ปัจจุบันอาเซียนยังอยู่ระหว่างการจัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และสหภาพยุโรป และได้ทำการศึกษาหาความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน - GCC (Gulf Cooperation Council: ประกอบด้วย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต กาตาร์ โอมาน ซาอุดิอาระเบีย และบาห์เรน) และอาเซียน-MERCOSUR (ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง : ประกอบด้วย บราซิล อาร์เจนตินา ปารากวัย อุรุกวัย และเวเนซูเอลา) และในอนาคตอาจมีการขยายการจัดทำ FTA ของอาเซียนออกไปในกรอบกว้างมากขึ้น อาทิในกรอบอาเซียน+3 และอาเซียน+6 เพื่อขยายตลาด การค้าและการลงทุน
(1) กระทรวงพาณิชย์ได้ หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง
- ตั้งแต่กระบวนการเจรจาจัดทำแผนงานที่อาเซียนจะก้าวไปสู่ AEC
- การปฏิบัติตามแผนงาน และแนวทางรองรับผลกระทบ ซึ่งในส่วนนี้ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามแผนงาน AEC ซึ่งมีปลัดพณ. เป็นประธาน และมี ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึง 47 หน่วยงาน ร่วมอยู่ด้วย
(2) ในวันที่ 1 ม.ค.53 ที่ภาษีภายใตเขตการค้าเสรีอาเซียน สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศจะเป็น 0 คิดว่าภาคส่วนต่างๆ ของไทยน่าจะมีความพร้อม เพราะกระทรวงพาณิชย์ได้มีการประชาสัมพันธ์มาอย่างต่อเนื่อง ในหลายช่องทางและหลายรูปแบบ ทั้งการเผยแพร่ผานสื่อต่างๆ การอบรมสัมมนา ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวของเป็นอย่างดี (กระทรวงเกษตรฯกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง)
(3) ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ (โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) ได้ดำเนินการจัดสัมมนาให้กับทั้งภาครัฐและเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
- ในปี 2550 จำนวน 23 ครั้ง
- ในปี 2551 จำนวน 38 ครั้ง
- ในปี 2552 จำนวน 56 ครั้ง
- ในปี 2553 มีแผนงานจะจัดจํานวน 60 ครั้ง โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายได้แก่นักธุรกิจผู้ประกอบการ เกษตรกร อาจารย์ นักศึกษา NGOs และประชาชนทั่วไป
(4) กระทรวงฯ ได้กำหนดแผนการจัดการสัมมนาให้ถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยการสร้างพันธมิตรกับผู้นำสถาบันต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาได้ ทำการจัดสัมมนาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต เป็นต้น
ความคืบหน้าการเจรจาในแต่ละกรอบสรุปได้ดังนี้
1) อาเซียน-จีน
การค้าสินค้า : อาเซียนจะจีนลงนามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าแล้วเมื่อปี 2547 และเริ่มลดภาษีสินค้ามาตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2548
การค้าบริการ : ได้มีการลงนามความตกลงการค้าบริการและข้อผูกพันการเปิดตลาดรายสาขา ชุดที่ 1 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550 และความตกลงมีผลบังคับใช้ แล้วตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2550 ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำข้อมูลผูกพันชุดที่สองโดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปการเจรจา ภายในกลางปี 2553
การลงทุน : อาเซียนและจีนได้ลงนามความตกลงด้านการลงทุนเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2552 โดยความตกลงดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ : อาเซียนและจีนได้จัดตั้งคณะทำงานว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในปี 2552 โดยคณะทำงานจะหารือเพื่อจัดทำโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับความตกลงฯ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศภาคีภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน
2) อาเซียน-อินเดีย
การค้าสินค้า : ได้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าแล้วเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 โดยได้เริ่มมีผลบังคับใช้ในการลดภาษีระหว่างกันแล้วในต้นปี 2553
