก็บภาษีจากแรงงานหรือผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้ามาทำงานหรือเข้ามาลงทุนและมีรายได้ในประเทศ
- ภาษีทางอ้อม
2.1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เมื่อมีการนำเข้าสินค้า หรือเมื่อมีการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นในประเทศ รัฐย่อมสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้น
2.2 ภาษีธุรกิจเฉพาะ รัฐอาจจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะกับผู้ประกอบธุรกิจบางประเภทที่กฎหมายกำหนดได้เพิ่มขึ้น เช่น
- เมื่อมีการขายห้องชุดหรือที่ดินให้แก่ผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น
- เมื่อธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการเพื่อใช้ลงทุนในกิจการเพิ่มขึ้น เป็นต้น
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ดำเนินการอย่างโปร่งใส ตั้งแต่เริ่มเจรจา โดยเปิดให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็น โดยได้หารืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน
กลุ่มส่วนที่มีส่วนได้เสีย กลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ทั้งก่อนระหว่างและหลังเจรจา มีการดำเนินการในแนวทางต่างๆ ดังนี้
- หน่วยงานรัฐ การประประชุมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
- ภาคการเมือง การชี้แจงข้อมูลสถานการณ์เจรจา และรับฟังข้อคิดเห็นจากคณะ กรรมาธิการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นระยะๆ
- ภาคเอกชน
- หารือกับผู้ผลิต ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมกว่า 30 สาขา
- การประชุมร่วมกับสภาอุตสาหกรรมฯและสภาหอการค้าฯ เป็นประจําและต่อเนื่อง
- ประชาชนทั่วไป รวมทั้งนักวิชาการ
- การจัดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นของประชาชนทุกภาคส่วน เกี่ยวกับความตกลงต่างๆ แต่ละความตกลง 7 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2552
- กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออก ให้บริการตอบข้อซักถามเกี่ยวกับ FTA ณศูนย์ One Stop Services กรมส่งเสริมการส่งออก ถนนรัชดาภิเษก
- การจัดสัมนา ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและรับฟังข้อคิดเห็นอย่างสมํ่าเสมอโดยตั้งแต่ ต.ค. 2550 – 2552 ได้จัดสัมมนารวม 79 ครั้ง
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนการเจรจาในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสในการจัดทำหนังสือสัญญาทั้งหมดที่นำเสนอ มีส่วนเกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่างๆ จึงได้ประสานให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการเจรจาจัดทำความตกลงด้วยตั้งแต่เริ่มแรก เช่น
ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าของอาเซียน ได้ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ความตกลงว่าด้วยการลงทุนของอาเซียน ได้ร่วมกับกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ความตกลงการค้าเสรีของอาเซียนกับคู่เจรจา ได้ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละหัวข้อเจรจา เช่น
- การลดภาษีสินค้า ร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงอุตสาหกรรม
- พิธีการศุลกากรและถิ่นกำเนิดสินค้า ร่วมกับกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
- มาตรฐานสินค้าและมาตรการสุขอนามัย ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรฯ เป็นต้น
จากสถิติ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีการขอใช้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนจากFTA โดยตรงเพียง1 ราย ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ในธุรกิจบริการติดตั้งแผ่นเหล็กกล้าที่ใช้ในการมุงหลังคาและผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ทําด้วยเหล็กกล้า โดยมีทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท เมื่อปี2549 การที่มีการขอใช้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนจากFTA โดยตรงไม่มากนัก เนื่องจากไทยไม่ได้ให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนภายใต้FTA เกินกว่าที่กฎหมายปัจจุบั นกําหนดไว้ อย่างไรก็ตาม นอกจากสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมจากBOI แล้ว การจั ดทําความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในการลงทุนจากต่างประเทศได้
ประเทศ | มูลค่าการลงทุน (ล้านบาท) | |||||||
ก่อนทำ FTA | 2547 | 2548 | 2549 | 2550 | 2551 | 2552 | ||
ออสเตรเลีย | 2547 | 4,987.8 | - | 1,209.7 | 513.7 | 1,557.4 | 3,195 | 676 |