การค้าบริการและการลงทุน : อยู่ในระหว่างการเจรจา โดยได้ตั้งเป้าสรุปผลการเจรจาภายใน การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 42 ในเดือน สิงหาคม 2553
กลไกระงับข้อพิพาท : อยู่ระหว่างการเจรจา
3) อาเซียน-ญี่ปุ่น
อาเซียนและญี่ปุ่นได้สรุปผลการเจรจาได้แล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2551 เห็นชอบให้ประเทศไทยลงนามในความตกลงซึ่งอาเซียนและญี่ปุ่นได้ลงนามในความตกลงฯ แล้วเมื่อเดือนเมษายน 2551 และเริ่มบังคับใช้ความตกลง ด้านสินค้าแล้วเมื่อเดือนมิถุนายน 2552 สำหรับด้านการค้าบริการและการลงทุนอยู่ระหว่างหารือเพื่อเริ่มการเจรจา
4) อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี
กรอบความตกลงและความตกลงกลไกระงับข้อพิพาท : เกาหลีและอาเซียนลงนามความตกลงทั้งสองฉบับเมื่อเดือนธนวาคม 2549 และมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมิถุนายน 2550
การค้าสินค้า : เกาหลีและอาเซียน (ยกเว้นไทย) ลงนามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเมื่อปี2549 และมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 โดยไทยเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงเมื่อเดือนกุมภาพัยธ์ 2552 และมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนตุลาคม 2552
การค้าบริการ : เกาหลีและอาเซียน (ยกเว้นไทย) ลงนามความตกลงฯเมื่อเดือนพฤศจิกายน2550 และมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม 2552 โดยไทยเข้าร่วมความตกลงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 และมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมิถุนายน 2552
การลงทุน : เกาหลีและอาเซียนลงนามความตกลงฯเมื่อเดือนมิถุนายน 2552 และมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกันยายน 2552
5) อาเซียน-ออสเตรเลยี-นิวซีแลนด์
อาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ ลงนามในความตกลงแล้วเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 โดยความตกลงได้มีผลบังคับใช้สำหรับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ (บรูไน มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และเวียดนาม) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 และจะมีผลบังคับใช้สำหรับไทยในวันที่ 12 มีนาคม 2553
6) อาเซียน-สหภาพยุโรป
ไทยได้เข้าร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียนสหภาพยุโรป มาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งมีการเจรจาแล้วรวม 7 ครั้ง แต่ทั้งสองฝ่ายยังมีความแตกต่างกันเรื่องระดับการพัฒนาและระดับการเปิดตลาดสินค้าและบริการรวมทั้งประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ จึงทำให้ การประชุมครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 4-5 มีนาคม 2552 ได้มีมติให้พักการเจรจา
การเป็น AEC จะช่วยลดอุปสรรคในด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกรวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆระหว่างกัน เช่น ด้านพิธีการศุลกากร มาตรฐานและความสอดคล้องการอำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง เป็นต้น
ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการเป็น AEC
1) การเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วน อาเซียนจะเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนที่สำคัญของไทย และจะช่วยส่งเสริมเป้าหมายการเป็น gateway ของไทยทั้งด้านการค้าและการลงทุน ซึ่งไทยจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดการมองอาเซียนจากคู่แข่งมาเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจโดยการสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้น ทั้งแก่คนไทยและผู้ประกอบการไทย
2) การเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ ไทยจะต้องใช้ประโยชน์จากความแตกต่างของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละ ประเทศให้เป็นประโยชน์โดยพิจารณา competitive advantage เป็นสำคัญเนื่องจากประเทศในอาเซียนมีความ หลากหลายและความพร้อมทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันไปมีทั้งกลุ่มที่มีความชำนาญในด้านเทคโนโลยี กลุ่มที่ เป็นฐานการผลิต และกลุ่มที่มีทรัพยากรและแรงงานสำหรับการผลิต ดังนั้นไทยจึงจำเป็นต้องพิจารณาเลือกใช้ ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีอยู่ของแต่ละประเทศให้เหมาะสม
3) การเป็นฐานการผลิตให้อุตสาหกรรมไทยไทยอาจพิจารณาเคลื่อนย้ายฐานการผลิตในบางอุตสาหกรรมออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานและแรงงานกึ่งฝีมือเช่นอุตสาหกรรม แปรรูปอาหาร สิ่งทอเฟอร์นิเจอร์แปรรูปผลิตภัณฑ์ไม้ หรือการไปร่วมลงทุน กับประเทศเพื่อนบ้าน
4) การเป็นตลาดที่มีประชากรกว่า 550 ล้านคนการรวมกลุ่มของอาเซียนจะทำให้ ตลาดการค้าของไทยในอาเซียนขยายออกไปมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มพูนการค้าระหว่างกันเนื่องจาก การลดอุปสรรคในด้านต่างๆ ลง
พันธกรณี ที่ไทยจะต้องดำเนินการ
1) Free flow of goods
Liberalization
- ยกเลิกภาษีสินค้าทุกรายการสำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ภายในปี 2010 (พ.ศ.2553) ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว (sensitive list: SL) ซึ่งไทยมี 4 ประเภทสินค้าได้แก่ กาแฟ มันฝรั่งมะพร้าวและไม้ตัดดอก ซึ่งสามารถคงภาษีไว้ได้ ไม่เกิน 5%
- ยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) ที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีซึ่งในส่วนของไทยได้แก่สินค้าเกษตร 23 รายการ ที่จะต้องยกเลิกโควตา(TRQs) ทั้งหมด ให้กับประเทศสมาชิกอาเซียน
- ยอมรับกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าทที่มีความง่ายมาใช้ในอาเซียน ซึ่งประเด็นปัญหาขณะนี้คืออาเซียนยอมใช้ กฎ ROO ที่ง่ายกว่ากับประเทศคู่เจรจาแต่กลับใช้ ROO ที่ยากกว่าในอาเซียนเท่ากับให้สิทธิประเทศอื่นมากกว่า สมาชิกอาเซียนด้วยกัน ควรต้องปรับให้สอดคล้องกัน
- เร่งจัดตั้ง National Single Window ให้เสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศ ASEAN-6 เป็นระบบ ASEAN SingleWindow (ASW) ต่อไป โดย ASW เป็นการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรเพื่อให้เอกสารทุกอย่างอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์และมีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวของทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้มีการยื่นเอกสารเพียงครั้งเดียวและสามารถตัดสินใจในการตรวจปล่อยได้ในคราวเดียว
2) Free Flow of Services
การเปิดเสรี :
สำหรับแผนการเปิดเสรีด้านการค้าบริการได้มีการกำหนดเป้าหมายซึ่งสรุปได้ดังนี้
- การให้บริการแบบข้ามพรมแดน (Mode 1) และการให้คนในประเทศเดินทางไปบริโภคบริการในต่างประเทศ (Mode 2) : จะต้องยกเลิกข้อจำกัดทั้งหมด แต่ทั้งนี้หากมีเหตุผลจำเป็นนที่จะต้องคงเงื่อนไขบางประการสำหรับสาขาบริการนั้นๆ ก็อาจสามารถทำได้
- การให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาจัดตั้งธุรกิจ (Mode 3): ได้มีการกำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องเปิดให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาจัดตั้งธุรกิจโดยถือหุ้นได้มากขึ้นจนถึง 70% ซึ่งจะเปิดอย่างเป็นขั้นๆดังนี้ :
- สำหรับสาขาที่เป็น Priority servicessectors (ซึ่งได้แก่ E-ASEAN (บริการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม), Tourism, และHealthcare): 49% (ปี 2006), 51% (ปี 2008),และ 70% (ปี 2010)
- สำหรับสาขา Logistics: 49% (ปี 2008),51% (ปี 2010) และ 70% (ปี 2013)
- สำหรับสาขาบริการอื่นๆ ที่เหลือ (ซึ่งได้แก่ บริการด้านวิชาชีพ ก่อสร้างการจัดจำหน่ายการศึกษา สิ่งแวดล้อม ขนส่งและอื่นๆ): 49%(ปี 2008), 51% (ปี 2010) และ 70% (ปี 2015)
นอกจากนี้ต่อไปสมาชิกจะได้มีการหารือเพื่อลด/ยกเลิกข้อจำกัดอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการจัดตั้งธุรกิจอีกด้วย ทั้งนี้สำหรับสาขาการเงิน และการขนส่งทางอากาศจะได้มีการกำหนดเป็นการเฉพาะแตกต่างไป