นิวซีแลนด์ | 2547 | 108.0 | - | - | 80 | 42.7 | 875 | - |
จีน | 2546 | 1,389.6 | 4,432.5 | 2,285.6 | 2,455.7 | 15,855.9 | 3,474 | 7,009 |
อินเดีย | 2546 | 3,519.3 | 1,615.2 | 1,105.9 | 2,670.6 | 7,398.3 | 9,592 | 3,680 |
ญี่ปุ่น | 2550 | 164,323 | - | - | - | - | 106,155 | 58,905 |
อาเซียน | 2535 | 11,118.2 | 29,826 | 35,573 | 23,031 | 50,087 | 50,407 | 18,227 |
ที่มา มูลค่าการลงทุนในโครงการที่ได้รับอนุมัติ : สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
หลังจากที่ไทยได้จัดทำ FTA กับประเทศต่างๆ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว (ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน อินเดีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) ทำให้การค้าระหว่างไทย กับประเทศดังกล่าวขยายตัว เพิ่มมากขึ้น สำหรับในปี 2552 มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับประเทศคู่สัญญา FTA กับ 6 ประเทศ มีมูลค่ารวม 100,321.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 15.0% และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับทุกประเทศ ยกเว้นจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
ไทย-ออสเตรเลีย
ในปี 2552 การค้าระหว่างไทยและออสเตรเลียมีมูลค่า 12,366..6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 5.9% จากปี 2551 โดยไทยส่งออกเป็นมูลค่า 8,579.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 7.5% นำเข้าเป็นมูลค่า 3,787.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 26.7% ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลมูลค่า 4,791.7 ล้านเหรียญ
สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง
สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้า ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ น้ำมันดิบ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ถ่านหิน พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เคมีภัณฑ์ ด้ายและเส้นใย เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เป็นต้น
ไทย-นิวซีแลนด์
ในปี 2552 การค้าระหว่างไทยและนิวซีแลนด์มีมูลค่า 853.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 38.9 จากปี 2551 โดยไทยส่งออกเป็นมูลค่า 541.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 27.1% นําเข้าเป็นมูลค่า 311.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯฯ ลดลง52.3% ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลมูลค่า 230.5 ล้านเหรียญ
สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ เครื่องสําอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ผลิตภัณฑ์ยาง คอมพิวเตอร์อุปกรณ์และสว่นประกอบและข้าว
สินค้าสำคัญที่ไทยนําเข้า ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์นม อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้เคมีภัณฑ์ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบสัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็งแปรรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ด้ายและเส้นใยเป็นต้น
ไทย-อินเดีย
ในปี 2552 การค้าระหว่างไทยและอินเดียมีมูลค่า 4,951.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 17.1% จากปี 2551 โดยไทยส่งออก เป็นมูลค่า 3,223.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 3.6% นําเข้าเป็นมูลค่า 1,727.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 34.3% ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลมูลค่า 1,496.2 ล้านเหรียญ
สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ น้ำตาลทราย อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้า ได้แก่ เครื่องเพชรพลอยอัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป เป็นต้น
ไทย-จีน
ในปี 2552 การค้าระหว่างไทยและจีนมีมูลค่า 33,152.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง 8.8% จากปี 2551 โดยไทยส่งออกเป็นมูลค่า 16,121.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 0.4% นําเข้าเป็นมุลค่า 17,029.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯฯ ลดลง 15.5% ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลมูลค่า 905.1 ล้านเหรียญ
สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ยางพารา เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์ยาง แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น
สินค้าสำคัญที่ไทยนําเข้า ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์โลหะ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆเศษโลหะและผลิตภัณฑ์เป็นต้น
ไทย – ญี่ป่น
ในปี 2552 การค้าระหว่างไทยและออสเตรเลียมีมูลค่า 40,755.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 24.0% จากปี 2551 โดยไทยส่งออกเป็นมูลค่า 15,732.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 21.7% นําเข้าเป็นมูลค่า 25,023.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯฯ ลดลง 25.4% ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลมูลค่า 9,291.6 ล้านเหรียญ
สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ไก่แปรรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ยางพารา ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ เลนซ์และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม
สินค้าสำคัญที่ไทยนําเข้า ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์เคมีภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ สินแร่ โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทําจากพลาสติก และผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นต้น
ไทย – เกาหลี
ในปี 2552 การค้าระหว่างไทยและเกาหลีใต้มีมูลค่า 8,241.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 21.7 จากปี 2551 โดยไทยส่งออกเป็นมูลค่า 2,818.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 23.2% นําเข้าเป็นมูลค่า 5,422.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 21.0% ไทยเป็นฝ่ายขาดุลมูลค่า 2,604.0 ล้านเหรียญ
สินค้าสำคันที่ไทยส่งออก ได้แก่แผงวงจรไฟฟ้ายางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันดิบ ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
สินค้าสำคัญที่ไทยนําเข้า ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ในบ้าน แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องเพชรพลอยอัญมณี เงินแท่งและทองคำ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป เป็นต้น
ประเทศ | สินค้าที่ได้ประโยชน์ | สินค้าที่ได้รับผลกระทบ |
อาเซียน |
สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร |
สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร |
ออสเตร เลีย นิวซีแลนด์ |
สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร |
โคเนื้อ-โคนม สุกร(เครื่องใน) (เริ่มทะยอยลดภาษีแล้ว) |
จีน |
สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร |
สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร |
อินเดีย | สินค้าอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมเจือ เครื่องปรับอากาศเครื่องรับโทรทัศน์สี ตู้เย็น เม็ดพลาสติก เครื่องประดับเพชรพลอยทำด้วยโลหะมีค่า เครื่องจักรอุตสาหกรรมการเกษตร ส่วนประกอบรถยนต์ |
กระปุกเกียร์ของยานยนต์ขนาดใหญ่ และของทำด้วยเหล็ก |
ญี่ปุ่น |
สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร |
เหล็ก ชิ้นส่วนยานยนต์ |
ประเทศ | ก่อนทำ FTA | มูลค่าส่งออกหลังทำ FTA (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) | |||||
ปี | มูลค่าส่งออก | 2548 | 2549 | 2550 | 2551 | 2552 (มค-กย) |
|
ออสเตรเลีย - ขอใช้สิทธิ FTA |
2547 | 2,467.7 | 3,174.6 2,121.6 (66.8 %) |
4,349.6 2,745.7 (63.1%) |
5,937.4 4,066.7 (68.5%) |
7,982.5 4,915.2 (61.6%) |
6,132.8 2,921.7 (47.6%) |
นิวซีแลนด์ | 2547 | 329.9 | 521.3 | 525.7 | 639.6 | 742.7 | 227.7 |
จีน - ขอใช้สิทธิ FTA |
2546 | 5,688.9 | 9,167.6 613.7 (6.7%) |
11,727.9 1,450.3 (12.4%) |
14,846.8 1,7639.4 (11.9%) |
16,190.8 1,777.4 (11.0%) |
11,109.3 2,777.2 (25.0%) |
อินเดีย (82 รายการ) - ขอใช้สิทธิ FTA |
2546 | 65.0 | 340.7 266.7 (79.1%) |
364.3 328.1 (89.7%) |
359.8 398.7 (~100.0%) |
485.5 450.3 (92.7%) |
361.0 265.6 (73.6%) |
ญี่ปุ่น - ขอใช้สิทธิ FTA |
2550 | 18,119.1 | - | - | 3,227.9 (พย.-ธค.) 641.5 (พย.-ธค.) (19.9%) |
20,090.3 5,509.1 (27.4%) |
11,245.4 3,630.3 (32.3%) |
AFTA - ขอใช้สิทธิ FTA |
2535 | 4,490.2 | 24,390.4 5,145.6 (21.1%) |
27,021.7 5,508.8 (20.4%) |
32,791.1 7,864.7 (24.2%) |
40,151.3 11,048.7 (27.5%) |
32,491.1 9,889.3 (30.4%) |
ที่มา : สํานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร / กรมการค้าต่างประเทศ
หมายเหุต ข้อมูลญี่ปุ่น : FTA ไทย-ญี่ปุ่น มีผล 1 พ.ย.2550 ทําให้ข้อมูลการส่งออก /ขอใช้สิทธิ มีเพียง เดือน พ.ย.-ธ.ค. เท่านั้น
AFTA เป็นข้อมูลปี 2552 (มค.-ธค.)