- การเปิดให้บุคคลธรรมดาเดินทางเขามาให้บริการ (Mode 4) : ให้สมาชิกผูกพันเปิดตลาดมากขึ้น และส่งเสริมในเรื่องการเคลื่อนย้ายบุคลากรอาเซียนให้สามารถเดินทางและทำงานในประเทศสมาชิกได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
- อย่างไรก็ตาม เป้าหมายต่างๆ ข้างต้นอาจมีความยืดหยุ่นได้บ้างในระดับหนึ่งซึ่งจะต้องมีการหารือระหว่าง ประเทศสมาชิกต่อไป
3) Free Flow of Investment
- ทบทวนกรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน (AIA) ให้เป็น Comprehensive Investment Agreement ที่ครอบคลุมเรื่องการเปิดเสรีการอำนวยความสะดวกการส่งเสริมและการคุ้มครองการลงทุนด้วย โดยสาระสำคัญคือการให้สิทธิพิเศษภายใต้กรอบความตกลง AIA จะต้องขยายให้ ครอบคลุม ASEAN-based investors หรือนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาดำเนินกิจการในอาเซียนเพื่อทำให้ อาเซียนเป็นแหล่งรองรับการลงทุนที่น่าดึงดูดมากขึ้นและจะส่งผลให้ได้ รับประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีระดับชั้นนำของโลกด้วย
4) Freer Flow of Capital
ด้านตลาดทุน - จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการพัฒนาและการรวมตัวของตลาดทุนในอาเซียนโดยสร้างความสอดคล้องในมาตรฐานด้านตลาดทุนในอาเซียน ความตกลงสำหรับการยอมรับซึ่งกันและกันในคุณสมบัติและคุณวฒุิการศึกษาและประสบการณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพด้านตลาดทุน และส่งเสริมให้ใช้ ตลาดเป็นตัวขับเคลื่อนในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันเองในตลาดทุนอาเซียน
ด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย - จะเปิดให้มาเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรียิ่งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยให้สมาชิกมี มาตรการปกป้องที่เพียงพอเพื่อรองรับผลกระทบจากปัญหาความผันผวนของเศรษฐกิจมหภาคและความเสี่ยง เชิงระบบ รวมถึงการมีสิทธิที่จะใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาค
การที่อาเซียนตั้งเป้าหมายเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ภายในปี 2015 (พ.ศ. 2558) เพื่อให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการการลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรีและการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ เสรีมากขึ้น ไทยได้ดำเนินการเตรียมความพร้อม และมีมาตรการรองรับ ดังนี้
การเตรียมความพร้อม
(1) ขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนด /ปรับปรุงกฏเกณฑ์/กฏระเบียบที่รับผิดชอบโดยกระทรวงทบวง กรมต่างๆ ใหสอดคล้องกับพันธกรณีตามที่ได้ตกลงกันไว้ ทั้งในด้านการเปิดตลาดการค้าสินค้า การเปิดเสรีภาคบริการและการเปิดตลาดด้านการลงทุนให้กับประเทศสมาชิก
อาเซียน
(2) สร้างกลไกการประสานงานระหว่างหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามแผนงานไปสู่ AEC ขณะนี้ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน และประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 47 หน่วยงาน (ตามคำสั่ง กนศ. ที่ 1/2550 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2550) ทั้งนี้ ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการฯครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2550
(3) เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ทราบ เพื่อปรับตัวให้ทันกับสภาพการณ์ ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป และสามารถให้ประโยชน์ จากการรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจของอาเซียนได้อย่างเต็มที่ซึ่งกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศร่วมกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภายในกระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าต่างประเทศ กรมพัฒนาการธุรกิจ การค้า กรมส่งเสริมการส่งออก) และหน่วยงานจากต่างกระทรวง (กระทรวงเกษตรฯกระทรวง อุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง) จัดการเผยแพร่ ่ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนให้กับทุกภาคส่วน เช่น การเผยแพร่บทความ การจัดค่ายเยาวชน การจัดสัมมนา รวมทั้งจัดวิทยากรไปบรรยาย เป็นต้น