(1) ความเป็นมา
องค์การการค้าโลก (World Trade Organization:WTO) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีพัฒนาการมาจากการทําความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์(General Agreement onTariffs and Trade:GATT) เมื่อปีพ.ศ.2490 แต่ไม่มีสถานะเป็นสถาบันจนกระทั่งประเทศสมาชิกได้เปิดการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย (พ.ศ. 2529) และผลการเจรจาส่วนหนนึ่ง คือการก่อตั้ง WTO ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 มีสมาชิกเริ่มแรก 81 ประเทศ รวมทั้งไทย สํานักเลขาธิการของ WTO ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีนายปาสกาล ลามี ดํารงตําแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ของ WTO ปัจจุบนั ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2553 WTO มีสมาชิกทั้งสิ้น 153 ประเทศ
(2) สถานะล่าสุดของการเจรจารอบโดฮา
- การเจรจาในกรอบ WTO ปัจจุบัน เรียกว่าการเจรจารอบโดฮาเริ่มขึ้นในการประชุมระดับรัฐมนตรี ขององค์การการค้าโลก หรือ WTO Ministerial Conference (MC) ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ มีเรื่องสําคัญที่สมาชิกต้องเจรจากัน 8 เรื่องได้แก่ เรื่องสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม บริการการค้าและสิ่งแวดล้อม ทรัพย์สินทางปัญญา การปรับปรุงกฎเกณฑ์ทางการค้า การปรับปรุงกลไกระงับข้อพิพาท และการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติตามพันธกรณีรอบอุรุกวัย และมีกําหนดให้เจรจาให้เสร็จภายใน 3 ปีคือภายในวันที่ 1 มกราคม 2548 แต่การเจรจากลับยืดเยื้อ เพราะมีความขัดแย้งในหลายประเด็น
- ต่อมา ที่ประชมุ MC ครั้งที่ 6 ที่ฮ่องกง เดือนธันวาคม 2548 ได้ต่อระยะเวลาการเจรจาออกไปเนื่องจากสมาชิกก็ไม่สามารถตกลงกันได้หลายประเด็น ที่สําคัญ คือ เรื่องการเปิดตลาดสินค้าเกษตร การลดการอุดหนุน นภายในสินค้าเกษตร และการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งในที่สุดการเจรจารอบโดฮา
ต้องชะงักงันไประยะหนึ่ง
- ความคืบหน้าในการเจรจา อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางภาวะกฤตเศรษฐกิจการเงินของโลกในปี 2551 ผู้อำนวยการใหญ่ WTO (นายปาสกาล ลามี) และประเทศสมาชิกต่างมุ่งมั่นที่จะปิดการเจรจารอบโดฮา จึงได้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรี WTO อย่างไม่เป็นทางการ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อหาข้อสรุปในประเด็นสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม และการประชุม Signaling Conference เพื่อหยั่งท่าทีการเปิดตลาดการค้าบริการ โดยมีสมาชิกสําคัญๆ ราว 30 ประเทศเข้าร่วมประชุม แม้ว่าการประชุม Signaling Conference ได้ผลดีในระระดับหนึ่ง แต่การเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมกลับไม่ประสบความสำเร็จเร็จ เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างอินเดียกับสหรัฐฯ ในเรื่องการใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard Mechanism – SSM) สําหรับสินค้าเกษตร
- ในช่วงปี 2552 มีความพยายามจากหลายฝ่ายที่จะผลักดันการเจรจารอบโดฮา นอกจากอินเดียได้จัดการประชุมรัฐมนตรี WTO อย่างไม่เป็นทางการเมื่อเดือนกันยายน 2552 แล้ว ยังมี Political Will ของผู้นําจากเวทีการประชุมระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะ การประชุม G20 ที่เมืองพิตส์เบิร์ก แสดงเจตจํานงค์ให้การเจรจารอบโดฮามีข้อสรุปภายในปี 2553 แต่ประเทศสมาชิกก็ยังคงมีท่าทีที่แตกต่างกันอย่างมาก โดยเฉพาะในประเด็นหลัก คือการเจรจาสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม การเจรจาในระดับเจ้าหน้าที่เทคนิคและเจ้าหน้าที่อาวุโสจึงยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ท่าทีประเทศสมาชิกสําคัญต่างๆอาทิสหรัฐฯ สหภาพฯอินเดียเป็นต้น ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือประนีประนอมมากขึ้น
- ในการประชุมรัฐมนตรี WTO MC ครั้งที่ 7 เมื่อเดือนธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา ณ นครเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศสมาชิก WTO ส่วนใหญ่ ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมเต็มคณะว่า จะสนับสนุนการเจรจารอบโดฮาให้แล้วเสร็จในปี 2553 โดยเชื่อว่าการเจรจารอบโดฮาที่จะช่วยบรรเทาและเยียวยาผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ตลอดจนช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศกําลังพัฒนา
(3) บทบาทของไทยในการเจรจา
ประเทศไทยให้ความสําคัยต่อการเจรจารอบโดฮามาโดยตลอดและเชื่อมั่นว่า ผลการเจรจารอบโดฮาจะส่งผลทำให้มีการเปิดตลาดอย่างมากสําหรับสินค้าเกษตร ประมง และสินค้าอุตสาหกรรม โดยจะพยายามให้มีข้อยกเว้นในการเปิดตลาดได้บ้างเท่าที่จําเป็น และต้องมีผลกระทบต่อสินค้าส่งออกสําคัญของไทยน้อยท่ี่สุด นอกจากนี้จะให้ปัจจัยที่ทําให้เกิดการบิดเบือนทางการค้าลดลงให้มากที่สุด และให้มีกฎระเบียบทางการค้าที่มีความเป็นธรรม เอื้อประโยชน์แก่ประเทศมากที่สุด
ความสำคัญของการเจรจาต่อประเทศไทย
หากการเจรจาสามารถได้ข้อยุติได้โดยเร็ว ผลประโยชน์สําคัญที่ไทยจะได้รับ คือ
- โอกาสการเปิดตลาดจะมีมากขึ้น เนื่องจากอัตราภาษีนําเข้าจะลดลง โดยเฉพาะในสินค้าสําคัญๆ ของประเทศคู่ค้าหลักทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร เนื่องจากในปัจจุบันอัตราภาษีนําเข้ายังอยู่ในอัตราที่สูง เช่น สหรัฐฯ สินค้ารองเท้า 60% สิ่งทอ 30% อาหารทะเลกระป๋อง 20 % ญ่ีปุ่น สินค้าข้าว 1,000 % คานาดา เนื้อไก่ 150 % เกาหลี มันสำปะหลัง 887 % ไต้หวัน น้ำตาล 143 % เป็นต้น ดังนั้น หากภาษีนําเข้าลดลง โอกาสในการขยายตลาดสินค้าของไทยในตลาดหลักจะมีมากขึ้นอย่างชัดเจนนอกจากนี้จะทําให้ไทยมีโอกาสเปิดตลาดใหม่ โดยเฉพาะประเทศกําลังพัฒนาในกลุ่มอัฟริกา ลาติน อเมริกา และเอเซีย เนื่องจากประเทศกําลังพัฒนาในกลุ่มเหล่านี้ยังมีอัตราภาษีเฉลี่ยในระดับที่สูงมากโดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ สินค้าอิเลคโทรนิกส์ สิ่งทอ เครื่องประดับ เป็นต้น
- ด้านการแข่งทางการค้าจะมีความเป็นธรรม เนื่องจากปัจจัยที่ก่อให้เกิดการบิดเบือนทางการค้า จะลดลง หรือ หมดไป โดยเฉพาะการอุดหนุนการผลิตสินคาภายใน และการสนับสนุนการส่งออกของสินค้า เกษตรซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสําคัญของไทย (มูลค่าส่งออกกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งในปัจจุบันประเทศใหญ่ๆได้ให้การอุกหนุนอยู่มากโดยเฉพาะสินค้า ข้าว น้ำตาล ไก่ เช่น