มาตการรองรับ
(1) กองทุนช่วยเหลือการปรับโครงสร้างด้านการเกษตรโดยเฉพาะเกษตรพื้นฐาน ภายใต้กระทรวงเกษตรฯ จนถึงปัจจุบันได้ให้ ความช่วยเหลือไปแล้วประมาณ 260 ล้านบาท (ในปี 2553 ไม่ได้ขอจัดสรรงบประมาณ ขณะนี้มีวงเงินเหลืออยู่ 272 ล้านบาท)
(2) กองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ภายใต้กระทรวงพาณิชย์โดยสนับสนุนเรื่องการวิจัยและพัฒนาจัดหาที่ปรึกษาและปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการธุรกิจจนถึงปัจจุบันได้ให้ ความช่วยเหลือไปแล้วประมาณ 164 ล้านบาท (ปี 2553 ได้รับงบประมาณ 100 ล้านบาท ขณะนี้มีวงเงินเหลือ 75 ล้านบาท)
(3) การจัดระบบบริหารการนําเข้า โดยการกำหนดให้สินค้เกษตรบางรายการที่มีความอ่อนไหวต้องขออนุญาตนำเข้าตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งจะแตกต่างกันไปตามความอ่อนไหวของสินค้า(ตาม พรบ. การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522)มาตรการรองรับดังกล่าวเช่น กำหนดให้เป็นสินค้าที่ขออนุญาตนำเข้า กำหนดคุณสมบัตรและวัตถุประสงค์ของผู้นำเข้า การขอใบรับรองกำหนดปริมาณสารพิษตกค้าง การใช้มาตรการสุขอนามัย (SPS) ที่เข้มงวด เป็นต้น ในส่วนของสินค้าข้าวที่มีความอ่อนไหวสูง ต้องมีใบรับรองมาตรฐานการนําเข้า การระบุชนิดข้าวและปริมาณที่นำเข้า ติดตามการใช้ข้าวนําเข้าและการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจสอบสินค้าข้าวนําเข้าเพื่อเป็นเงินกองทุนพัฒนาชาวนา
(4) จัดทำระบบติดตามการนำเข้า กระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าต่างประเทศ) อยู่ระหว่างจัดทำระบบฐานข้อมูลติดตามและตรวจสอบการนำเข้าสินค้าเกษตรภายใต้ ความตกลง WTO ทั้ง 22 รายการ ที่ได้ยกเลิกโควตาภาษีภายใต้ AFTA ได้แก่ 1.น้ำนมดิบและนมพร้อมดื่ม 2.นมผงขาดมันเนย 3.มันฝรั่งสดหรือแช่เย็น 4.หอมหัวใหญ่ 5.กระเทียม 6. มะพร้าวและมะพร้าวฝอย 7.ลำไยแห้ง 8.กาแฟ 9.ชาใบ ชาผง 10.พริกไทยในตระกูลไปเปอร์ไม่บดและไม่ป่นและบดหรือป่น 11. ข้าว 12. เนื้อมะพร้าวแห้ง 13. เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ 14.น้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมันถั่วเหลือง 15.น้ำมันปาล์ม และแฟรกชันของน้ำมันปาล์ม และน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม 16.น้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว 17.สิ่งสกัด หัวเชื้อและสิ่งเข้มข้นของกาแฟและของปรุงแต่งที่มีสิ่งสกัดหัวเชื้อหรือเข้มข้นเหล่านี้เป็นหลักหรือที่มีกาแฟเป็นหลัก 18.ไหมดิบ (ยังไม่เข้าเกลียว) 19.ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 20.ถั่วเหลืองจะทำให้แตกหรือไม่ก็ตาม 21.น้ำตาลที่ได้จากอ้อยหรือหัวบีตและซูโครสที่บริษัทในทางเคมีในลักษณะของแข็ง 22.กากน้ำมันและกากแข็งอื่นๆ ที่ได้จากการสกัดน้ำมันถั่วเหลืองจะบดหรือทำให้เป็นเพลเลตหรือไม่ก็ตาม เพื่อวิเคราะห์เฝ้าระวังการนำเข้า สำหรับใบยาสูบอยู่ภายใต้ กำกับดูแลของกระทรวงการคลัง
(5) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล สำรวจพื้นที่เป้าหมาย เพื่อติดตามศึกษาวิเคราะห ์สถานการณ์ ความเคลื่อนไหว ทั้งปริมาณและราคาอย่างใกล้ ชิดและรวดเร็วเพื่อประสานหารือแนวทางแก้ไขปัญหาและวางมาตรการรองรับ
(6) การใช้พรบ. มาตรการปกป้องการนําเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure) ในกรณีที่การเปิดเสรีก่อให้เกิดการนำเข้าสินค้ารายการหนึ่งรายการใด มากจนอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ผลิต/ผู้ประกอบการภายในประเทศ ภาครัฐสามารถใช้อำนาจตาม พรบ.มาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure) ซึ่งสภาได้ผ่านกฎหมายฉบับนี้ออกมาแล้ว ในการปกป้องผู้ผลิต/ผู้ประกอบการในประเทศได้