- การอุดหนุนภายใน : ข้าว : สหภาพฯ 556 ล้านยูโร สหรัฐฯ 607 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ น้ำตาล : สหภาพฯ 5,800 ล้านยูโร สหรัฐฯ 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- การสนับสนุนการส่งออก : ข้าว : สหภาพฯ 30 ล้านยูโร สหรัฐฯ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ น้ำตาล : สหภาพฯ 400 ล้านยูโร ไก่ : สหภาพ และ สหรัฐฯ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้การอุดหนุนภายใน และ การสนับสนุนการส่งออก เป็นการก่อให้เกิดการบิดเบือนทาง การค้า อันส่งผลให้ผลผลิตสินค้าเกษตรในตลาดโลกมีมาก และก่อให้เกิดภาวะราคาสินค้าเกษตรใน ตลาดโลกตกตํ่า ผลคือ สินค้าเกษตรของไทยจะไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ อย่างที่ควร
- โอกาสที่คนไทยจะสามารถเดินทางไปทํางานหรือ ดำเนินธรุกิจในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขัน เช่น บริการด้านสุขภาพ ความงาม สปาร้านอาหารและโรงแรม เป็นต้น
จากผลการศึกษาขององค์กรวิชาการในสหรัฐฯ ประเมินว่า หากการเจรจารอบโดฮาสําเร็จจะทําให้ การส่งออกโลกเพิ่มขึ้น 180-520 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีและ GDP เพิ่มขึ้น 300-700 พันล้านเหรียญ สหรัฐ ต่อปี อันจะช่วยลดช่องว่างระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและกําลงพัฒนาลง และช่วยบรรเทาวิกฤติ เศรษฐกิจที่ทุกประเทศกำลังเผชิญอยู่ด้วย
ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศพัฒนาแล้วได้พยายามนำเรื่องสิ่งแวดล้อมมาใช้เป็นมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีอีกประการหนึ่ง ทั้งนี้เพราะผู้บริโภคทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญมากขึ้นในหลายๆ ด้านรวมไปถึงการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าด้วย จึงส่งผลให้สิ่งแวดล้อมมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ทั้งในการผลิตและการค้าสินค้า WTO เองก็ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน โดยได้มีประเด็นการเจรจาอยู่ 3 เรื่องคือ
- ความสัมพันธ์ระหว่างกฎเกณฑ์ WTO กับมาตรการการค้าภายใต้ความตกลงสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
- กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างฝ่ายเลขาธิการของความตกลงพหุภาคีเรื่องสิ่งแวดล้อมต่างๆ (Multilateral Environmental Agreements : MEAs) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมของ WTO และหลักเกณฑ์ในการให้สถานะผู้สังเกตการณ์แก่ MEAs
- ลดหรือยกเลิกมาตรการภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษีสำหรับสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งประเด็นสุดท้ายนี้เป็นประเด็นที่ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากสามารถเห็นผลในเชิงรูปธรรมได้ชัดเจน ที่ผ่านมา ในการเจรจาเรื่องสิ่งแวดล้อมภายใต้ WTO ประเทศสมาชิกมีความต้องการที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องในการให้คำจำกัดความของสินค้า
สิ่งแวดล้อมหรือวิธีการลดภาษีประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหภาพยุโรปได้พยายามผลักดันให้มีการเจรจาเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะต้องการรักษาสภาพแวดล้อมไปพร้อมกับขยายการค้า และให้มีการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันในการรักษาสิ่งแวดล้อมของโลก ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนามีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน เช่น ยังไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมและยังไม่มีกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด อีกทั้งยังเกรงว่าประเทศพัฒนาแล้ว อาจใช้เรื่องสิ่งแวดล้อมมาเป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้า จึงทำให้การเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้จนถึงปัจจุบันนี้ และยังคงเป็นเรื่องที่ต้องมีการเจรจากันต่อไป
กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO (DSU) เปรียบเสมือนศาลการค้าระหว่างประเทศ ทําหน้าที่พิจารณาข้อพิพาททางการค้าระหว่างสมาชิก WTO และมีบทลงโทษกรณีภาคีที่ถูกตัดสินว่าทําผิด กฎเกณฑ์ของ WTO และไม่ยอมปฏิบัติ ตามคําตัดสิน กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายจากประเทศสมาชิก เห็นได้จากจํานวนกรณีพิพาทที่ได้มีการนําเข้าสู่่กระบวนการดังกล่าวกว่า 400 คดี นับตั้งแต่ ก่อตั้ง WTO ในปี 2538 จนถึงปัจจุบัน
ผู้้ที่สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องใน WTO ได้ จะต้องเป็นรัฐบาลของประเทศสมาชิกเท่านั้นโดยประเทศสมาชิกที่เห็นว่าตนเสียประโยชน์เพราะประเทศสมาชิกอื่นไม่ยอมปฏิบัติตามความตกลง WTO ก็สามารถขอหารือกับสมาชิกที่ทําให้ตนเสียหายได้ และหากไม่สามารถตกลงกันได้ ประเทศที่ได้รับความเสียหายก็สามารถขอตั้งคณะผู้้พิจารณาซึ่งทําหน้าที่เหมือนศาล เพื่อให้ตัดสินคดีได้ โดยที่การฟ้องร้องของ WTO มี 2 ลําดับขั้น คือ การฟ้องคดีต่อคณะผู้้พิจารณา (Panel) ซึ่งเปรียบเสมือนศาลการค้าของโลก และองค์กรอุทธรณ์ (Appellate Body) ซึ่งเปรียบเสมือนศาลสูง คณะผู้้พิจารณาจะทําหน้าที่พิจารณาและตัดสินคดี หากประเทศคู่่กรณีไม่อุทธรณ์คําตัดสินของคณะผู้้พิจารณา สมาชิก WTO ก็จะรับรองคําตัดสินดังกล่าวและถือว่าคําตัดสินนั้นเป็นที่สุดและมีผลผูกพันคู่กรณี เว้นแต่ สมาชิกทั้งหมด 153 ประเทศ มีมติเอกฉันท์ไม่รับรองคําตัดสิน ซึ่งเกิดขึ้นได้ยากมาก
หากประเทศคู่กรณีไม่เห็นด้วยกับคําตัดสินของคณะผู้้พิจารณา ก็สามารถอุทธรณ์ต่อองค์กรอุทธรณ์ได้ และประเทศที่แพ้คดีจะต้องยกเลิกการกระทําที่ถูกตัดสินว่าขัดกับความตกลง WTO ทันทีหรือภายในระยะเวลาที่กําหนด
การต่อสู้กับประเทศใหญ่ในกรณีที่ประเทศเหล่านั้นมีการใช้มาตรการที่บิดเบือนการค้า ซึ่งไทยได้รับประโยชน์ และชนะคดีที่ประเทศอื่นๆ กีดกันการค้าในหลายกรณี เช่น กรณีพิพาทไก่หมักเกลือ ไทยได้ร่วมกับบราซิล ยื่นฟ้องสหภาพฯต่อ WTO กรณีที่สหภาพฯเปลี่ยนประเภทพิกัดอัตราศุลกากรของสินค้าไก่หมักเกลือเป็นสินค้าไก่แช่แข็ง ทำให้ผู้ส่งออกไทยต้องเสียภาษีเพิ่มมากขึ้นจากเดิมร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 53 รวมภาษีที่ต้องเสียเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 3,500 ล้านบาท ซึ่งองค์กรอุทธรณ์ของ WTO ได้ตัดสินให้ไทยชนะคดี ทำให้สหภาพฯต้องลดภาษีนำเข้าไก่หมักเกลือลงมาที่อัตราเดิม
กรณีพิพาท C-Bond และ Zeroing ไทยได้ดำเนินการฟ้องร้องสหรัฐอเมริกา กรณีที่สหรัฐฯ เรียกเก็บเงินประกันภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้ากุ้งแช่แข็งจากไทย หรือ C-bond และใช้มาตรการ Zeroing เพื่อคำนวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด เป็นการกีดกันทางการค้าและขัดกับกฎเกณฑ์ของ WTO โดยผู้ส่งออกกุ้งแช่แข็งของไทยกว่าครึ่งหยุดการส่งออก เนื่องจากผู้ส่งออกสินค้ากุ้งแช่แข็งของไทยต้องวางประกันสูงขึ้นกว่าเดิมประมาณปีละ 1,370 ล้านบาท มาตรการดังกล่าวจึงสร้างภาระให้ผู้ส่งออกไทยเป็นอย่างมาก และองค์กรอุทธรณ์ได้ตัดสินให้ไทยชนะคดีเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2551
กรณีพิพาทน้ำตาล ไทยร่วมกับบราซิลและออสเตรเลียฟ้องสหภาพยุโรปต่อ WTO ว่าสหภาพยุโรปให้การอุดหนุนส่งออกน้ำตาลเกินกว่าที่ WTO อนุญาตถึง 3.5 ล้านตัน หรือคิดเป็นมูลค่าการอุดหนุนส่งออกสูงกว่าที่ผูกพันไว้ประมาณ 32,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ ในปี 2545 ไทยได้รับความเสียหายจากการอุดหนุนส่งออกน้ำตาลของสหภาพยุโรปเป็นเงินประมาณ 6,500 ล้านบาท องค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO ได้ตัดสินให้ฝ่ายไทยชนะคดีดังกล่าว ส่งผลให้สหภาพยุโรป ต้องลดการอุดหนุนส่งออกน้ำตาลลงเหลือไม่เกินปีละ 1.27 ล้านตัน หรือคิดเป็นมูลค่าการอุดหนุนส่งออกไม่เปิด 499 ล้านยูโรต่อปี ตามที่ได้ผูกพันไว้ใน WTO ทำให้ไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกสามารถส่งออกน้ำตาลได้ในปริมาณและราคาที่สูงขึ้น
กรณีที่ผู้ส่งออกสินค้าส่งสินค้าออกไปขายในต่างประเทศ (Export Price) ในราคาที่ตํ่ากว่าราคาที่ขายภายในประเทศของตน (Normal Value) หรือที่เรียกว่า การทุ่่มตลาด ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และมีผลให้อุตสาหกรรมภายในของประเทศผู้้นําเข้าได้รับความเสียหาย และก่อให้เกิดผลกระทบต่ อระบบเศรษฐกิจและการค้าของประเทศคู่แข่งขัน
ดังนั้น WTO จึงอนุญาตให้ประเทศผู้้นําเข้าที่ถูกทุ่่มตลาดสามารถเก็บภาษีเพื่อตอบโต้การทุ่่มตลาดได้ แต่จะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์กติกาที่WTO กําหนดไว้เท่านั้น และไม่สามารถเก็บภาษีตอบโต้การทุ่่มตลาดตามอําเภอใจได้ โดยผู้้ประกอบการของประเทศผู้้นําเข้า สามารถยื่นคําร้องขอต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ไต่สวนว่าสินค้าที่นําเข้ามีการทุ่่มตลาดหรือไม่ โดยประเทศผู้้นําเข้าจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า
- มีการทุ่่มตลาดในสินค้าที่ถูกยื่นขอให้ไต่สวนจริง
- มีความเสียหายเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศผู้้นําเข้า
- ความเสียหายที่เกิดขึ้น เกิดจากการทุ่่มตลาด
ทั้งนี้ ประเทศที่เรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่่มตลาดจะเรียกเก็บได้ไม่เกิน 5 ปี และผู้้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ผู้้ส่งออกหรือผู้้นําเข้าซึ่งอยู่่ภายใต้การไต่สวน รัฐบาลประเทศของผู้้ส่งออก หรือผู้้ผลิตสินค้าที่เหมือนกันหรือประเภทเดียวกันของประเทศผู้้นําเข้า สามารถยื่นขอทบทวนเพื่อ ติการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่่มตลาด หรือลด หรือเพิ่มภาษีอากรตอบโต้การทุ่่มตลาดที่เรียกเก็บได้ แต่จะต้องมีเหตุผลและข้อมูลสนับสนุนด้วย